คิงส์ เซอร์วิส เซ็นเตอร์ ผนึกกำลัง ไบเออร์ไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดสัมมนาในหัวข้อ “ตัวเรือด” ผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรม ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

พุธ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๓:๒๙
บริษัท คิงส์ เซอร์วิส เซ็นเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและให้บริการด้านจัดการปลวก แมลง และสัตว์รบกวน ร่วมผนึกกำลัง “ไบเออร์ไทย” และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดงานสัมมนา ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับ “ตัวเรือด” ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งในปัจจุบันตัวเรือดได้สร้างปัญหาให้กับสังคมยุคใหม่ที่มนุษย์มีการเดินทางขนส่งข้ามประเทศได้อย่างอิสระเสรี(Globalization) โดยจะอาศัยเกาะกับนักเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และสิ่งนี้เองที่สร้างปัญหาและความเสียหายอย่างมากต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมแบบไม่รู้จบ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในรายได้หลัก ดังนั้นการรู้จักตัวเรือดและวิธีการจัดการตัวเรือดที่ถูกต้อง ปลอดภัย และ ได้ผลอย่างยั่งยืน จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ประกอบการโรงแรมในปัจจุบันนี้เพื่อรองรับ AEC

คุณสุชาติ ลีละยุทธโยธิน ประธานบริหาร บริษัท คิงส์ เซอร์วิส เซ็นเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า “คิงส์ เซอร์วิส เซ็นเตอร์” เป็นผู้นำตลาดในการให้บริการกำจัดการปลวก และแมลงรบกวนต่าง ๆ ด้วยคุณภาพ และความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้รับบริการมากว่า 37 ปี และปัจจุบันทิศทางการดำเนินธุรกิจกำจัดแมลงคาดว่าจะมีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากเปิดตลาดการค้าเสรี หรือ AEC เนื่องจากความต้องการทางด้านบริการกำจัดแมลงที่มีมากขึ้นตามสภาวะแวดล้อมของโลกที่ร้อนขึ้นจนทำให้แมลงสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการพัฒนาของกลุ่มประเทศในอาเซียนและการเติบโตของธุรกิจต่าง ๆ อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้า รวมถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ส่งผลให้ความต้องการทางด้านงานบริการกำจัดแมลงที่ได้มาตรฐานสากลมีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะธุรกิจด้านโรงแรม ที่มีแมลงชนิดหนึ่งสามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อธุรกิจเป็นอย่างมากนั่นคือ “ตัวเรือด”

ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมที่มาจากตัวเรือด บริษัทฯ จึงร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และ บริษัท เบเออร์ไทย จำกัด จัดงานสัมมนาให้ความรู้ และข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับตัวเรือด ภัยเงียบจากตัวเรือดที่ไม่ควรมองข้าม ตลอดจนวิธีจัดการตัวเรือดอย่างมีระบบ และเห็นผลอย่างยั่งยืน ไม่เหมือนกับที่เคยมีในธุรกิจกำจัดแมลง เนื่องจากตัวเรือดส่งผลต่อธุรกิจโรงแรม และธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นอย่างมาก นอกจากจะต้องเสียเงินจำนวนมากในการป้องกันกำจัดแล้วนั้น ยังเสี่ยงต่อการโดนฟ้องร้องจากแขกผู้เข้าพัก รวมทั้งความเสี่ยงที่ทำให้โรงแรมเสียชื่อเสียง โดยเฉพาะสังคมในปัจจุบันเป็นยุคแห่งโซเชียลเน็ตเวิร์ค ฉะนั้นความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่อาจประเมินค่าได้ ดังนั้นถ้าไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่สนใจที่จะดูแลปัญหาตัวเรือด ก็จะได้รับผลกระทบโดยตรง โดยการจัดงานสัมมนาครั้งนี้คาดว่าจะมีกลุ่มโรงแรมให้ความสนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายให้ความรู้เพื่อนำไปบริหารจัดการตัวเรือดในธุรกิจโรงแรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.อุษาวดี ถาวระ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกีฏวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าในการกำจัดแมลงที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขว่า “ตัวเรือด”หรือ “เบด บั๊ก” bed bug เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และเป็นปัญหาของหน่วยงานหลาย ๆ แห่ง ซึ่งตัวเรือดจะสามารถแพร่ขยายพันธุ์และเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว และมักซ่อนตัวอยู่ตามที่นอน ซอกเตียง เก้าอี้ พื้นกระดานและรอยแตกของอาคาร โดยเฉพาะตามที่สาธารณะเช่น โรงแรม โรงหนัง ค่ายทหาร โรงเรียน ในรถไฟและรถยนต์หรือแม้แต่บนเครื่องบินฯลฯ ในต่างประเทศมีรายงานการพบตัวเรือดมากขึ้นในหลายทวีป เช่น อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป ออสเตเลีย และเอเชีย ส่วนประเทศไทยจากการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาตัวเรือด ในโรงแรม หรือ เกสต์เฮาส์ ในแหล่งที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่าในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมายังคงมีการตรวจเจอตัวเรือดอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะส่วนใหญ่ตัวเรือดมักจะติดมากับเสื้อผ้าของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เมื่อเข้ามาพักในโรงแรม จึงอาจมีการขยายพันธุ์ อาศัยและซ่อนตัววางไข่อยู่ตามร่องไม้หัวเตียง ใต้ที่นอน ตามขอบหรือตะเข็บที่นอน

ตัวเรือด (Bed Bug) เป็นแมลงที่ดูดกินเลือดสัตว์เลือดอุ่นโดยใช้ปากเจาะทะลุชั้นผิวหนัง มักอาศัยอยู่ตามเตียงนอนและตามเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ ดูดกินเลือดมนุษย์ในเวลากลางคืนที่เรานอนหลับ (Nocturnal Feeding Insect) อาศัยอยู่คู่กับอารยธรรมมนุษย์มาเป็นเวลานานนับตั้งยุคมนุษย์หินในถ้ำ ถือได้ว่าตัวเรือดนั้นเป็นคู่นอนที่มีวิวัฒนาการมาคู่กับมนุษย์เลยก็ว่าได้ ตัวเรือดนั้นมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆสูง อยู่ได้ทั้งที่ร้อนหรือเย็น สามารถอดอาหารได้กว่าสามเดือนโดยไม่ต้องอาศัยเลือดจากมนุษย์เลย

ดร.อุษาวดี ถาวระ กล่าวต่อไปว่า แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าตัวเรือดสามารถส่งต่อหรือแพร่กระจายเชื้อโรคได้ แต่ในตัวเรือดนั้นก็สามารถเป็นแหล่งอาศัยของไวรัสที่เป็นอันตรายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) หรือ เชื้อไวรัสเอชไอวี(HIV) เป็นตัน นอกจากจะสร้างความรำคาญ และทำให้รู้สึกน่ารังเกียจแล้ว การถูกตัวเรือดกัดดูดเลือดยังสามารถก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้อีกด้วย ในปัจจุบันตัวเรือดได้สร้างปัญหาให้กับสังคมยุคใหม่ที่มนุษย์มีการเดินทางขนส่งข้ามประเทศเป็นกิจวัตร (Globalization) โดยจะอาศัยเกาะกับนักเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และนี่ก็สร้างปัญหาและความเสียหายอย่างมากต่อธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมแบบไม่รู้จบ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในรายได้หลัก ดังนั้นการรู้จักตัวเรือดและวิธีการจัดการตัวเรือดที่ถูกต้อง ปลอดภัย และ ได้ผล จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ประกอบการโรงแรมในปัจจุบันนี้

ดร.อภิวัฏ ธวัชสิน นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญพิเศษ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญในการกำจัดตัวเรือดในประเทศไทย ให้ข้อมูลเสริมว่าตัวเรือดจะมีขนาดใกล้เคียงกับเห็บสุนัขยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มี 2 ชนิด คือ 1. ตัวเรือดเขตร้อน เรียกว่า “ไซเม็ก เฮมิพเทอรัส” ซึ่งพบในประเทศไทย และประเทศต่าง ๆ ในเขตร้อน 2. ตัวเรือดเขตอบอุ่นและเขตหนาว เรียกว่า “ไซเม็ก เลคทูลาเรียส” พบในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อเมริกา อีกหลายประเทศในยุโรป ทั้งนี้ตัวเรือด “ไซเม็ก เลคทูลาเรียส” จะสามารถแพร่กระจายได้ทั่วโลก ไม่ได้จำกัดเฉพาะเขตหนาวเท่านั้น ส่วนตัวเรือดเขตร้อนจะพบได้เฉพาะเขตร้อนเท่านั้น และตัวเรือดสามารถอดอาหารได้นานหลายเดือน เช่น โรงแรมคิดว่ามีตัวเรือดแล้วปิดห้องไป 5 เดือน เพราะคิดว่ามันจะอดอาหารตายไปเอง ปรากฏว่า พอมีคนเช็กอินเข้าไป เจอกับตัวเรือดที่อดอาหาร 5 เดือนออกมากัดแขกคนนั้นจนต้องนำส่งโรงพยาบาล และทางโรงแรมก็ไม่สามารถเก็บค่าที่พักได้เลย ถ้าเป็นบางประเทศโรงแรมคงถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นแน่

เดิมประเทศไทยมีเฉพาะตัวเรือดเขตร้อนเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีทั้ง 2 ชนิด เนื่องจากตัวเรือดเขตร้อนที่กลับมาแพร่ระบาดอีกหลังจากหายสาบสูญไป เพราะมีความต้านทานต่อสารเคมี ส่วนตัวเรือดเขตอบอุ่นและเขตหนาวที่เข้ามาประเทศไทยจะติดมากับเสื้อผ้า และกระเป๋านักท่องเที่ยวที่ปัจจุบันนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมใช้กระเป๋าผ้า ตัวเรือดก็เกาะติดเข้ามา หรือนักท่องเที่ยวบางคนไม่ชอบอาบน้ำตัวเรือดก็จะติดเสื้อผ้าเข้ามา โดยตัวเรือดที่ระบาดในประเทศไทยจะจำกัดอยู่เฉพาะโรงแรม แต่บางประเทศเช่น ญี่ปุ่นระบาดไปตามบ้านเรือนแล้ว

แม้จะมีตัวเรือดเพียง 1 ตัว ถ้ามันผสมพันธุ์มาแล้วจะออกลูกได้หลายร้อยตัว ไม่ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะสะอาดแค่ไหน มันก็สามารถ อยู่ได้ การเอาที่นอนไปผึ่งแดดตัวเรือดก็ไม่ตาย โดยมันจะชอบอยู่ ตามซอกเตียง ฟูก หัวเตียง พอกลางคืนจะออกมากัดคนและกินเลือดเป็นอาหาร โดยบางคนที่โดนกัดอาจจะแพ้มากโดยเฉพาะชาวต่างชาติ

ทั้งนี้ตัวเรือดได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องเสียเงินจำนวนมากในการป้องกันกำจัด ดังนั้นถ้าไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่สนใจที่จะดูแลปัญหาตัวเรือด ก็จะได้รับผลกระทบโดยตรง และจากการไปตรวจโรงแรมในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต ล่าสุดก็ยังเจอตัวเรือดอยู่แต่คณะผู้วิจัยได้ไปช่วยกำจัดให้ ปัจจุบันยังมีโรงแรมหลายแห่งได้โทรศัพท์มาขอคำปรึกษาให้ช่วยกำจัดตัวเรือดอยู่เรื่อย ๆ

ดร.อภิวัฏ กล่าวอีกว่า สำหรับสังเกตห้อง หรือ เตียงนอน ในโรงแรมไม่เว้นแม้แต่ระดับห้าดาว ไปจนกระทั่งเกสต์เฮาส์ที่อาจจะมีตัวเรือดหลบอยู่ คือ ตอนเช็กอินเข้าไปควรเปิดดูใต้ที่นอน ถ้าตะเข็บที่นอนข้างล่างมีจุดแดงๆ หรือ ดำๆ เหมือนกับเลือด แสดงว่าห้องนั้นมีตัวเรือด เพราะจุดดังกล่าวคือมูลของตัวเรือดนั่นเอง ก็ขอเปลี่ยนห้องใหม่ และหากพบเม็ดลักษณะรี ๆ สีขาว ๆ ตามตะเข็บที่นอนก็แสดงว่าเป็นไข่ของตัวเรือด

ทางด้าน คุณปิยะ พิศาลนรเดช ผู้จัดการประจำประเทศไทย กลุ่มวิทยาการเพื่อสิ่งแวดล้อม บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ผู้นำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพาหะและสัตว์รบกวน กล่าวว่า บริษัทฯ ได้นำเข้าผลิตภัณฑ์กำจัดตัวเรือด เพื่อใช้ในการจัดการตัวเรือดอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนโดยได้ร่วมมือกับ คิงส์ เซอร์วิส เซ็นเตอร์ ในครั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ “เทมพริด” คือ มิติใหม่ สำหรับจุดจบของแมลง โดยเฉพาะการกำจัดตัวเรือด ซึ่งสามารถจัดการตัวเรือดได้อย่างรวดเร็ว แม้สายพันธุ์ที่มีปัญหาต้านทานสารเคมี ทั้งยังสามารถปกป้องได้ยาวนาน มีผลถึงไข่ของตัวเรือด และสามารถใช้ควบคู่กับการใช้ความร้อนในการจัดการตัวเรือดแบบผสมผสาน ซึ่งได้รับการพิสูจน์จากการใช้งานจริงมาแล้วทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย

สำหรับการใช้ “เทมพริด” เพื่อกำจัดตัวเรือด เพียงผสม “เทมพริด” ในอัตราส่วน 15 ซีซี กับน้ำ 4 ลิตร แล้วนำส่วนผสมนี้ไปฉีดพ่นในอัตรา 1 ลิตรต่อพื้นที่ 25 ตร.ม. ฉีดในที่ที่พบเห็นตัวเรือดตามซอกมุม หรือ แหล่งหลบซ่อน เช่น หัวเตียง โต๊ะหัวเตียง ตู้เสื้อผ้า ฝาผนัง ฐานรองที่นอน กรอบ หรือโครงของเตียง ตามรอยแยก หรือรอยต่อของเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องฉีดพ่นบนที่นอน หรือฟูก ให้ถอดผ้าปูที่นอนออกก่อนและฉีดพ่นเฉพาะบริเวณตะเข็บที่นอนให้พอชื้นเท่านั้น และที่สำคัญจะต้องรอจนกว่าบริเวณที่ฉีดพ่นจะแห้งสนิทหรืออย่างน้อย 2-3 วัน จึงจะสามารถนำที่นอนกลับมาใช้ได้ตามปกติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ