“เอ็นพีเอส” คว้ารางวัลทั้งระดับอาเซียน และ ระดับประเทศ ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนจากเชื้อเพลิงปลูกได้

อังคาร ๒๘ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๒๓
เอ็นพีเอส ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานปลูกได้ กวาดรางวัลจากเวทีระดับอาเซียน ASEAN Energy Awards 2014 จำนวน 2 รางวัล พร้อมเดินหน้ารับอีก 3 รางวัล จากเวที Thailand Energy Awards 2014 ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนจากเชื้อเพลิงปลูกได้

นายอภิชัย ซอปิติพร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นพีเอส ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานปลูกได้ กล่าวว่า “ในปีนี้ ถือเป็นอีกปีแห่งความสำเร็จของ เอ็นพีเอส เพราะสามารถคว้ารางวัลทั้งในเวทีระดับอาเซียน และระดับประเทศ มาครองถึง 5 รางวัล สำหรับรางวัล ASEAN Energy Awards 2014 คว้ามา 2 รางวัล ได้แก่ โครงการพลังงานความร้อนร่วมจากพลังงานหมุนเวียนของโรงไฟฟ้าชีวมวล และโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียจากโรงงานผลิตเอทานอลของโรงงานเอทานอล ใช้ทดแทนน้ำมันเตา ในส่วนรางวัลระดับประเทศ Thailand Energy Awards 2014 คว้ามา 3 รางวัล ได้แก่ โครงการพลังงานความร้อนร่วมจากพลังงานหมุนเวียนของโรงไฟฟ้าชีวมวล ,โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียจากโรงงานผลิตเอทานอลของโรงงานเอทานอล และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากน้ำมันยางไม้ที่เป็นของเหลือใช้ในการผลิตเยื่อกระดาษ จากรางวัลที่ได้รับเป็นการตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนแถวหน้าของเมืองไทย ที่ใช้เชื้อเพลิงปลูกได้ จากเกษตรกรที่ปลูกพืชพลังงาน เป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร นับเป็นความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนี้เอ็นพีเอสยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานปลูกได้ให้มีความก้าวหน้าต่อไป และเติบโตเทียบเท่าในระดับสากล”

สำหรับรางวัลที่ได้รับจาก ASEAN Energy Awards 2014 โครงการแรก คือ โครงการพลังงานความร้อนร่วมจากพลังงานหมุนเวียนของโรงไฟฟ้าชีวมวล ตั้งอยู่ที่อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา มีกำลังการผลิต 37 เมกะวัตต์ โดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวล อาทิ แกลบ เปลือกไม้ ไม้ชิพ ทะลายปาล์ม กะลาปาล์ม ชานอ้อย เหง้ามัน ขี้กบ ขี้เลื่อย เป็นการนำของเหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรมมาเพิ่มมูลค่า รวมทั้งมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชพลังงาน ได้แก่ หญ้าเนเปียร์ และต้นพลังงาน เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงที่ในโรงไฟฟ้า เป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้น ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และมีการนำเทคโนโลยีการเผาไหม้แบบ Bubbling Fluidized bed มาใช้ ซึ่งมีข้อดี คือ สามารถรองรับการเผาไหม้เชื้อเพลิงได้หลากหลาย เป็นการช่วยลดปริมาณของเหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรม ที่อาจก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการเผาไหม้สูง ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ได้มีการประยุกต์การออกแบบการอบเชื้อเพลิงผ่าน Drum Dryer เพื่อเป็นการนำพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้อีก 99,945 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี และสามารถทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบได้ 92,396 กิโลตันน้ำมันเทียบเท่าต่อปี

โครงการที่สอง คือ โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียจากโรงงานผลิตเอทานอล ใช้ทดแทนน้ำมันเตา ได้รับรางวัลดีเด่นด้านพลังงานทดแทนประเภทโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) ซึ่งเป็นการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียในกระบวนการผลิตเอทานอลได้ประมาณ 8,454,600 ลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้นำไปใช้ประโยชน์ด้านพลังงานความร้อน ใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเตาที่หน่วยผลิตปูนขาวของบริษัทในกลุ่มโรงงานกระดาษดั๊บเบิ้ลเอ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 171,085 ตันคารบอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี นอกจากนี้โครงการยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ Clean Development Mechanism (CDM) จากคณะกรรมการชำนาญการของ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) เพื่อให้การสนับสนุนการลงทุนและได้สิทธิ์ประโยชน์จากการดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

ในส่วนของรางวัลในระดับประเทศ “Thailand Energy Awards 2014” ทางเอ็นพีเอส ได้รับรางวัลอีกจำนวน 3 รางวัล ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนน้ำมันยางไม้ โดยมีแนวคิด “ทำของเหลือใช้ ไม่ให้เสียของ”ในการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ?ด้วยการใช้น้ำมันยางไม้ซึ่งเป็นของเหลือที่ได้จากกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษ มาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า มีกำลังการผลิต 32 MW ตั้งอยู่ที่ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี และอีกสองโครงการ คือโครงการที่ได้รับรางวัลจากการประกวดจาก ASEAN Energy Awards 2014 ดังกล่าวข้างต้นนั่นเอง

สำหรับการเข้าร่วมประกวด ASEAN Energy Awards 2014 นั้น ประเทศไทยได้ทำการคัดเลือกผู้ชนะจากโครงการ Thailand Energy Awards 2014 ให้เป็นตัวแทนประเทศเข้าแข่งขัน โดยพิจารณาจากผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดและผลงานโดดเด่นตรงตามเกณฑ์การตัดสินของการประกวดในระดับอาเซียน ซึ่งปีนี้มีทั้งหมด 17 โครงการ และประเทศไทยสามารถคว้ารางวัลมาได้ถึง 13 โครงการ โดยแบ่งเป็นผู้รับรางวัลด้านพลังงานทดแทน 4 รางวัล ซึ่ง 2 ใน 4 รางวัลนี้ เป็นโครงการของบริษัทในกลุ่มพลังงานของเอ็นพีเอส และได้เข้ารับรางวัล ณ นครเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเมื่อวันก่อน

นายอภิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า “เอ็นพีเอส มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานปลูกได้ โดยอาศัยศักยภาพทางด้านการเกษตรของประเทศ มาใช้ในเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างแหล่งเชื้อเพลิงให้มีคุณภาพและยั่งยืน เริ่มตั้งแต่การบริหารจัดการเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ เรามีการวิจัยและส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร ได้แก่ การปลูกหญ้าเนเปียร์และมันสำปะหลัง? โดยได้ดำเนินการปลูกในพื้นที่ของบริษัทฯ และพื้นที่เช่าปลูกรอบโรงไฟฟ้า รวมทั้งบริษัทฯได้ทำการส่งเสริมเกษตรกรรอบโรงไฟฟ้าปลูกหญ้าเนเปียร์ให้เป็นรายได้เสริม เป็นการเพิ่มมูลค่าพื้นที่การเกษตร โดยมุ่งเน้นการนำพื้นที่การเกษตรซึ่งเดิมปลูกพืชที่ให้ผลผลิตและรายได้น้อย มาปลูกพืชพลังงาน ที่ให้ผลผลิตและรายได้ที่ดีกว่าเดิม นอกจากนี้ยังได้คิดค้นต้นพลังงาน ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่บริษัทฯได้วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะกับการนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า ช่วยให้เอ็นพีเอสมีแหล่งเชื้อเพลิงที่ยั่งยืนและมีคุณภาพ สามารถบริหารต้นทุนด้านเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ อาทิ ก๊าซ LNG ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งนั้นหมายถึงว่าคนไทยก็จะใช้ไฟฟ้าในราคาที่ลดลงตามต้นทุนที่ต่ำลงนั้นเอง”

ปัจจุบันเอ็นพีเอสมีโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการผลิตไฟฟ้าแล้วทั้งหมด 9 โรง กำลังการผลิตรวม 503 เมกะวัตต์ โดยมีกลุ่มลูกค้าหลัก ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้สัญญาการรับซื้อไฟฟ้าระยะยาว 25 ปี ลูกค้าอุตสาหกรรมจากสวนอุตสาหกรรม 304 อินดัสเตรียล ปาร์ค จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ปราจีนบุรี รวมถึงบริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน)

?

สื่อมวลชน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ โทรศัพท์ 02-653-2717 โทรสาร 02-653-2720

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ