ไอซีทีดันนโยบายสร้างดิจิตอลภาครัฐขับเคลื่อนดิจิตอลอีโคโนมี ดันสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เดินหน้า ผลักโอเพ่นเดต้า สร้างคนและองค์กรรัฐให้เข้าสู่ยุคดิจิตอล EGA เผย คว้ารางวัล FuturGovและได้ ISO 27001 ย้ำความเชื่อมั่นของบริการ เชื่อปีหน้าภาครัฐเข้าสู่บริการ

อังคาร ๒๕ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๑:๒๙
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT เปิดเผยว่า จากนโยบายการสร้างประเทศไทยเข้าสู่ Digital Economy ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนทุกภาคส่วนของประเทศเข้าสู่ยุคดิจิตอลเพื่อทำให้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หนึ่งในการขับเคลื่อนที่สำคัญก็คือ การปรับเปลี่ยนภาครัฐและราชการเข้าสู่ยุค Digital Government ซึ่งจะเป็นภาพที่ใหญ่กว่านโยบาย Electronic Government ดังเช่นที่ผ่านมา

สิ่งที่เด่นชัดในยุคของ Electronic Government ก็คือ การเปลี่ยนยุคกระดาษเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์ ปรับลดกระบวนการและแปรเปลี่ยนเอกสารหรือฟอร์มต่างๆ มาสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในยุคนี้ก็ต้องต่อสู้กันในแง่ของพฤติกรรมการทำงานที่ติดกับกระดาษมาอย่างยาวนาน เช่น การต้องใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านในทุกเรื่องราว ซึ่งเกี่ยวโยงกับกฎหมายหลายอย่างที่ทำให้การปรับเปลี่ยนเป็นไปด้วยความลำบาก แต่อย่างไรก็ตามจากความพยายามของรัฐบาลก็ทำให้ค่อยๆ ขจัดปัญหาเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุด

ขณะที่ภาครัฐของไทยกำลังก้าวเข้าสู่ e-Government เต็มตัว แต่กระแสโลกก็สร้างแนวโน้มใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของ Social Network, Big Data และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ภาครัฐของไทยก็ต้องวางยุทธศาสตร์การเติบโตใหม่ โดยจะเน้นเข้าสู่ยุค Digital Government ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนใหญ่ให้ประเทศก้าวเข้าสู่ Digital Economy

Digital Government ในช่วงแรกนั้นทางสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ได้วางรากฐานชั้นดีเอาไว้แล้ว ตั้งแต่การสร้างระบบ Government Information Network หรือ GIN อันเป็นระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ ที่เชื่อมต่อกับทุกหน่วยงานภาครัฐทำให้เกิดโครงข่ายการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ มีระบบ Government Cloud Computing หรือ G-Cloud ที่รองรับทั้ง Infrastructure as a Service, Platform as a Service จนถึง Application as a Service ซึ่งภาครัฐในช่วงสองปีมานี้ตื่นตัวในการใช้ระบบนี้จำนวนมาก ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้ทำให้การปรับเปลี่ยนภาครัฐเข้าสู่ยุค Digital Government ทำได้ง่ายขึ้น

ในปีนี้โครงการสำคัญของ EGA ที่จะดำเนินการเรื่อง Mobile Government และ Open Government Data ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะวางฐานเพื่อสร้างการต่อยอดจากโครงสร้างพื้นฐานที่ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งจะทำให้ Digital Government ผลักดันภาคอุปสงค์ลงสู่ภาคประชาชนได้อย่างเต็มตัว เกิดนวัตกรรมใหม่ เกิดการสร้างงานใหม่ๆ จากการนำข้อมูลภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ไปใช้งานให้เกิด Business Model หรือ ความคิดทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างไม่สิ้นสุด

นอกจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และการสร้างเครื่องมือในการเป็น Digital Economy โดยผ่าน Digital Government แล้ว ในส่วนของภาครัฐจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรรองรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ด้วย จะเห็นว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT ได้ร่วมมือกับ EGA ในการวาง Digital Government Organization เอาไว้แล้ว ว่าควรจะมีโครงสร้างคนอย่างไร รวมถึงกฎระเบียบต่างๆ ที่จะรองรับ สิ่งที่ต้องเร่งมือและถือเป็นเรื่องเร่งด่วนคือ การสร้าง Digital Executive หรือ ผู้บริหารที่จะเข้ามารับผิดชอบด้านการปรับเปลี่ยนภาครัฐเข้าสู่ยุคดิจิตอล อย่างเช่น

โครงการอบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 4 แล้ว ก็สามารถสร้างบุคลากรรองรับได้อย่างดี ทำให้ผู้บริหารภาครัฐสามารถเข้าใจเศรษฐกิจยุคดิจิตอลและสามารถประยุกต์ไปใช้งานได้จริงในองค์กร

การสร้าง Digital Executive จะมีอย่างต่อเนื่อง และจะมีการลงรายละเอียดมากขึ้น ไม่เพียงแต่จะมี CIO ดังเช่นในอดีต แต่ต้องมี CDO หรือ Chief Data Officer ที่ต้องเข้ามาดูเรื่องการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐโดยตรง และจะต้องมีคนที่เข้ามาดูเรื่อง Big Data และอื่นๆ มีหลายอย่าง เพื่อให้ภาครัฐมีความทันสมัย เท่าทันเทคโนโลยี และทำให้การบริการประชาชนสามารถเป็นหนึ่งเดียวกับความต้องการของพวกเขา

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA เปิดเผยว่า ในรอบปีที่ผ่านมานอกจากการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับให้หน่วยงานภาครัฐเข้าสู่การเป็น Digital Government แล้ว มาตรฐานของการบริการซึ่งถือว่าเป็นสาธารณูปโภคส่วนกลางเป็นหน้าที่ของ EGA ที่จะทำให้เกิดการยอมรับจากหน่วยงานรัฐด้วยกัน เนื่องจากนโยบายการผลักดันของ EGA จะเน้นความสมัครใจไม่ใช่การบังคับใช้งาน

หลังจากที่ EGA ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านคลาวด์คอมพิวติ้งจาก CSA หรือ Cloud Security Alliance ซึ่งเป็นองค์กรที่คุมมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยบนระบบคลาวด์แล้ว ในรอบปีที่ผ่านมายังได้รับรางวัล FutureGov Award2014 ในสาขา Government Cloud Award จากโครงการ G-Cloud ของ EGA และ สาขา Information Management Award จากโครงการ e-Sarabun ของ EGA ซึ่งรางวัลนี้แสดงให้เห็นว่าในระดับนานาชาตินั้นมีความเชื่อมั่นในระบบและบริการของ EGA อย่างมาก และยังเห็นว่า EGA มีวิสัยทัศน์ที่ล้ำหน้ากว่าหน่วยงานรัฐในอีกหลายประเทศ

นอกจากนั้น EGA ยังได้รับการรับรองระบบมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ หรือ ISO/IEC27001:2005 ในด้านบริการ G-Cloud ในระดับ IaaS หรือ Infrastructure as a Service จาก บริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป ประเทศไทย เป็นการสะท้อนถึงการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่เป็นมาตรฐานสากล มีแผนการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ใช้บริการมั่นใจในบริการและความปลอดภัยของข้อมูล

การวางรากฐานการบริการให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากลของ EGA เพื่อที่จะทำให้เกิด Digital Organization ทำให้ภาครัฐที่จะเข้ามาใช้บริการสามารถได้รับบริการที่ดีได้ทันทีที่ร้องขอ ขณะเดียวกัน EGA ก็จะพัฒนาผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐให้เข้ามาใช้ทรัพยากรเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านโครงการอบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเน้นแนวทางการมีส่วนร่วมของแต่ละหน่วยงานเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็จะดึงความคิดเห็นและแนวทางการทำธุรกิจของภาคเอกชนมาต่อยอดด้วย

ในปีหน้า EGA จะเพิ่มโครงสร้างพื้นฐาน เช่นการต่อเชื่อมผ่านระบบ GIN การสร้างระบบคลาวด์คอมพิวติ้งให้รองรับหน่วยงานรัฐมากขึ้น ขณะเดียวกันจะเน้นให้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลเป็น data set เพื่อให้ทุกหน่วยงานสร้าง API มาต่อเชื่อม และเกิดเป็นมูลค่าเพิ่ม โดยมีภาคเอกชนมาต่อยอดทั้งจากการนำ data set ในโครงการ Open Data ไปสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ และการผลักดันให้เกิดแอพพลิเคชั่นภาครัฐที่ใช้งานบนเครื่องติดตามตัวทั้งหลายอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ