หุ่นยนต์ช่วยผู้ป่วยอัมพาตครึ่งล่าง ม.ศรีปทุม คว้าแชมป์ประกวดหุ่นยนต์เพื่อสังคม

จันทร์ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๐:๒๐
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) และสถาบันไทย-เยอรมัน จัดการประกวดหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติเพื่อกระบวนการผลิต ครั้งที่ 3 หรือ RACMP 2014 รอบชิงชนะเลิศ ณ ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน

นางรัตนา เล็งศิริวัฒน์ รองผู้อำนวยการ TCELS กล่าวว่า การประกวดครั้งนี้TCELS สนับสนุนเงินรางวัลรวม 100,000 บาท แบ่งเป็นผู้ชนะเลิศ 50,000บาท รองชนะเลิศ 30,000 บาท และรางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล ๆ ละ 10,000บาท สำหรับโจทย์ของการประกวดครั้งนี้ คือการพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อสังคม โดยผู้ชนะเลิศ ได้แก่ ทีมหุ่นยนต์ช่วยเดินสำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งล่าง จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน รองชนะเลิศ ได้แก่ ทีมอุปกรณ์ป้องกันโรคหลอดเลือดส่วนลึกอุดตัน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และรางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ทีมอุปกรณ์แฮปติกเพื่อช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยกล้ามเนื้อแขนอ่อนแรง จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และทีมแบบจำลองระบบจัดการยาอัตโนมัติ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน

หุ่นยนต์ช่วยเดินสำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งล่าง ซึ่งชนะการประกวดในครั้งนี้ สามารถปรับความยาวของโครงสร้างเพื่อให้รองรับกับความยาวของขาผู้ป่วยได้ สามารถรองรับน้ำหนักของผู้ป่วยได้ 140 กิโลกรัม มีโหมดการทำงาน 2 ลักษณะ คือ ทำงานด้วยคำสั่งจากผู้ป่วย และทำงานด้วยรีโมทของผู้ช่วยดูแล นอกจากนี้ยังสามารถปรับตั้งความเร็วในการเดินได้อีกด้วย หุ่นยนต์นี้ถือเป็นกายอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการยืนและเดินของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งล่างได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถช่วยตัวเองในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ดูแล อีกทั้งยังสามารถผลิตเป็นสินค้าใช้เองภายในประเทศ ลดการนำจากต่างประเทศ ซึ่งหากผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากลแล้ว จะสามารถผลิตเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศได้

ส่วนทีมอุปกรณ์ป้องกันโรคหลอดเลือดส่วนลึกอุดตัน รางวัลรองชนะเลิศก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน กล่าวคือ เป็นเครื่องมือทางกายภาพบำบัดโดยเฉพาะผู้ได้รับการผ่าตัดบริเวณขาที่ไม่สามารถทำกายภาพขาได้เอง ซึ่งมีประโยชน์ในการป้องการอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ของโรคหลอดเลือดส่วนลึกอุดตัน นอกจากนี้ยังสามารถช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดการเป็นแผลกดทับบริเวณขาของผู้ป่วยที่ต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ดูแลหรือแพทย์ยังสามารถติดตามผลการบำบัดย้อนหลังได้จาก web browser ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่แสดงถึงอัตราการเต้นของชีพจรบริเวณเท้า ทราบอัตราการไหลเวียนโลหิตเพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยโรค สามารถแสดงระยะเวลาและสถานะการทำงานของอุปกรณ์ ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวสามารถผลิตเองได้ภายในประเทศ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-6445499 ต่อ 100

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ