29 ต.ค. “วันอัมพาตโลก” สคร. 12 สงขลา เผย ผู้หญิงเสี่ยงป่วย-เสียชีวิตมากกว่าผู้ชาย

จันทร์ ๒๗ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๐๕
องค์การอัมพาตโลกได้กำหนดให้วันที่ 29 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันรณรงค์อัมพาตโลก ซึ่งประเด็นการรณรงค์ในปี 2557 นี้ คือ “I am woman : Stroke affects me. “โรคหลอดเลือดสมอง : เพราะฉันเป็นผู้หญิง... (เสี่ยง) หลังพบผู้หญิงเสี่ยงป่วยและมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต สูงกว่าผู้ชาย แนะหมั่นดูแล ตรวจสุขภาพร่างกาย งดพฤติกรรมเสี่ยง รีบพบแพทย์หากมีอาการ น่าสงสัย

ดร.นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ในคนอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 5 ของคนอายุระหว่าง 15-69 ปี โดยในแต่ละปีมีประมาณ 6 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอ สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยพบข้อมูลการเสียชีวิตใน ปี พ.ศ. 2552 ด้วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นอันดับ 1 ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งเพศหญิงมีอัตรา การเสียชีวิตมากกว่าเพศชาย

ข้อมูลจากองค์การอัมพาตโลก เปิดเผยว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะป่วยและเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ชาย ในจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดสมอง 10 คน พบเป็นผู้หญิงจำนวน 6 คน และผู้หญิงส่วนใหญ่มักทราบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองเมื่อมีอาการขั้นรุนแรง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้หญิงป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น ได้แก่ การตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ การใช้ยาคุมกำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของผู้หญิงที่มีความดันโลหิตสูง การใช้ฮอร์โมนทดแทนหลังหมดประจำเดือน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้อาการชาที่ใบหน้า ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง เคลื่อนไหวไม่ได้หรือเคลื่อนไหวลำบากอย่างทันทีทันใด เป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดโรคดังกล่าวมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหาร เค็มจัด หวานจัด มันจัด ไม่รับประทานผัก ผลไม้ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ไม่ออกกำลังกาย และเครียด พฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้เมื่อปฏิบัติติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมา

สำหรับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ทำได้โดยลดการรับประทานอาหารเค็ม หวาน มัน เพิ่มผักผลไม้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผ่อนคลาย ไม่เครียด งดสูบบุหรี่ ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง ต้องรับประทานยาลดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอตามคำสั่งแพทย์ และควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง เมื่อพบอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ขาหรือหน้าซีกใดซีกหนึ่งชา อ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก เคลื่อนไหวไม่ได้อย่างทันทีทันใด ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีภายใน 3 ชั่วโมง หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพาตสามารถโทรสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

ข่าวโดย พรรณภัทร ประทุมศรี

นักวิชาการเผยแพร่

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

โทรศัพท์ 0-7433-6079-81 ต่อ 29

อีเมล [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ