สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดงานนี้ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และมีความสามารถเป็นหลักประกันให้กับสมาชิกได้ ตลอดจนเพื่อการกระตุ้นให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอื่นๆ ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาปรับปรุงงานบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของตนให้ดียิ่งๆขึ้นไป
ดร.พิสิฐกล่าวเพิ่มเติมว่าในปีนี้ประเภทของการประกวดพิจารณาแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ กองทุนฯที่มีขนาดมากกว่า 5,000 ล้านบาท กองทุนฯที่มีขนาดระหว่าง 1,000-5,000 ล้านบาท กองทุนฯที่มีขนาดน้อยกว่า 1,000 ล้านบาท และบริษัทจัดการที่จัดการกองทุนร่วม (Pooled fund) ดีเด่น
หลักเกณฑ์ในการตัดสินนั้น สมาคมฯ พิจารณาจากโครงสร้างการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของนายจ้างและคณะกรรมการกองทุน ความสามารถในการเป็นที่พึ่งในวัยหลังเกษียณ บทบาทของกองทุนต่อพัฒนาการและศักยภาพของสมาชิกกองทุน รวมทั้งบทบาทของกองทุนต่อสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและสังคม
อนึ่ง สมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้จัดตั้งมาจากกลุ่มกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลุ่มหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจขึ้นมาโดยมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นเป็นศูนย์รวมขององทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหลาย ทั้งที่เป็นรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน ในการส่งเสริมและพัฒนากองทุนฯให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ส่งเสริมการศึกษาวิชาการ ปกป้องผลประโยชน์สมาชิก และประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิก ตลอดจนหน่วยราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีกองทุนฯที่เป็นสมาชิกจำนวนกว่า 204 หน่วยงาน ทั้งที่เป็น Single fund และ Pooled fund
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ทางโทร.02-294-7430-32