มร. ฮิโรคาสึ โทดะ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฮาคุโฮโด กล่าวแนะนำฟอรั่มพร้อมอธิบายปรัชญาพื้นฐาน ‘sei-katsu-sha’ ของทางกลุ่มที่ใช้ในการสนับสนุนการตลาดในประเทศต่างๆในประชาคมอาเซียน โดยหลักปรัชญานี้เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจและการเข้าถึงวิถีชีวิตของผู้คนในฐานะปัจเจกบุคคล ไม่ใช่เพียงแค่เป็น “ผู้บริโภค”
โดยสรุปแล้ว ผลการวิจัยล่าสุดพบว่า “ครอบครัวแนวใหม่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน”ครอบครัวเดี่ยวมีจำนวนมากขึ้นในประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่นเดียวกับในประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆทั่วโลก โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญแบบเมืองใหญ่ข้อสรุปของรายงานนี้คือ “แต่เราเชื่อว่าแทนที่จะเป็นครอบครัวที่กระจายและแบ่งแยกเช่นเดียวกับที่พบในญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆที่พัฒนาแล้ว ครอบครัวในอาเซียนกลับมีลักษณะที่เด่นชัดเป็นของตนเอง”
“ครอบครัวในอาเซียนยังต้องการความสุขแบบที่พบได้ในครอบครัวขยาย แม้ว่าสมาชิกของครอบครัวจะใช้ชีวิตในลักษณะครอบครัวเดี่ยว”
เทคโนโลยีอันทันสมัยเป็นสิ่งเชื่อมโยงสำคัญ ถึงขั้นที่การเชื่อมต่อกับสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ คือวิถีชีวิตหลักสำหรับหลายๆคน
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า “บ้านที่อาศัยอาจไม่มีเครื่องปรับอากาศ ไม่มีน้ำประปา หรือไม่มีกำแพง แต่ทุกคนในครอบครัวมีสมาร์ทโฟน ผู้คนให้ความสนใจกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากกว่าการปรับปรุงตัวบ้าน บรรดาญาติที่อยู่ในต่างจังหวัดก็ใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น ดังนั้นคนที่อยู่ต่างจังหวัดก็สามารถติดต่อกับสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ในเมืองได้” ผลการวิจัยที่เป็นที่น่าแปลกใจได้แก่การที่ “ไม่พบสภาพการณ์เช่นนี้ในส่วนอื่นๆของโลก”
นี่เป็นการบ่งชี้ถึงกำเนิดของ “ครอบครัวแนวใหม่แห่งอาเซียน” ได้แก่ ครอบครัวขยายที่จากภายนอกแล้วดูเหมือนจะแบ่งออกเป็นครอบครัวเดี่ยวหลายครอบครัว แต่สมาชิกต่างๆกลับ “มีความผูกพันกันใกล้ชิดมากกว่าที่เคย”
ศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคุโฮโด-อาเซียนได้สร้างนิยามใหม่สำหรับ “ครอบครัวขยายที่มองไม่เห็นซึ่งมองจากภายนอกแล้วดูแบ่งแยก” ว่าเป็นครอบครัวเชื่อมต่อ
ผลการวิจัยของประเทศต่างๆในประชาคมอาเซียนได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะของ ครอบครัวเชื่อมต่อ “ซึ่งไม่ได้เป็นครอบครัวขยายและไม่ใช่ครอบครัวเดี่ยว แต่ค้นหาความสุขในลักษณะของครอบครัวขยาย”
ศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคุโฮโด-อาเซียนตั้งข้อสังเกตว่าครอบครัวขยายที่มีปฏิสัมพันธ์กันทั้งในโลกออนไลน์และชีวิตจริงแม้ว่าสมาชิกจะอาศัยอยู่ต่างครอบครัวกันนี้ มักจะถูก “การสำรวจสำมะโนประชากรและการสำรวจทั่วๆไปมองข้าม เนื่องจากไม่ได้อาศัยอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน”
เมื่อมองจากแง่ของการตลาดแล้วพบว่า สิ่งที่ถูกมองข้ามได้แก่การที่ “สมาชิกในครอบครัวคนใดก็สามารถเป็น ‘ผู้มีอิทธิพล’ ได้ด้วยการแบ่งปันข้อมูลและมีส่วนร่วมต่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในครอบครัว” ในด้านใดก็ตามที่ตนมีความถนัด ไม่ว่าจะเป็นด้านไอที อาหาร การท่องเที่ยว หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ
ต่างจากเมื่อก่อนที่สมาชิกอาวุโสในครอบครัวจะเป็นผู้ควบคุมทุกอย่าง ปัจจุบันนี้ “สมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถเป็นผู้มีอิทธิพลและแบ่งปันข้อมูลได้” ขึ้นอยู่กับหัวข้อความสนใจโดยไม่จำเป็นว่าจะมีอายุ เพศ หรือสถานะใด
ความหมายของผลการวิจัยนี้ที่มีต่อนักการตลาดและบริษัทต่างๆ ได้แก่ การรับรู้ การเห็นค่า และการเข้าใจความสำคัญของ ‘ครอบครัวเชื่อมต่อ’ ในฐานะ “พื้นฐานการเชื่อมต่อเพื่อกระจายข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพกว่าวิธีดั้งเดิม”
ผลการวิจัยล่าสุดนี้ อ้างอิงจากฐานข้อมูลและการวิจัยก่อนหน้าในหัวข้อ “การสำรวจความเป็นอยู่ที่ทำอย่างต่อเนื่องในอาเซียน” (ดูหมายเหตุ 1) การสำรวจแบบเยี่ยมบ้านในอาเซียน (ดูหมายเหตุ 2) ซึ่งใช้การทำแผนที่ครอบครัว และข้อมูลประชากร รวมถึงข้อมูลจากการวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ sei-katsu-sha ในอาเซียน โดยใช้การวิจัยทั้งแบบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยนี้สำรวจการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม และรูปแบบการดำเนินชีวิตในเมืองต่างๆในประชาคมอาเซียนจำนวน 6 เมือง ได้แก่ กรุงเทพฯ จาการ์ต้า สิงคโปร์ โฮจิมินห์ซิตี้ กัวลาลัมเปอร์ และมะนิลา
ศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคุโฮโด-อาเซียน จะทำการสำรวจต่อไปเพื่อสังเกต sei-katsu-sha จากมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์ของทางศูนย์ฯ และจะนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากมุมมองสดใหม่เหล่านี้มาทำเป็นข้อเสนอต่างๆต่อไป