เตือนผู้บริโภค พบสารใหม่ปลอมปนในยาแผนโบราณ อวดสรรพคุณทางเพศ

พุธ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๘:๐๙
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตรวจพบสารAildenafilปลอมปนในยาแผนโบราณที่อวดอ้างสรรพคุณเสริมสมรรถภาพทางเพศ สารนี้ไม่มีข้อมูลความปลอดภัย จึงไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยา อาจส่งผลร้ายต่อผู้ใช้ดังนั้นผู้บริโภคควรระมัดระวังการซื้อยาแผนโบราณที่มีสรรพคุณเสริมสมรรถภาพทางเพศมารับประทาน

นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กระแสความนิยมการใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร หรือยาแผนโบราณที่มากขึ้นเพราะผู้บริโภคคิดว่าปลอดภัย จึงทำให้มีการหลอกลวง มีการโฆษณายาแผนโบราณที่อวดอ้างสรรพคุณต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะสรรพคุณที่เสริมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งสรรพคุณดังกล่าวอาจไม่ได้มาจากสมุนไพรที่เป็นองค์ประกอบในยาแผนโบราณ แต่มาจากการปลอมปนยาแผนปัจจุบันกลุ่มที่มีฤทธิ์เสริมสมรรถภาพทางเพศ สารกลุ่มนี้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบันในประเทศไทย มี 3 ชนิด คือ Sildenafil หรือที่รู้จักกันดีในชื่อการค้าของต้นแบบว่า “ไวอากร้า” Tadalafilและ Vardenafilซึ่งทั้งหมดเป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

จากข้อมูลทางห้องปฏิบัติการเพื่อเฝ้าระวังการปลอมปนยาเสริมสมรรถภาพทางเพศในยาแผนโบราณที่ผ่านมา ตรวจพบการใช้ไวอากร้า ปลอมปนในยาแผนโบราณเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังตรวจพบการใช้ยาTadalafil, Vardenafilหรือใช้ทั้ง 2 ตัวยาผสมกันบ้าง ซึ่งแนวโน้มการใช้สารในการปลอมปนนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอด เพื่อเลี่ยงการถูกตรวจพบ โดยเปลี่ยนไปใช้สารที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกันซึ่งคล้ายกับสารในกลุ่มที่มีฤทธิ์เสริมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งนี้สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เคยตรวจพบสารAminotadalafilซึ่งเป็นสารที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับยา Tadalafilในปี พ.ศ.2554 และล่าสุดในปี พ.ศ. 2557 นี้ ได้ตรวจพบสารใหม่ซึ่งไม่เคยตรวจพบในยาแผนโบราณที่จำหน่ายในประเทศ คือ Aildenafilซึ่งเป็นสารที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับยา Sildenafil

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า แนวโน้มของปัญหาการปลอมปนสารกลุ่มนี้ในยาแผนโบราณ จะมีการเลี่ยงที่จะไม่ใช้ตัวยาหลัก ที่มีการตรวจสอบเป็นประจำ คือ Sildenafil, Tadalafilและ Vardenafilแต่จะไปใช้สารตัวอื่นหรือสารที่มีโครงสร้งคล้ายคลึงกับสารกลุ่มนี้แทน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเสริมสมรรถภาพ เพื่อเลี่ยงการถูกตรวจพบ สารดังกล่าวเหล่านี้ไม่มีข้อมูลความปลอดภัย จึงไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยา ทำให้มีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากบริโภคยาแผนโบราณที่ปลอมปนด้วยสารดังกล่าว เพราะนอกจากอันตรายที่เกิดจากสารกลุ่มนี้ที่มีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดแดงที่อวัยวะเพศชายแล้ว ยังมีการขยายหลอดเลือดที่บริเวณอื่นของร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ ตาลาย หน้าแดง อาหารไม่ย่อย หายใจลำบาก อาจสูญเสียการได้ยิน หรือเกิดความผิดปกติของระบบประสาทตาได้ หรืออาจทำให้ผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ หากใช้ร่วมกับยาอื่นที่เสริมฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือด และยังอาจเกิดความเป็นพิษอื่นๆ จากสารนี้ได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลความเป็นพิษของสารเหล่านี้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ประชาชนผู้บริโภคไม่ควรซื้อยาแผนโบราณที่อวดอ้างสรรพคุณเสริมสมรรถภาพทางเพศมารับประทานเพราะอาจมีการปลอมปนสารดังกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO