สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลเกษตรกรของประเทศ มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกร และแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรอันเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทั้งที่เป็นหนี้ในระบบ หนี้โครงการส่งเสริมของรัฐ หนี้สถาบันการเงิน และหนี้สถาบันเกษตรกร
โครงการความร่วมมือในการเผยแพร่ความรู้และช่วยเหลือด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและสำนักงานอัยการสูงสุดถึงปัญหาหนี้สินของเกษตรกรเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลได้ให้นโยบายเร่งช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านกฎหมาย ซึ่งด้วยฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมายและอาจเป็นช่องว่างให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าหนี้ และการเสียประโยชน์ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ดินทำกิน ซึ่งจากข้อมูลที่เกษตรกรยื่นคำขอขึ้นทะเบียนหนี้มีจำนวน 501,880 ราย มูลหนี้ 79,420,010,086 บาท ได้ตรวจสอบข้อมูลทะเบียนหนี้พบว่าเกษตรกรเป็นหนี้เร่งด่วนตั้งแต่หนี้ผิดนัดชำระ บังคับคดี ขายทอดตลาด รวมทั้งฟ้องล้มละลาย จำนวนถึง 177,753 ราย มูลหนี้ 44,211,090,679.88 บาท ปัจจุบันสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ชำระหนี้แทนเกษตรกรไปจำนวน 27,461 ราย มูลหนี้ 5,764,616,283.49 บาท เจ้าหนี้หรือบุคคลภายนอกซื้อทรัพย์ไว้ (NPA) จำนวน 472 ราย มูลหนี้รวม 265,151,086.10 บาท สามารถรักษาที่ดินทำกินไว้ให้เกษตรกรสมาชิก 130,561 ไร่ 30.1 ตารางวา
นายปีติพงษ์ กล่าวอีกว่า เพื่อให้การส่งเสริมการพัฒนาเกษตรกรและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัญหาหนี้สินเกษตรบรรลุอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในส่วนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรทางกองทุนฟื้นฟูฯ จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) เพื่อร่วมกันช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกองทุนฯ ทั้งในเรื่องของการให้ความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมาย ระเบียบและการดำเนินงานของกองทุนฯ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือในด้านคดี การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การบริหารจัดการหนี้และอรรถคดีต่าง ๆ ซึ่งนอกจากการให้ความช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกรแล้ว ความร่วมมือดังกล่าวยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูฯ รวมถึงส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางด้านกฎหมายให้กับบุคลากรของกองทุนฟื้นฟูฯ อีกด้วย เพื่อจะสามารถลงไปปฏิบัติงานกับเกษตรกรสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
คำบรรยายภาพข่าว
MOU - นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) สำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ณ ห้องประชุม 120 ปี สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา