RWI ซุ่มผนึกพันธมิตรระดับบิ๊กบึ้ม! รับงานคอนกรีต-เสาเข็ม หมอนรถไฟล็อตใหญ่

พฤหัส ๐๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๖:๑๒
บมจ. ระยองไวร์ อินดัสตรีส์ (RWI) จับมือพันธมิตรผู้ผลิตคอนกรีตรายใหญ่ เตรียมความพร้อมผลิตหมอนรถไฟคอนกรีตป้อนงานโครงการรถไฟรางคู่ มูลค่าหลายแสนล้านบาท เชื่อด้วยศักยภาพที่เต็มเปี่ยม ด้านคุณภาพงาน ต้นทุนการผลิต และความพร้อมด้านเงินลงทุน "รศ.ดร.เชนินทร์ เชน" คาดเริ่มดำเนินการผลิตได้ปี 2558 ตั้งเป้าครองส่วนแบ่งตลาดไม่น้อยกว่า 25% ขณะเดียวกันยังเดินหน้าผลักดันธุรกิจด้วยการขยายสินค้าลวดเหล็ก สู่อุตสาหกรรมยานยนต์และเปิดประตูสู่ตลาดโลก เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจมากยิ่งขึ้น

รศ.ดร.เชนินทร์ เชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองไวร์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) (RWI) เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมลงทุนกับพันธมิตร ซึ่งเป็นผู้ผลิตคอนกรีตขนาดใหญ่ระดับประเทศรายหนึ่ง ในการขยายธุรกิจผลิตหมอนรถไฟคอนกรีต ป้อนงานโครงการรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง ที่ทางรัฐบาลจะมีการลงทุนมูลค่าหลายแสนล้านบาท โดยในเบื้องต้นจะมีเส้นทางรถไฟรางคู่ 6 เส้นทาง รถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง ระยะทางกว่า 2,279 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าหมอนรถไฟคอนกรีตมีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 10,000ล้านบาท โดยคาดว่าน่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ปี 2558 และตั้งเป้าปีแรกจะครองส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ไม่น้อยกว่า 25%

สำหรับการร่วมมือกันในครั้งนี้จะใช้จุดแข็งของทั้ง 2 ฝ่าย โดยบริษัทผู้ร่วมทุนถือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และความชำนาญด้านคอนกรีต เสาเข็ม เสาไฟฟ้ามากว่า 30 ปี ขณะที่ RWI เป็นผู้ผลิตลวดเหล็กรายใหญ่รายหนึ่งของประเทศ ที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั่วประเทศกว่า 20 ปี ซึ่งลวดเหล็ก ที่บริษัทผลิตนั้น เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหมอนรถไฟคอนกรีต ดังนั้นด้วยศักยภาพที่เต็มเปี่ยม ทั้งคุณภาพงาน ต้นทุนการผลิต และความพร้อมทางด้านเงินลงทุน

"ปัจจุบันมีโรงงานที่ผลิตหมอนคอนกรีตอยู่เพียง 2-3 ราย จึงไม่เพียงพอต่อการผลิตหมอนรถไฟสำหรับป้อนงานโครงการขนาดใหญ่ที่จะออกมา ประกอบกับการตั้งโรงงานผลิตหมอนรถไฟคอนกรีต ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและยังต้องมีประสบการณ์ความชำนาญในการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตอีกด้วย ดังนั้นทางบริษัทเห็นว่าการร่วมมือกันของทั้ง 2 ฝ่าย จะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง โดยผู้ร่วมทุนสามารถขยายผลิตภัณฑ์เข้าสู่ธุรกิจการผลิตหมอนรถไฟ ส่วน RWI สามารถป้อนลวดเหล็กเข้าไปในอุตสาหกรรมดังที่กล่าวมาก ถือเป็นการเพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย และเพิ่มช่องทางรายได้ให้มากขึ้น"รศ.ดร.เชนินทร์ เชน กล่าวในที่สุด

ปัจจุบัน RWI ได้ผลิตลวดตะแกรงเหล็กจำหน่ายให้กับอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งกำลังจะมีการพัฒนาเป็นรั้วตะแกรงเหล็กกั้นตามแนวรถไฟที่กำลังจะมีขึ้นในงานโครงการรถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ที่ทางรัฐบาลจะมีการลงทุน รวมถึง 3 เส้นทางมอเตอร์เวย์

นอกจากนี้ยังได้เจรจาจับมือกับบริษัทรายหนึ่งเพื่อร่วมลงทุนระบบก่อสร้างแบบ Post tension รองรับการเติบโตของอาคารที่พัก สำนักงาน และอาคารสูง ที่มีแนวโน้มขยายตัวตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า คาดว่าเจรจาแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ และจะเริ่มดำเนินการโครงการนี้ในกลางปีหน้า

อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยและพัฒนาของบริษัทได้เตรียมพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยพัฒนาเทคโนลียี สายการผลิตลวดเชื่อม(Co2) และลวดสปริง ให้เทียบเท่ามาตราฐานสากล รองรับตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมีแนวโน้มความต้องการของตลาดยานยนต์เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดย RWI ตั้งเป้าครองส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ไม่น้อยกว่า 25% ในปี 2558 นอกจากนี้ยังให้ฝ่ายการตลาดศึกษาตลาดใหม่ๆ สำหรับขยายสินค้าลวดเหล็ก สู่อุตสาหกรรมยานยนต์ รวมทั้งการเปิดประตูสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับกำลังการผลิตของบริษัทที่จะเพิ่มมากขึ้น จากการเพิ่มเครื่องจักรใหม่ที่กำลังจะเข้ามาอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ