บลจ.ฟินันซ่าเปิดขายกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือน อัตราผลตอบแทนโดยประมาณ 2.60% ต่อปี

อังคาร ๑๘ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๐:๓๓
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด (บลจ.ฟินันซ่า) เสนอกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือน อัตราผลตอบแทนโดยประมาณ 2.60% ต่อปี

"บลจ.ฟินันซ่า ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว โดยรัฐบาลมีการประกาศนโยบายลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 3 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตามในด้านของปัจจัยภายนอกประเทศยังมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในยุโรปและจีน ซึ่งเป็นปัจจัยที่กดดันการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงในระดับต่ำและอัตราผลตอบแทนที่ดีจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการใช้เป็นแหล่งพักเงินระยะสั้น อีกทั้งหลังจากการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เมื่อวันที่ 28-29 ตุลาคม 2557 มีมติว่าจะยุติโครงการ QE ในเดือนตุลาคม 2557 และจะยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไปจนกว่าจะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน โดยตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นถึงการเริ่มฟื้นตัว โดย GDP ไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 3.5 สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ร้อยละ 3.0 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนตุลาคมอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี คาดว่าทิศทางของอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงขาขึ้นในปี 2558 สถานการณ์เช่นนี้การลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเนื่องจากสามารถรองรับความเสี่ยงจากการเสียโอกาสลงทุนในภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นได้

บลจ.ฟินันซ่า จึงออกเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือน ชื่อกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรลโอเวอร์ 3เดือน2 (FAM FIPR3M2) โดยมีอัตราผลตอบแทนโดยประมาณ 2.60% ต่อปี เปิดเสนอขายระหว่างวันที่ 17 – 24 พฤศจิกายน 2557 ซึ่ง เป็นกองทุนที่โรลโอเวอร์มาจากการขายกองทุนก่อนหน้านี้ เป็นกองทุน Specific fund

โดยกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรลโอเวอร์ 3เดือน2 (FAM FIPR3M2) จะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงินและ/หรือ เงินฝากของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ เงินฝากธนาคารต่างประเทศสกุลเงิน USD, CNY, HKD, EUR, JPY กับธนาคาร BOC (Macau), Standard Chartered Bank (Hong Kong), ธนาคาร CIMB Niaga (Indonesia), ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ, ตั๋วแลกเงิน บมจ.เอเซียเสริมกิจ ลีสซิ่ง(BBB+), ตั๋วแลกเงิน บมจ.ราชธานีลิสซิ่ง (BBB+), บจ.บีเอสแอล ลีสซิ่ง(BBB) หรือตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB ขึ้นไป, ตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น

- หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป หรือผลการประมูลของตราสารไม่เป็นไปตามที่กำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่ประมาณการไว้

- ทั้ง นี้ ตราสารที่ลงทุน สัดส่วนการลงทุน และประมาณการค่าใช้จ่าย อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป หรือตามที่บริษัทจัดการเห็นสมควร

- กองทุนจะถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดรอบการลงทุนแต่ละรอบ 3 เดือนโดยประมาณ

หากผู้ถือหน่วยไม่ส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนมาภายในวันและเวลาที่กำหนดในการเปิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์ที่จะลงทุนต่อไปในรอบการลงทุนถัดไป

บริษัทจัดการสงวนสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงตราสารที่ลงทุน สัดส่วนการลงทุนและประมาณการค่าใช้จ่าย สำหรับการลงทุนในแต่ละรอบทุก 3 เดือนโดยประมาณ โดยไม่ถือเป็นการแก้ไขโครงการ โดยจะแจ้งรายละเอียดการลงทุนดังกล่าว ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปและหรือเว็บไซด์ของบริษัทจัดการ ให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้า

โดยผู้ลงทุนสามารถลงทุนขั้นต่ำเพียง 2,000 บาท ซึ่งหากนักลงทุนสนใจ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-352-4050

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ