สถาบันอนาคตไทยศึกษาชี้นโยบาย Digital Economy ต้องตอบโจทย์การสร้างมูลค่าเพิ่ม..ไม่ใช่เน้นที่การเพิ่มหน่วยงานภาครัฐ แต่ต้องให้เอกชน-วิชาการจับมือกันสร้างธุรกิจ

พุธ ๐๕ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๐๙:๕๔
สถาบันอนาคตไทยศึกษาเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับนโยบาย Digital Economy เป็นนโยบายที่ช่วยในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอาจจะช่วยให้เราหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้ แต่เพื่อให้แนวคิดนี้สามารถนำไปใช้ให้เกิดผลจริงอย่างเป็นรูปธรรม Digital Economy จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นหลัก ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวเสริมว่า “ที่ต้องเน้นไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะไม่ใช่ทุกอย่างที่เป็นดิจิตอลจะมีมูลค่าเพิ่มสูง ในขณะที่สินค้าบางอย่างที่ไม่ได้เป็นดิจิตอล กลับสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงได้” เช่นในกรณีของ ฮาร์ดดิสก์ สินค้าดิจิตอลที่เราส่งออกมากเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่มูลค่าเพิ่มที่ได้จากการส่งสินค้าอิเล็กโทรนิกส์เพิ่มขึ้นน้อยมากเพียง 5% ต่อปี เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย (โต 6%) อินโดนีเซีย (13%) ฟิลิปปินส์ (17%) และเวียดนาม (23%) แต่สำหรับยางพาราที่เราส่งออกมากเช่นกันแต่เป็นสินค้าขั้นต้นอย่างยางแผ่นหรือน้ำยางเป็นหลัก หากนำไปแปรรูปเป็นยางรถยนต์จะได้มูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า

นโยบาย Digital Economy ไม่ควรไปเน้นที่การเพิ่มหน่วยงานใหม่ของภาครัฐ จากข่าวที่ออกมา มีการพูดถึงแผนที่จะเพิ่มหน่วยงานใหม่อีก 3 กรมเพื่อมาทำงานด้าน Digital Economy โดยเฉพาะ รวมถึงจะมีการเปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีที แต่ความสำเร็จของ Digital Economy ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเพิ่มกรมกองขึ้นมาทำภารกิจแต่เพียงอย่างเดียว ที่ผ่านมาเรามีการตั้ง สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติมาเมื่อ 17 ปีก่อน เพื่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ จนถึงปัจจุบันก็มีหน่วยงานอย่างน้อย 10 หน่วยงานที่มีภารกิจในด้านนี้โดยตรง ดังนั้นการเพิ่มจำนวนกรมอาจจะไม่ช่วยตอบโจทย์ แต่ควรปรับปรุงกระบวนการภาครัฐเพื่อให้เกิดผลจริง โดยเฉพาะตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ต้องเน้นวัดผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ ปัจจุบันมีตัวชี้วัดของกระทรวงไอซีที เพียงตัวเดียวจาก 14 ตัวที่วัดผลลัพธ์ คือมูลค่าสินค้า ICT ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่มีหลายตัวชี้วัดที่วัดจากจำนวนสถานประกอบการหรือผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนา ซึ่งประเมินได้ยากว่ามีประสิทธิผลหรือไม่

... หรือการผลิตบุคลากรด้าน IT เพิ่ม เพราะเรามีปริมาณมากพอแล้ว เพราะในแต่ละปีเรามีบัณฑิตปริญญาตรีที่จบสาขาคอมพิวเตอร์กว่า 10,000 คน เป็นสาขายอดนิยมของคณะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ควรเพิ่มคุณภาพ เพราะ 1 ใน 6 ของคนที่จบสาขานี้ตกงาน และเกือบ 40% ของบัณฑิตสาขาคอมฯ ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการหรือเสมียน ในขณะเดียวกันบริษัทจัดหางานก็ยังจัดให้บุคลากรด้าน IT เป็นสาขาที่มีความต้องการมากที่สุดเป็นอันดับ 2

แต่ต้องทำให้เอกชน และวิชาการเกิดความร่วมมือและนำไปสู่การสร้างธุรกิจ Digital เพราะประสบการณ์ความสำเร็จจากการพัฒนา Digital Economy ในต่างประเทศ ส่วนใหญ่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาควิชาการ เช่นในกรณีของอิสราเอล หรือไต้หวัน เป็นต้น

“Digital Economy จะเกิดขึ้นได้ต้องมีเป้าหมายในการพัฒนา และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อให้เห็นผลจริง มิเช่นนั้นก็คงจะไม่ต่างอะไรกับนโยบายอื่นๆ ที่ผ่านมาซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีในการสร้างมูลค่าเพิ่มเช่นกัน อย่าง Knowledge-based Economy หรือ Creative Economy แต่สุดท้ายกลับไม่เห็นผลที่เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร” ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero