“SPCG” จับมือ 2 พันธมิตร “เอ็นเนเกท-จุฬา” วิจัยนวัตกรรมเพื่อการประหยัดพลังงานในบ้าน

จันทร์ ๒๗ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๖:๔๙
SPCG โดย SPR Solar Roof จับมือกับ เอ็นเนเกท (ประเทศไทย) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยนวัตกรรมในการบริหารการใช้พลังงานแบบชาญฉลาด (Energy Efficiency) ใน “โครงการต้นแบบประหยัดพลังงานแบบอัตโนมัติภายในบ้านอัจฉริยะ”

นางสาว วันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG โดย เอสพีอาร์โซลาร์ รูฟ เปิดเผยว่า ในฐานะที่ผู้นำการบุกเบิกธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาบ้าน อาคารและโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน SPCGสามารถสร้างพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์และถูกบรรจุลงในแผนพัฒนาพลังงานของประเทศได้สำเร็จ ที่สำคัญกำลังผลักดันโครงการการบริหารการใช้พลังงานแบบชาญฉลาด (Energy Efficiency) ให้เข้าสู่แผนพัฒนาสังคมเช่นกัน

โดย SPCG ได้จัดทำ “โครงการต้นแบบประหยัดพลังงานแบบอัตโนมัติภายในบ้านอัจฉริยะ” หรือ “Home Energy Management System” (HEMS) และได้มอบหมายให้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาขยายผลจากเทคโนโลยีของ บริษัท เอ็นเนเกท (ประเทศญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ คันไซ อิเล็ทริค ประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนาอุปกรณ์ควบคุมการบริหารจัดการพลังงานแบบอัจฉริยะนี้ มีความสามารถในการที่จะช่วยให้เจ้าของอาคารบ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้ติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เอสพีอาร์ โซลาร์ รูฟ จะสามารถบริหารจัดการและควบคุมการใช้ไฟฟ้าภายในอาคารบ้านเรือนหรือโรงงานของตนเองประหยัดพลังงานได้มากที่สุด และชาญฉลาดที่สุด ซึ่งเป็นการบริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัดและได้ประสิทธิผลสูงสุด

ระบบซอฟท์แวร์ดังกล่าวจะติดตั้งในแผง เอสพีอาร์ โซลาร์ รูฟ จากนั้นระบบซอฟท์แวร์จะทำวัดค่าไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละวันว่า ผลิตได้เป็นจำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ผ่าน เอสพีอาร์ โซลาร์ รูฟ จะสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียนครั้งแรกของประเทศไทย โดยจะมีการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ภายในเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป ซึ่งจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในงาน โฮมโปร เอ็กซ์โปร ของ โฮมโปรดักซ์ เซ็นเตอร์ ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 14-23 พฤศจิกายน ที่เมืองทองธานี หลังจากนั้นจะทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อให้นำไปจำหน่ายได้ภายในโฮมโปร ทุกสาขา

ด้าน รศ.ดร.วาทิต เบญจพลกุล อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้วิจัย เปิดเผยว่า ทางคณะวิศวะ จุฬาฯ จะเพิ่มความสามารถของโปรดักซ์ (SPR Solar Roof) และทำการพัฒนาต่อยอดระบบบริหารจัดการพลังงาน จากเดิมที่เป็นระบบแสดงอัตราการใช้พลังงานภายในบ้าน เราจะเพิ่มความเป็นอัจฉริยะเข้าไป ด้วยการพัฒนาซอฟท์แวร์ที่จะช่วยวิเคราะห์แนวโน้มการใช้พลังงานภายในบ้าน จะมีคำแนะนำการใช้ผ่านจอแสดงผล บนสมาร์ทโฟน เพื่อให้ผู้ใช้ได้รู้ว่าตัวเองควรจะทำอย่างไร ในส่วนเสต็ปต่อไปผู้ใช้จะสามารถกำหนดการใช้พลังงาน โดยให้ระบบตัดการใช้ไฟฟ้าเมื่อผู้ใช้ได้ใช้ไฟฟ้าเกินกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งทั้งหมดเป็นภาพรวมของระบบ ซึ่งทางคณะวิศวะ จุฬา จะทำการพัฒนาในลำดับต่อไป

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ตาม “โครงการต้นแบบประหยัดพลังงานแบบอัตโนมัติภายในบ้านอัจฉริยะ” นี้ ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ.ดร.วาทิต เบญจพลกุล จะเป็นผู้รับผิดชอบในการนำเสนอรายละเอียดของโครงการฯเพื่อขอรับทุนการทำวิจัย จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในการทำวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด (Energy Efficiency) ตาม “โครงการต้นแบบประหยัดพลังงานแบบอัตโนมัติภายในบ้านอัจฉริยะ” นี้ จำนวน 1.4 ล้านบาท โดย บริษัท เอสพีซีจี (จำกัด) มหาชน จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายสมทบทุนเพื่อการทำวิจัยอีก 50 % คือ จำนวน 1.4 ล้านบาท โดยกำหนดให้มีระยะเวลาในการทำวิจัยเป็นเวลา 2 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ วันที่ 21 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2559

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ