Checkup สุขภาพ ใครได้... ใครเสีย?

พุธ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๖:๐๖
ข้อมูลโดย นายแพทย์ดำรงศักดิ์ ประพุทธ์พิทยา ตำแหน่ง ตัวแทนฝ่ายบริหารระบบคุณภาพ

“ตรวจสุขภาพ (Medical Checkup)” คำๆนี้เป็นที่คุ้นหูกันอยู่เนืองนิตย์ จะว่าง่ายก็ง่าย หรือจะว่ายากก็ยากเช่นเดียวกัน เพราะความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว บางครั้งดูเหมือนจะค่อนไปทางฐานของเส้นขนานมากกว่าความน่าจะเป็นตามความรู้สึกของหลายๆท่านคิดว่า ตรวจสุขภาพเป็นการสิ้นเปลือง จะตรวจทำไมเพราะไม่ได้มีอะไรผิดปกติ ไม่เคยป่วย และไม่เคยหาหมอด้วย

นายแพทย์ดำรงศักดิ์ ประพุทธ์พิทยา โรงพยาบาลธนบุรี 2กล่าวว่า การตรวจสุขภาพโดยทั่วไปแล้ว มีวัตถุประสงค์อยู่ 2 ประการคือ ตรวจตามปกติทั่วไป เพื่อให้รู้ว่าเรามีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอะไรหรือไม่ และสามารถวางแผนในการดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง และอีกประการหนึ่งคือ ตรวจแบบมีเป้าหมาย เช่น ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน การวางแผนมีบุตร ปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ตรวจเข้าทำงาน หรือตามลักษณะของงาน อย่างบางคนทำงานที่สูง ตรวจดูว่าเสี่ยงต่อการเป็นลมหน้ามืดหรืออาการอื่นๆได้ง่ายหรือไม่ เป็นต้น

ใครได้...

การตรวจสุขภาพว่า ไม่ได้เป็นการตรวจหาโรคในอนาคต แต่เป็นการตรวจคัดกรองเพื่อป้องกัน ปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การก่อเกิดโรคต่อไปได้ นี่คือประโยชน์ที่ทุกคนควรได้รับ ซึ่งต้นตอที่ก่อเหตุส่วนใหญ่ที่ไว้ใจไม่ได้และมักมาแบบเงียบๆ คือ ความดันโลหิตสูง ไขมัน น้ำตาลในเลือดสูงที่มีผลต่อ ตับไต หัวใจ ปอด เส้นเลือด และอวัยวะอื่นๆปัจจัยเหล่านี้จะนำไปสู่การก่อเกิดโรคได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ,โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ฯลฯ ที่สำคัญเมื่อเกิดแล้วนอกจากจะทำลายอวัยวะต่างๆให้เสียหาย หรือเป็นอัมพฤก อัมพาต หมดโอกาสป้องกัน ก็อาจถึงแก่ชีวิตได้

“ปัจจุบันเกณฑ์การตรวจโดยสถิติทั่วไปอายุประมาณ35-40ปีขึ้นไป เพราะกลุ่มนี้จะเริ่มมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มาก ซึ่งตรวจ 100 คน อาจจะเจอ 50 คนถือว่าเยอะ เพราะโรคบางโรคแสดงเมื่อเป็นแล้ว ส่วนใหญ่แม้ไม่มีอาการให้เห็น แต่ใช่ว่าจะไม่เป็น เพราะมักเกิดในรูปแบบค่อยๆเป็นทีละนิด ที่เราไม่รู้เพราะอาจจะเกิดจากความเคยชิน ดูตัวเองไม่ออกแต่เมื่อตรวจก็เจอเสมอ”

“อีกกรณีหนึ่ง เมื่อตรวจสุขภาพแล้ว คนส่วนใหญ่มักถามหมอว่า ตนเองเป็นโรคอะไร ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้ตรวจเพื่อหาโรค แต่ตรวจคัดกรองเพื่อป้องกัน และหากหมอบอกว่าไม่มีอะไร เพียงแต่มีผลบ่งชี้บางตัวที่ต้องปรับพฤติกรรมการกินอยู่ โดยไม่ต้องพึ่งยา ทำให้คนเหล่านั้นมักจะประมาท หรือบางครั้งก็มาต่อรองกับตัวเลข หวังว่าครั้งต่อไปจะดีขึ้น ทั้งที่ตนเองไม่ได้ปรับอะไรเลย ในที่สุดก็ต้องกินยาหรือเป็นโรคจริงๆจนได้”

ใครเสีย…..

ดังที่คุณหมอได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า การตรวจสุขภาพไม่ใช่ตรวจเพื่อหาโรค แต่ตรวจคัดกรองเพื่อป้องกัน พูดง่ายๆคือ สร้าง....นำซ่อม ไม่ต้องรอให้เป็นโรคก่อนแล้วถึงไปรักษา โอกาสเสี่ยงก็จะน้อยลง หรือแม้กระทั่งตรวจเจอโรคก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาได้

ดังนั้น รู้ก่อนป้องกันก่อน นั่นคือ ประโยชน์สูงสุดที่คุณควรได้รับ เพียงปีละครั้งก็ยังดี อย่าปล่อยให้เป็นโรคแล้วค่อยรักษา เหมือนเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย และคนที่ “ได้เสีย” คือคุณคนเดียว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ