คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.กรุงเทพผลิต “เครื่องส่งข้อมูลดิจิตอล” เครื่องแรกในประเทศไทย

ศุกร์ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๖:๔๕
ผศ.ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้พัฒนาเครื่องมือต้นแบบการส่งข้อมูลแบบดิจิตอลเป็นเครื่องแรกในประเทศไทยได้สำเร็จ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเรียนวิชาการสื่อสารแบบดิจิตอล สำหรับนักศึกษาช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ในระดับอาชีวศึกษา ให้เข้าใจสิ่งที่สอนได้มากยิ่งขึ้น ชุดจำลองการสื่อสารแบบดิจิตอล ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนเรื่องการสื่อสารแบบดิจิตอลควบคู่กับบทเรียนตามหลักสูตรระดับอาชีวศึกษา และกำลังพัฒนาเพื่อใช้ในระดับปริญญาตรี โดยเครื่องมือนี้จะใช้เป็นสื่อสารการเรียนการสอนในรูปแบบของโปรแกรม ที่ช่วยอธิบายการส่งสัญญาณไฟฟ้า ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน จนถึงการส่งข้อมูลบิตที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งสามารถทำงานง่ายควบคู่ไปกับบทเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้จริง

โดยเครื่องมือต้นแบบการส่งข้อมูลแบบดิจิตอลนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพใช้ต้นทุนในผลิตขึ้นมาในราคาที่ต่ำมาก เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ที่มีราคาสูงกว่า 500,000 บาท และในอนาคตสามารถพัฒนาบทเรียนเพิ่มได้อีกในภายหลัง และทำให้กับวิทยาลัยอาชีวศึกษาสามารถเข้าถึงอุปกรณ์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อมของฝีมือแรงงานในประเทศได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ