การควบรวมธุรกิจเพิ่มศักยภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่กลยุทธ์การรักษาพนักงานยังคงไม่ดีพอ

พุธ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๔ ๑๐:๕๔
ผลวิจัยทาวเวอร์ส วัทสัน เผยองค์กรมีกลยุทธ์การรักษาพนักงานที่ด้อยคุณภาพหลังข้อกำหนดในสัญญาสิ้นสุด

จากผลการสำรวจซึ่งจัดทำโดยทาวเวอร์ส วัทสัน (Towers Watson) (NYSE, NASDAQ: TW) บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลธุรกิจระดับโลก พบว่าการสร้าง กลยุทธ์การเก็บรักษาพนักงานที่สมบูรณ์แบบยังคงเป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้มีการควบรวมหรือซื้อกิจการ และใช้สิทธิตามสัญญาในการรักษาไว้ซึ่งพนักงาน ซึ่งจากผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้

ผลการสำรวจข้อมูลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้นำมาจากรายงานการสำรวจทั่วโลกเรื่องการรักษาไว้ซึ่งพนักงานขององค์กรที่มีการควบรวมกิจการ ซึ่งจัดทำโดยทาวเวอร์ส วัทสัน ประจำปี 2014 (Towers Watson’s 2014 Global M&A Retention Study) โดยได้มีการตรวจสอบวิธีการที่นายจ้างใช้ในช่วงการควบรวมกิจการเพื่อรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่สำคัญขององค์กร และยังได้ทำการประเมินแผนการชดเชย และประสิทธิผลของสัญญาการรักษาพนักงาน (Retention Agreements)

โดยผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 59) ระบุว่าจำนวนของพนักงานที่ทำสัญญาการรักษาพนักงานยังคงอยู่ในอัตราที่สูง (มากกว่าร้อยละ 80) ตามช่วงเวลาของสัญญาการรักษาพนักงาน แต่อย่างไรก็ตามจำนวนน้อยกว่า 1 ใน 3 (ร้อยละ 29) กล่าวว่าพวกเขายังคงจำนวนของพนักงานที่อัตราเดิมเป็นระยะเวลาหนึ่งปีหลังจากหมดสัญญา ซึ่งปัจจัยหลักสำหรับพนักงานที่ลาออกก่อนหมดสัญญาการรักษาพนักงานมักมีสาเหตุมาจากความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร (ร้อยละ 75) ความรู้สึกอึดอัดต่อวัฒนธรรมใหม่ๆของพนักงานกลุ่มนี้สูงกว่าพนักงานโดยทั่วไปที่ตอบแบบสำรวจเป็นอย่างมาก (48%)

มร. มาสสิโม บอร์จเฮลโล ผู้อำนวยการฝ่ายงานการควบรวมกิจการ (M&A) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของทาวเวอร์ส วัทสัน เปิดเผยว่า “องค์กรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 52) ได้อ้างถึงความจำเป็นในการให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีศักยภาพและมีความสามารถใหม่ๆ เป็นเหตุผลหลักในการควบรวมกิจการ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากอัตราการรักษาไว้ซึ่งพนักงานที่ค่อนข้างต่ำหลังการควบรวมกิจการขององค์กรเหล่านี้ ทำให้อาจสรุปได้ว่าเกิดความล้มเหลวในการดำเนินงาน”

“องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการควบรวมกิจการ จำเป็นต้องเข้าใจถึงวัฒนธรรมองค์กรหรือวัฒนธรรมระหว่าง 2 ประเทศ เพื่อการทำงานร่วมกันภายหลังจากการทำข้อตกลง ต้องเสริมสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร (Employment Engagement) และต้องเริ่มประสานงานเป็นรายบุคคลกับบุคลากรที่สำคัญขององค์กรในช่วงเริ่มต้นของการควบรวมเป็นการล่วงหน้าอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับสัญญาการรักษาไว้ซึ่งพนักงานนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้นในการยื่นข้อเสนอเพื่อที่จะยืดเวลาในการทำงาน แต่ข้อเสนอดังกล่าวนั้นจะต้องสามารถนำมาใช้งานได้อย่างชาญฉลาด และก่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีมากยิ่งขึ้น”

ผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเน้นถึงความสำคัญในการระบุบุคลากรซึ่งมีความจำเป็นต่อองค์กรและมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเข้าร่วมสัญญารักษาพนักงาน ความสามารถหรือศักยภาพของบุคลากรนั้นนับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน อย่างไรก็ตามได้มีข้อมูลที่น่าสนใจซึ่งแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆ รายงานว่าองค์กรในภูมิภาคนี้มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญอย่างมากต่อตำแหน่งงาน (Job Title) หรือระดับตำแหน่งงาน (Reporting Level) ถึงร้อยละ 41 และต่อหน่วยงานทางธุรกิจ (Business Unit) ถึงร้อยละ 37 ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าองค์กรเหล่านี้กำลังให้ความสำคัญกับเกณฑ์การคัดเลือกที่ค่อนข้างไร้ประสิทธิภาพ

“การรักษาพนักงานที่เหมาะสมสามารถช่วยสร้างเสริมหรือทำลายข้อตกลงได้เช่นกัน ทุนมนุษย์ (Human Capital) ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดในองค์กร การรักษาพนักงานต้องเริ่มจากการระบุ บุคลากรที่มีศักยภาพ ตลอดจนระบุบทบาทและหน้าที่ที่มีความสำคัญสูงต่อความสำเร็จของการควบรวมกิจการ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญและมีประสิทธิภาพมากกว่าการมองหา จ้างงาน หรือรวบรวมพนักงานใหม่ในระหว่างหรือหลังการเข้าซื้อธุรกิจ” มร. มาสสิโม กล่าวเพิ่มเติม

คุณพิชญ์พจี สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทยได้มีการดำเนินงานด้านการควบรวมกิจการเป็นจำนวนมากและการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ในปี 2015 มีแนวโน้มที่จะช่วยดึงดูด นักลงทุนต่างชาติมากยิ่งขึ้นซึ่งอาจทำให้การดำเนินงานด้านการควบรวมกิจการทั่วทั้งภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้การควบรวมธุรกิจประสบผลสำเร็จ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรเป็นผู้นำในหลากหลายด้าน ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพ การจัดการด้านการสื่อสารและความเข้าใจในวัฒนธรรม”

ทั้งนี้ร้อยละ 74 ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า การประสานงานกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเป้าหมายนั้นเป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะทำให้สามารถระบุได้ว่าบุคลากรคนใดบ้างที่ควรเข้าร่วมสัญญาการรักษาพนักงานและการนำผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมลงนามในสัญญาแต่แรกเริ่มนั้นจะทำให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมตลอดทั้งกระบวนการ โดยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่า 2 ใน 5 (ร้อยละ 42%) เปิดเผยว่าพวกเขาได้แจ้งให้ผู้บริหารระดับสูงร่วมลงนามในสัญญาก่อนที่จะเริ่มต้นทำสัญญาควบรวมกิจการ ในขณะที่ร้อยละ 21 กล่าวว่าได้แจ้งให้ผู้บริหารระดับสูงร่วมลงนามในช่วงเริ่มต้นทำสัญญาการควบรวมกิจการ

มร. มาสสิโม กล่าวต่อว่า “กระบวนการรักษาไว้ซึ่งพนักงานจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระดับผู้บริหาร เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ทีมผู้บริหารต้องรับผิดชอบและดำเนินการให้สอดคล้องไปกับเป้าหมายทางธุรกิจและกลยุทธ์ การควบรวมกิจการ โดยพฤติกรรมของพวกเขามีความสำคัญต่อการรักษาและสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน พวกเขาไม่ควรต้องกังวลต่อสถานะการจ้างงานหลังการควบรวมกิจการ ดังนั้น จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากมีการให้ความชัดเจนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่พวกเขาว่าองค์กรใหม่นี้จะประสบความสำเร็จในอนาคต”

นอกจากนี้ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าองค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีงบประมาณรองรับแผนงานด้าน การรักษาพนักงานสูงกว่าองค์กรในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกค่อนข้างมาก โดยจำนวนมากกว่า 1 ใน 3 (ร้อยละ 38) ได้ตั้งงบประมาณสำหรับการรักษาพนักงานเอาไว้มากกว่าร้อยละ 5 ของยอดรวมค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินงานการควบรวมกิจการ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 20 ขององค์กรในภูมิภาคอื่นๆทั่วโลกที่ทำแบบเดียวกัน และเมื่อพิจารณาถึงงบประมาณเพื่อการรักษาไว้ซึ่งพนักงานนั้น พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กล่าวว่าองค์กรของพวกเขาเน้นการรักษาพนักงานที่มีศักยภาพ โดยไม่ได้เน้นที่จำนวนว่าจะต้องรักษาพนักงานไว้ให้ได้มากที่สุด ดังนั้นผลประโยชน์ตอบแทนที่เฉพาะเจาะจงต่อตัวบุคคลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการรักษาพนักงานซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ต้องลงทุนมากเกินไปในภาพรวม

ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่า เงินโบนัสถือเป็นรูปแบบการให้รางวัลด้านการเงินที่ถูกใช้สำหรับการรักษาไว้ซึ่งพนักงานมากที่สุด โดยใช้กับผู้บริหารระดับสูงในร้อยละ 76 และระดับพนักงานทั่วไปถึงร้อยละ 80 และเป็นที่น่าสังเกตว่า องค์กรที่มีประสิทธิภาพด้านการรักษาพนักงานมักจะให้ผลตอบแทนในรูปของโบนัสเงินสดในสัญญาการรักษาพนักงานบ่อยกว่าองค์กรที่มีประสิทธิภาพด้านการรักษาพนักงานต่ำ

ทาวเวอร์ส วัทสัน ได้ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพนักงานคล้ายกับการสำรวจครั้งนี้เมื่อสองปี ที่แล้ว โดยพบข้อมูลเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่กล่าวว่าองค์กรของพวกเขาได้นำเสนอข้อตกลงในสัญญาการรักษาพนักงานโดยพิจารณาจากประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น ในขณะที่ปัจจุบันตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นที่ ร้อยละ14 สำหรับกลุ่มผู้บริหารระดับสูง และร้อยละ 16 สำหรับกลุ่มพนักงานทั่วไป โดยรายงานการสำรวจครั้งใหม่นี้พบว่าโดยทั่วไปแล้วองค์กรต่างๆ มักจะทำสัญญาการรักษาพนักงานโดยผนวกข้อเสนอการจ่ายเพื่อให้อยู่ต่อ (pay-to-stay) และการจ่ายเพื่อศักยภาพการทำงาน (pay-to-perform) สำหรับกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ขณะที่เสนอข้อตกลงเงื่อนไขระยะเวลาเป็นส่วนใหญ่แก่ร้อยละ 48 หรือเกือบครึ่งของกลุ่มพนักงานทั่วไป

เกี่ยวกับการสำรวจ

รายงานการสำรวจทั่วโลกเรื่องการรักษาไว้ซึ่งพนักงานขององค์กรที่มีการควบรวมกิจการ ซึ่งจัดทำโดยทาวเวอร์ส วัทสัน ประจำปี 2014 ได้ตรวจสอบโครงสร้าง การใช้งานและประสิทธิผลของสัญญาการรักษาไว้ซึ่งพนักงานในระหว่างการซื้อขายกิจการหรือควบรวมกิจการ โดยเฉพาะข้อมูลด้านการเงินที่ระบุในสัญญา โดยผู้ร่วมตอบแบบสอบถามจะพิจารณาเกี่ยวกับการซื้อขายกิจการหรือควบรวมกิจการขององค์กรตนเองที่ได้ริเริ่มหรือเสร็จสิ้นมาแล้วในช่วงระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา สำหรับองค์กรที่มีคุณสมบัติในการเข้าร่วมการสำรวจนี้ จะต้องมีการจ้างพนักงานอย่างน้อย 500 คน (อย่างน้อย 1,000 คนสำหรับองค์กรที่ดำเนินงานอยู่ ณ สหรัฐอเมริกา) มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการซื้อขายกิจการหรือควบรวมกิจการในช่วงระยะเวลาสองปีที่ ผ่านมา และมีการทำสัญญาเพื่อการรักษาไว้ซึ่งพนักงานด้วย ทั้งนี้รายงานการสำรวจได้ทำการสำรวจจาก 248 องค์กร ใน 14 ประเทศ (ออสเตรเลีย, เบลเยียม, บราซิล, แคนาดา, เยอรมนี, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เม็กซิโก, เนเธอร์แลนด์, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา) จากทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งร้อยละ 69 ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามเป็นองค์กรมหาชน ร้อยละ 32 ของการดำเนินธุรกิจเป็นระดับโลก และร้อยละ 10 อยู่ในระดับภูมิภาค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ