ภาพข่าว: คอมแพ็คเบรกร่วมงาน SAE Brake Colloquium and Exhibition 2014

อาทิตย์ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๘:๒๗
คุณเกษม อิสระพิทักษ์กุล กรรมการผู้จัดการ คุณมีชัย ศรีวิบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานวิจัยและพัฒนา และ คุณรุ่งโรจน์ สมานเกียรติกุล หัวหน้าแผนกสนับสนุนด้านผลิตภัณฑ์ บริษัท คอมแพ็ค อินเตอร์เนชั่นแนล (1994) จำกัด ร่วมงาน SAE Brake Colloquium and Exhibition เมื่อวันที่ 5-8 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่ง SAE Brake Colloquium ถือเป็น งานสัมมนาระดับนานาชาติ ที่รวมนักวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์ชั้นนำที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับการเบรก และระบบเบรก

โดยในงานนี้คุณมีชัย ศรีวิบูลย์ ในฐานะนักวิจัยเชี่ยวชาญด้านระบบเบรกจากคอมแพ็คเบรก ได้รับเกียรติร่วมบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับนักวิจัยชั้นนำจากทุกมุมโลก ในหัวข้อ "Influence of Formulation and Process Modifications on Brake Friction, Wear and Squeal : Low-Copper NAOs" ซึ่งเป็นความสำเร็จด้านการคิดค้นและวิจัยสูตรผ้าเบรก Low Copper ที่เป็นมาตรฐานผ้าเบรกที่จะเริ่มใช้ในอเมริกาในปี ค.ศ. 2021 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาของคอมแพ็คเบรก และเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตจากความต้องการของอุตสาหกรรมเบรกทั่วโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ