ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมีการขยายตัวของจำนวนนักศึกษามากขึ้นและมีการใช้งานผ่านอุปกรณ์พกพาไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟนและแท็บเลต มีการใช้งานด้านการศึกษาผ่านเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัย การใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ ทำให้เครือข่ายการใช้งานอินเตอร์เน็ตเกิดการล่าช้าและสะดุด ทางมหาวิทยาลัยฯ จึงมีนโยบายที่จะปรับปรุงระบบชุมสายอนาล็อค โดยเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอลไอทีบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงระบบการสื่อสารแบบผสมด้านข้อมูลและเสียง และเพื่อตอบรับแนวโน้มของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ก้าวมาสู่ในยุคของระบบการให้บริการแบบใหม่ในรูปแบบระบบ BYOD เพื่อรองรับการที่นักศึกษาหรืออาจารย์ สามารถนำอุปกรณ์ของตัวเองมาใช้ในมหาวิทยาลัยได้ การใช้ VIDEO ระบบการสื่อสารที่สามารถมองเห็นทั้งภาพและเสียง มีการแชร์ข้อมูลกันได้รวมถึงการใช้ระบบ CLOUD ระบบที่รองรับการให้บริการแบบคลาวด์เซอร์วิส
ภราดา ดร.บัญชา กล่าวต่อว่า ด้วยนโยบายการสนับสนุนการนำไอทีเข้ามาช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเอแบคเพื่อเสริมศักยภาพให้กับทั้งผู้เรียนและผู้สอน รวมถึงบุคลากรด้านต่างๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้นที่ผ่านมาเอแบคจึงเดินหน้ามุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอล โดยการสรรหานวัตกรรมชั้นนำทางด้านต่างๆ มาสร้างเป็นเครื่องมือ เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ดังกล่าวมาโดยตลอด ซึ่งบริษัทฟูจิตสึเป็นหน่วยงานให้คำปรึกษาทางด้านระบบเครือข่ายและระบบสื่อสาร ได้นำเสนอ ระบบ สื่อสารทำให้สามารถทำงานหรือการเรียน การสอนได้ทุกที่ทุกเวลาสามารถตอบโจทย์มหาวิทยาลัยดิจิตอลได้เป็นอย่างดี
ทางด้าน นาง วัลลภา เปี่ยมนพเก้า รองประธานฝ่ายขาย บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการศึกษากำลังปรับตัวเข้าไปสู่ยุคดิจิตอล ทำให้มีการปรับปรุงระบบรองรับการใช้งานที่มากขึ้น และมีการเรียนรู้ การทำงานผ่านสื่อออนไลน์ ด้วยเหตุนี้ฟูจิตสึจึงนำเทคโนโลยี IP-Telephony ที่เรียกว่า Unified Communications Manager Business Edition ของ บริษัท Cisco Systems เป็นระบบสื่อสาร โทรศัพท์และวีดีโอ ที่ใช้งานได้ทั้ง โทรศัพท์ตั้งโต๊ะทั้งแบบพนักงานทั่วไปและแบบโทรศัพท์แบบวีดีโอ ครอบคลุมถึงบนระบบมือถือและแท็บเลต ยังรวมไปถึงระบบการสื่อสารผ่านข้อความ การฝากข้อความเสียง และระบบตอบรับอัตโนมัติ ซึ่งประโยชน์ของเทคโนโลยี Unified Communication มีส่วนช่วยสนับสนุนทางการศึกษาให้กับ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานและสื่อสาร โดยสามารถใช้งานระบบโทรศัพท์พกพาของตัวเองได้ ทั้งโทรศัพท์มือถือ แท็บเลตหรือคอมพิวเตอร์พกพา โดยยังคงไว้ซึ่งรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศในมหาวิทยาลัย ทางบริษัทฟูจิตสึให้คำปรึกษา ครอบคลุมตลอดการใช้งาน โดยให้คำปรึกษาในลักษณะ End to end infrastructure service โดยครอบคลุมการทำงานร่วมกันกับระบบเดิม และรองรับระบบใหม่ๆ ที่จะเข้ามาติดตั้งในอนาคตด้วย
นาย กรัณฑ์ ร่วมสุข ผู้จัดการทั่วไป Commercial/Partner Led Sales, บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่าเทคโนโลยี IP-Telephony ระบบ Unified Communications Manager Business Edition เป็นระบบที่ สามารถสื่อสารกับนักศึกษาหรือบุคคลภายในโดยผ่านระบบการประชุมทางไกล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และการสื่อสารที่ใช้ทั้งภาพและเสียง สามารถสื่อสารกับเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาผ่านระบบ Remote Expert เช่น สามารถสร้างระบบการให้บริการเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งถ้าหากนักศึกษาต้องการข้อมูลสามารถโทรมาได้ และระบบสามารถกระจายสายให้ไปสู่กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยเพื่อให้บริการและ ระบบสามารถสร้างระบบการบริการนักศึกษาหรือบุคคลภายนอก โดยมีพนักงานรับสาย เพื่อรับข้อร้องเรียน หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับทางมหาวิทยาลัย
โดยมีขีดความสามารถในการประมวลผลการโทรเข้า โทรออก Cisco Unified Communications Manage (Unified Communication Solution) ไม่ว่าจะเป็นการโอนสาย วอยซ์เมล์ อินเทอร์คอม การประชุมด้วยระบบเสียง การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ ทั้งหมดนี้สามารถใช้งานได้สะดวกมากขึ้น
สำหรับจุดเด่น Cisco Unified Communications Manager สนับสนุน: ตัวเลือกอัจฉริยะ: เลือกได้ตั้งแต่ ห้ามรบกวน อินเทอร์คอม บันทึกเสียงการสนทนา หรือแม้แต่การตรวจสอบโดยปิดเสียงเพื่อการจำลองสถานการณ์การฝึกอบรมพนักงานในศูนย์บริการข้อมูล มัลติมีเดีย:สะดวกต่อการเพิ่มระบบภาพเข้ากับระบบการสื่อสาร เทคโนโลยีโทรศัพท์ขั้นสูง: ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์ล่าสุด ซึ่งรวมถึง Cisco Unified IP Phones และแอพพลิเคชัน นวัตกรรมใหม่ที่ใช้งานบนโทรศัพท์ ระบบไร้สาย: ใช้อุปกรณ์แบบใช้งานได้ 2 ระบบที่ช่วยให้พนักงานสามารถเปลี่ยนจากเครือข่ายโทรศัพท์มือถือไปเป็นระบบเครือข่ายข้อมูลไร้สายได้โดยไม่ขาดการเชื่อมต่อ