IEC ทุ่ม 390 ล้าน ซื้อโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล จ.สระแก้ว เดินหน้าพลังงานทางเลือก

ศุกร์ ๒๔ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๖:๓๒
บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจิเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือไออีซี เดินหน้าขยายการลงทุนด้านพลังงานทางเลือกเพื่อเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้กับบริษัท ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทอนุมัติเงินลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล ขนาด 8 เมกะวัตต์ ผ่านการเข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัท แก้วลำดวน เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (“KPS”) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 คิดเป็นมูลค่า 390 ล้านบาท ส่งผลทำให้ KPS กลายเป็นบริษัทย่อยของ IEC โดยมีผล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2557

ดร.ภูษณ ปรีย์มาโนช ประธานกรรมการบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 10 /2557 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2557 ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ เข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล จำนวน 1 โครงการ ขนาด 8 เมกะวัตต์ ผ่านการเข้าซื้อหุ้นสามัญ ของ บริษัท แก้วลำดวน เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (“KPS”) คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 75 ของหุ้นที่ออกและชำระแล้วจากผู้ถือหุ้นเดิม 2 ราย ได้แก่ จากนางสาวจารุวรรณ ภูษณะภิบาลคุปต์ (ผู้ขายที่ 1) จำนวน 2,000,000 หุ้น และนายสุทิน ใจธรรม จำนวน 1,000,000 หุ้น (ผู้ขายที่ 2) ในราคาหุ้นละ 130 บาท คิดเป็นมูลค่าหุ้นที่ซื้อขายทั้งสิ้น 390 ล้านบาท ทั้งนี้ การเข้าทำรายการดังกล่าวข้างต้นมีผลทำให้ KPS มีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ โดยมีผล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2557

ทั้งนี้ บริษัท KPS ประกอบธุรกิจหลักเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าผ่านโรงไฟฟ้าชีวมวลจากไม้สับ (Wood chip) เปลือกไม้ (Wood Bark) กากอ้อย (Bagasse) และใยปาล์ม (Palm wastes) ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ศาลาลำดวน อ.เมืองสระแก้ว มีกำลังการผลิต 9.6 เมกะวัตต์ โดยมีการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) จำนวน 8.0 เมกะวัตต์ กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระยะเวลาผลิตไฟฟ้า 24 ชั่วโมงต่อวัน จำนวนวันดำเนินการ 335 วันต่อปี Overhaul ทุก 5 ปี ระยะเวลาโครงการประมาณการ 25 ปี โดยเหลือ 23 ปี กับอีก 4 เดือน ทั้งนี้บริษัทฯ ได้รับอัตราส่วนเพิ่มซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ (Adder) ในอัตรา 0.30 บาท/หน่วย เป็นเวลา 7 ปี โดยโครงการนี้เริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) ตั้งแต่ 10 เมษายน 2556

“การลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจที่ประกอบกิจการโรงไฟฟ้าชีวมวล สอดคล้องกับแผนและกลยุทธ์ในการลงทุนและการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่ต้องการเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทางเลือก นอกจากนี้ ยังทำให้บริษัทฯ คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดี เนื่องจากปัจจุบันระบบผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวลและโครงการของ KPS ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐผ่านการอุดหนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) มีอัตราผลตอบแทน IRR อยู่ที่ ร้อยละ 12.18 และระยะเวลาในการคืนทุน 6.92 ปี จึงถือเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ และจะสร้างรายได้ให้กับบริษัทฯ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างแน่นอน” ดร. ภูษณ กล่าวทิ้งท้าย

บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

พิมพกานต์ ไชยสังข์

โทร. 0-2610-2353 โทรสาร 0-2610-2345-6

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๓๑ ไทยเครดิตรายงานผลประกอบการปี 2567 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,624.0 ล้านบาท
๐๙:๔๑ หมอหมีขอเม้าท์! เผยสูตรลับสุขภาพดีด้วยตัวเอง ตามแบบฉบับ เม้าท์กับหมอหมี
๐๙:๑๖ แอ็กซอลตา ประกาศเทรนด์สีรถยนต์ปี 2025 ได้แก่ สีเอเวอร์กรีน สปรินท์ (Evergreen Sprint)
๐๙:๓๔ เกาะติดเลือกตั้ง อบจ. 68 กับไทยพีบีเอส เสียงท้องถิ่นชี้อนาคตประเทศไทย
๐๙:๑๙ น่ารักจนใจเจ็บ! Harupiii อินฟลูญี่ปุ่นรักไทย เปลี่ยนวลีดัง ทำไมทำไม สู่เพลงใหม่ยอดวิวถล่มทลาย
๐๙:๓๔ การแข่งขัน MUICT ENVI Mahidol Hackathon 2025 ภายใต้หัวข้อ : Digital Innovation for Carbon Neutrality Society
๐๙:๒๔ จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่สินค้าส่งออก เครื่องเคลือบจากอำเภออี้หนาน มณฑลซานตง โด่งดังไกลถึงต่างแดน
๐๙:๓๘ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ปี 2567 จำนวน 2,852.1 ล้านบาท เติบโต 77.7%
๐๙:๕๔ RBF สานพลังปลูกป่าชายเลน ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกบางปู ร่วมแก้วิกฤตโลกร้อน ในโครงการ RBF GREEN VOLUNTEER ปีที่
๐๙:๐๖ ต้อนรับความมั่งคั่งและโชคลาภ พร้อมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนที่โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ