1. หนี้ของรัฐบาล
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 50,666.64 ล้านบาท เนื่องจาก
1.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 492.49 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 605.12 ล้านบาท ในขณะที่การเบิกจ่ายและชำระคืนเงินกู้ สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 112.63 ล้านบาท
1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 51,159.13 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญเกิดจาก
- เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้เพิ่มขึ้น 56,997.92 ล้านบาท เนื่องจาก
· การเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินคลังสุทธิ 30,500 ล้านบาท
· การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 11,570 ล้านบาท และ ตั๋วสัญญาใช้เงิน 6,490 ล้านบาท
· การออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 11,635 ล้านบาท เพื่อทดแทนจำนวนตั๋วเงินคลังที่ประมูลได้ไม่ครบ
· การชำระคืนหนี้ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จำนวน 3,197.08 ล้านบาท
- การชำระคืนหนี้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจตาม พ.ร.ก. ไทยเข้มแข็ง จำนวน 11,866 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้ 550 ล้านบาท การเบิกจ่ายเงินกู้จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ
- การเบิกจ่ายเงินกู้ต่อให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 839.01 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 1,597.56 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 363.24 ล้านบาท รวมถึงการเบิกจ่ายเงินกู้ต่อให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีแดง จำนวน 57.40 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้ 2,620 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้ DPL เพิ่มขึ้น 2,620 ล้านบาท เนื่องจาก การเบิกจ่ายเงินกู้ ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้จากธนาคารโลกเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) โดยแบ่งเป็น การเบิกจ่ายเงินกู้ 580 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 3,000 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 และการเบิกจ่ายเงินกู้ 2,040 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 3,000 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2557
1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 9,586.56 ล้านบาท เกิดจาก (1) การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 4,000 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 2 และ (2) การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ (FIDF 3) จำนวน 5,586.56 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 1 ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์
1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน
2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 2,366.43 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 2,316.05 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 50.38 ล้านบาท
2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 9,936 ล้านบาท เนื่องจาก
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาท ตามลำดับ
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร 900 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 5,836 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 5,910 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 11,746 ล้านบาท
2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน
2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 2,649.38 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 1,385.22 ล้านบาท ประกอบกับการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 1,264.16 ล้านบาท
2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 7,508.44 ล้านบาท เนื่องจาก
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร 9,200 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร 3,125 ล้านบาท
- การไฟฟ้านครหลวงออกพันธบัตร 3,000 ล้านบาท
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 566.56 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 11,395.48 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 11,962.04 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 110.27 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 1.26 ล้านบาท ในขณะที่การชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 111.53 ล้านบาท
3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 11,236.60 ล้านบาท เนื่องจาก
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรออกพันธบัตร 10,000 ล้านบาท
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 2,236.60 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 7,244 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 5,007.40 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ มีรายละเอียดปรากฏตามแผนภาพที่ 3
แผนภาพที่ 3 หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ที่บริหารความเสี่ยงและจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ
หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 3,912.94 ล้านบาท เนื่องจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 87.36 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 4,000.30 ล้านบาท
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 มีจำนวน 5,690,814.15 ล้านบาท ซึ่งหากแบ่งประเภทหนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้น มีรายละเอียด ดังนี้
หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,690,814.15 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 358,177.71 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.29 และหนี้ในประเทศ 5,332,636.44 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.71 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,690,814.15 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,517,381.41 ล้านบาท หรือร้อยละ 96.95 และหนี้ระยะสั้น 173,432.74 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.05 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,690,814.15 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 4,874,050.50 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.65 และหนี้ระยะสั้น 816,763.65 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.35 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
หมายเหตุ: การนำข้อมูลและ/หรือบทวิเคราะห์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะไปใช้และ/หรือเผยแพร่ต่อ ขอความร่วมมืออ้างแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย