หลักการและเหตุผล
ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกด้านอย่างรวดเร็ว ในยุคโลกาภิวัตน์และโลกเทคโลยีแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ทุกประเทศตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะที่มีสมรรถนะสามารถปรับตัวรองรับกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรู้เท่าทัน โดยให้ความสำคัญกับการศึกษาของคนในชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จและตัวบ่งชี้ถึงความเป็นผู้นำในทุกด้าน
ประเทศไทยเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กำลังอยู่ในสภาวะของการดำเนินการในหลายด้านที่เป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ตามแถลงการณ์ฉบับที่ ๒ ( Bali Concord II ) ซึ่งพูดถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนหรือที่รู้จักกันในนาม AEC Blueprint ในเรื่ององค์ประกอบหลัก ๔ ส่วน ได้แก่ การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียว ( Single Market & Production Base ) การพัฒนาไปสู่ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง ( Highly Competitive Economic Region ) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค มีความเท่าเทียมกันในประเทศ ( Equitable Economic Development ) และการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ( Integration into Global Economy ) เหล่านี้มีรายละเอียดที่ทำให้ประเทศไทยต้องเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกระดับให้มีขีดความสามารถให้เทียบเคียงนานาประเทศซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย
สถาบันวิจัยการเรียนรู้ ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบทบาทของผู้นำการจัดการศึกษาปฐมวัยมาเป็นระยะเวลาหนึ่งทศวรรษ ตระหนักและพิจารณาเห็นความความสำคัญในบทบาทของผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัยร่วมกับโรงเรียนสมาชิกจำนวน ๒๕๐ โรงเรียน จึงได้จัดทำ โครงการสัมมนาทางวิชาการผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา “ วิกฤตหรือโอกาส : การศึกษาปฐมวัยไทยในเวทีอาเซียน ” ขึ้น
สถาบันวิจัยการเรียนรู้ จึงขอเรียนเชิญท่านผู้บริหารสถานศึกษาและนักการศึกษาผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้
รายละเอียดเพิ่มเติม นายภควัต เกตุอุ่น โทรศัพท์ 08-6069-4567 อีเมล์ : [email protected]