ผู้ช่วย รมว.กษ. กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นโยบายส่งเสริมกิจการโคนมไทยสู่ตลาดอาเซียน” มั่นใจกิจการโคนมสามารถเจริญเติบโตได้ในตลาดอาเซียน พร้อมทั้งเชิญชวนให้ผู้บริโภคช่วยกันสนับสนุนผู้เลี้ยงโคนมในประเทศ

จันทร์ ๐๑ ธันวาคม ๒๐๑๔ ๑๑:๑๒
นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการเสวนา “กิจการโคนมไทยในตลาดอาเซียน” และการกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นโยบายส่งเสริมกิจการโคนมไทยสู่ตลาดอาเซียน” ณ ห้องเมจิก โรงแรมมิราเคิล ว่า การเลี้ยงโคนมในประเทศไทย มีความเจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด ในปัจจุบันมีผู้เลี้ยงประมาณ 20,000 ราย จำนวนโคนมประมาณ 600,000 ตัว ผลิตน้ำนมได้ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี หรือเฉลี่ย 12-13 กิโลกรัม/ตัว/วัน และมีการเลี้ยงกระจายกันไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ยืนยันได้ว่ากิจการการเลี้ยงโคนมของไทยมีความก้าวหน้า และจากสถานการณ์ปัจจุบันในการเปิดตลาดเสรีอาเซียน สินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทย ยังมีความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบแม้จะมีต้นทุนค่าแรงที่แพงกว่า แต่ประเทศไทยยังมีความก้าวหน้าในเรื่องเทคโนโลยีการเลี้ยงและการผลิตมากกว่าประเทศอื่นในอาเซียน

นายอภิชาติ กล่าวต่อไปว่า การที่ประเทศไทยสามารถผลิตนมพร้อมดื่มได้อย่างพอเพียง เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารประเภทโปรตีนและวิตามินที่มีคุณค่าในราคาที่ประหยัดได้อีกทางหนึ่ง เพราะการที่ได้ดื่มนมโดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กนั้นจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโต มีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งรัฐบาลได้มีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนมาตั้งแต่ปี 2538 นับว่าเป็นนโยบายที่จะช่วยทั้งผู้เลี้ยงโคนมและพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนด้วย

สำหรับนโยบายและแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมของภาครัฐนั้น รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้มีความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนแน่นอน เกษตรกรไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นนอกจากอาชีพเสริม สำหรับการดำเนินการในระยะสั้น จะมีคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (Milk Board) เพื่อกำกับดูแล ปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมการฯ ชุดนี้ สำหรับในระยะยาว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นม ปี 2555 – 2559 ซึ่งจะมีทั้งเรื่องการวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ การถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรโคนม โดยเฉพาะแนวทางการลดต้นทุนการผลิต การปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพน้ำนมดิบ การรณรงค์และส่งเสริมการบริโภคนมพร้อมดื่ม รวมทั้งการพัฒนาระบบสารสนเทศโคนมและผลิตภัณฑ์นมให้ถูกต้องทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

“ถ้าทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน มีความแนวแน่ที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะการให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง และคำนึงถึงประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและผู้ประกอบการ ก็ต้องพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตของตนเอง ไม่เพียงแต่รอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ผู้บริโภค ควรสนับสนุนผู้เลี้ยงโคนมในประเทศ โดยเลือกซื้อนมที่มีคุณภาพและผลิตในประเทศ ในราคาที่เป็นธรรมไม่มุ่งหวังแต่ราคาถูกเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้กิจการโคนมและอุตสาหกรรมนมของไทยก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป ” นายอภิชาติ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ