บลจ.ฟินันซ่าเปิดขายกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือน อัตราผลตอบแทนโดยประมาณ 2.55% ต่อปี

พฤหัส ๐๔ ธันวาคม ๒๐๑๔ ๑๓:๒๕
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด (บลจ.ฟินันซ่า) เสนอกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือน อัตราผลตอบแทนโดยประมาณ 2.55% ต่อปี

บลจ.ฟินันซ่า ประเมินว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในระดับต่ำและฟื้นตัวได้ช้า แม้ว่าจะมีการประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแล้วก็ตาม สำหรับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำและหากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมในระยะถัดไป แต่หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดีอาจมีการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยถ้าเป็นเช่นนั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับสหรัฐฯ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในปี 2558 ด้านปัจจัยภายนอกประเทศ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทั้งในยุโรป จีน และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่กดดันการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงในระดับต่ำและอัตราผลตอบแทนที่ดีจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

บลจ.ฟินันซ่า จึงออกเสนอขายกองทุนตราสารหนี้ 3 เดือน ชื่อกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรลโอเวอร์ 3เดือน7 (FAM FIPR3M7) โดยมีอัตราผลตอบแทนโดยประมาณ 2.55% ต่อปี เปิดเสนอขายระหว่างวันที่ 4 - 15 ธ.ค. 2557 ซึ่ง เป็นกองทุนที่โรลโอเวอร์มาจากการขายกองทุนก่อนหน้านี้ เป็นกองทุน Specific fund

โดยกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรลโอเวอร์ 3เดือน7 (FAM FIPR3M7) จะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงินและ/หรือ เงินฝากของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ เงินฝากธนาคารต่างประเทศสกุลเงิน USD, CNY, HKD, EUR, JPY กับธนาคาร BOC (Macau), Standard Chartered Bank (Hong Kong), ธนาคาร CIMB Niaga (Indonesia), ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ, ตั๋วแลกเงิน บมจ. ดั๊บเบิ้ล เอ(1991) (BBB), ตั๋วแลกเงิน บมจ.เอเซียเสริมกิจ ลีสซิ่ง(BBB+), ตั๋วแลกเงิน บมจ.ราชธานีลิสซิ่ง (BBB+) หรือตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB ขึ้นไป, ตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น

- หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป หรือผลการประมูลของตราสารไม่เป็นไปตามที่กำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทน ตามอัตราที่ประมาณการไว้

- ทั้งนี้ ตราสารที่ลงทุน สัดส่วนการลงทุน และประมาณการค่าใช้จ่าย อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป หรือตามที่บริษัทจัดการเห็นสมควร

- กองทุนจะถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดรอบการลงทุนแต่ละรอบ 3 เดือนโดยประมาณ

หากผู้ถือหน่วยไม่ส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนมาภายในวันและเวลาที่กำหนดในการเปิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์ที่จะลงทุนต่อไปในรอบการลงทุนถัดไป

บริษัทจัดการสงวนสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงตราสารที่ลงทุน สัดส่วนการลงทุนและประมาณการค่าใช้จ่าย สำหรับการลงทุนในแต่ละรอบทุก 3 เดือนโดยประมาณ โดยไม่ถือเป็นการแก้ไขโครงการ โดยจะแจ้งรายละเอียดการลงทุนดังกล่าว ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปและหรือเว็บไซด์ของบริษัทจัดการ ให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้า

โดยผู้ลงทุนสามารถลงทุนขั้นต่ำเพียง 2,000 บาท ซึ่งหากนักลงทุนสนใจ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-352-4050 อัตราผลตอบแทนสามารถดูได้จากเอกสารแนบ

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ