นายอำนวย กล่าวต่อไปว่า การเข้าพบครั้งนี้สภาการยางแห่งประเทศไทย และเครือข่ายยางทั้งระบบ ได้ขอให้เร่งผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายต่างๆมติ ครม. และผลจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2557 และ 16 ตุลาคม 2557 ได้แก่ โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สภาบันเกษตรรวบรวมยาง 10,000 ล้าน โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันแปรรูปยางพา 5,000 ล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง 15,000 ล้านบาทสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง 15,000 ล้านบาท โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง 10,000 ล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย เพื่อประกอบอาชีพเสริมอีก ครัวเรือนละ 100,000 บาท เป้าหมาย 100,000 ครัวเรือน โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยางโดยช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ รวมทั้งให้กระทรวงการคลังโดย ธกส. สำรองจ่ายเงินให้ อสย. เพื่อใช้เป็นมูลภัณฑ์กันชน ในการซื้อยางเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท ระยะเวลา 18 เดือน ทั้งนี้เห็นว่า หลายมาตรการยังไม่ปฎิบัติอย่างจริงจังและยังติดขัดระเบียบ และล่าช้า จึงทำให้ราคายางไม่ดีขึ้นตามที่ต้องการ จึงขอให้ช่วยเร่งให้ทุกมาตรการเดินไปตามกลไกที่รัฐได้วางไว้ให้เร็วที่สุด
นอกจากนี้ ยังได้นำปัญหาที่ให้รัฐเร่งดำเนินการแก้ไข ได้แก่
1) เรื่อง พรบ. การยางแห่งประเทศไทย ที่ผ่าน ครม. ไปแล้ว ปัจจุบันอยู่ที่ สนช. ซึ่งจะต้องแต่งตั้งกรรมาธิการ เพื่อแปรญัติ จึงขอเสนอให้ท่านได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการ เพื่อให้ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้มีโอกาสเข้าไปแสดงข้อคิดเห็นในพรบ. ฉบับนี้
2) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการสินค้าเกษตรยางพาราซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้เริ่มจัดตั้งแล้วหลายจังหวัด แต่เพื่อให้มีการติดตามอย่างใกล้ชิดและให้ได้ผลจึงขอเสนอให้มี war room ยางเพิ่มจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เพิ่มขึ้นอีก เช่น ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก รวมอีก 4 แห่ง และกำชับให้ติดตามรายงานผลเป็นระยะ
3) รัฐบาลควรสนับสนุนการจัดตั้งตลาดกลางยางของภาคเอกชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จัดตลาดกลางภาคตะวันออก ขึ้นที่จังหวัดระยอง ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 แต่ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ อาทิ เงินทุนหมุนเวียน การประกาศราคากลางยางของประเทศไทย
4) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับเป็นเจ้าภาพ เชิญองค์กรที่เกี่ยวกับยาง เข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหาแก้ปัญหายางไปสู่ทิศทางเดียวกัน
5) การพัฒนาตลาดซื้อขายยางจริงระหว่างเกษตรกร และผู้ใช้ยางควรรีบดำเนินการเพื่อให้เกิดขึ้นและสนับสนุนมีความเข้มแข็งเพื่อการแก้ไขปัญหาจากการซื้อขายตลาดล่วงหน้าที่เป็นตลาดซื้อขายยางเทียม
6) การพัฒนาอุตสาหกรรมยาง (ระดับเกษตรกร) เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า และเพิ่มการใช้ยางภายในให้มากขึ้น
7) การสนับสนุนและเป็นเจ้าภาพให้มีการจัดตั้ง สภาการยาง อาเซียน ซึ่งเลือกมาจากตัวแทนเกษตรกรแต่ละประเทศโดยตรง 8 ประเทศเข้าร่วมประชุมช่วยกันเพื่อผลักดันรัฐบาลของตนเองเมื่อราคายางตกต่ำเกษตรกรเดือดร้อนจึงจะตรงเป้าหมาย
8.) คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตรของสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้นำเสนอกรอบแนวทางการปฏิรูปการเกษตร ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป และการตลาดมาเพื่อให้พิจารณา