บทความเรื่อง "โอกาสและความท้าทายของภาคการผลิตไทย" โดย ดีลอยท์ ประเทศไทย

ศุกร์ ๑๒ ธันวาคม ๒๐๑๔ ๐๙:๕๖
โอกาสและความท้าทายของภาคการผลิตไทย

โดย ดร.สหนนท์ ตั้งเบ็ญจสิริกุล

บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด (ดีลอยท์ ประเทศไทย)

เป็นที่ทราบกันดีว่าภาคการผลิตมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ และสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศไทยมาหลายทศวรรษจากข้อมูลล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประมาณร้อยละ 37 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)และประมาณร้อยละ 16 ของการจ้างงานในประเทศไทย เกิดจากภาคการผลิต

นอกจากนี้ภาคการผลิตทำหน้าที่เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำซึ่งช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคเศรษฐกิจอื่นที่เป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำของไทย

อาทิ การค้า การขนส่ง การก่อสร้าง การท่องเที่ยว ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาภาคการผลิตไทยเผชิญความเสี่ยงและความไม่แน่นอนหลายด้านไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก อุทกภัยครั้งรุนแรงและการแย่งตลาดส่งออกและเงินลงทุนจากประเทศคู่แข่ง

สำหรับภาพรวมในปี 2557 ภาคการผลิตมีแนวโน้มหดตัวลงจากปีที่แล้วเนื่องจาก2 สาเหตุหลัก คือ ความ ต้องการซื้อจากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ยังไม่ฟื้นตัวดี และปัญหาการเมืองภายในประเทศซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคและนักลงทุนโดยมีหลายอุตสาหกรรมที่ผลผลิตหดตัว อาทิ ยานยนต์ ปิโตรเลียมอัญมณีเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร ปูนซิเมนต์และอุตสาหกรรมที่ผลผลิตขยายตัวตามความต้องการจากต่างประเทศ ได้แก่คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ในปี 2558 ดีลอยท์ประเมินว่าภาคการผลิตโดยรวมจะฟื้นตัวและเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเนื่องจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมจะขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอุปสงค์ภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐบาลและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้น

สำหรับภาครัฐบาลสิ่งที่ควรดำเนินการในระยะสั้นเพื่อสนับสนุนภาคการผลิตคือ การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อสร้างแรงจูงใจและอำนวยความสะดวกเรื่องการลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยทั้งนี้ดัชนี Ease of Doing Business (ล่าสุด) ที่ทาง World Bank Groupได้จัดอันดับไว้นั้น ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 18 จากทั้งหมด 189ประเทศ หากเปรียบเทียบกับกลุ่ม ASEAN ไทยยังตามหลังสิงคโปร์ (อันดับ1)และมาเลเซีย (อันดับ 6) โดยรัฐบาลช่วยแก้ปัญหาเรื่องความล่าช้าในการขอใบรง.4 ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ยังคงรอการแก้ไข ได้แก่ การจดทะเบียนตั้งบริษัทการเสียภาษี การขอสินเชื่อ รวมถึงการแก้ไขปัญหากรณีที่ล้มละลาย

จากการวิเคราะห์โดยหน่วยวิจัยของรัฐบาลและภาคเอกชนการเจริญเติบโตของภาคการผลิตไทยในระยะยาวนั้นขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการแข่งขันและวงจรธุรกิจของแต่ละอุตสาหกรรมโดยสามารถมองอุตสาหกรรมไทยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

- อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญและตลาดยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่น รถยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารสัตว์ ยางพาราอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

- อุตสาหกรรมที่ตลาดอิ่มตัวและการลงทุนมีแนวโน้มลดลงในอนาคต อาทิคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์ เครื่องโทรสาร กล้องดิจิตอล โทรทัศน์เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปใช้สินค้าอื่นและผู้ผลิตใช้ประเทศอื่นที่มีต้นทุนถูกกว่าเป็นฐานการผลิต เช่น

แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เป็นต้น

- อุตสาหกรรมที่เกี่ยวโยงกับนโยบายลงทุนภาครัฐบาล ได้แก่ กลุ่มซิเมนต์เหล็ก และวัสดุก่อสร้างซึ่งจะขยายตัวตามโครงการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์

นอกจากนี้อุตสาหกรรมเหล่านี้จะได้แรงเสริมจากการลงทุนของภาคเอกชนตามการลงทุนของภาครัฐบาลอีกด้วยเพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปิด AEC ในปี 2558และทำให้ภาคการผลิตของไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกในระยะยาวภาครัฐบาลและเอกชนควรร่วมมือกันเพื่อเอาชนะความท้าทายหลายด้าน ได้แก่

- ความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโดยนักลงทุนชะลอการลงทุนหรือบางรายย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นทั้งนี้การปฏิรูปและแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองอย่างจริงจังถือเป็นหนึ่งปัจจัยแห่งความสำเร็จของภาคการผลิตของไทย

- ปัญหาด้านแรงงานปัญหาการขาดแคลนและคุณภาพแรงงานของไทยเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายและประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ในอีก 10ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้กำลังแรงงานไทยลดลงในระยะยาวและส่งผลเชิงลบต่อความสามารถในการแข่งขันของไทยอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้การปฏิรูประบบการศึกษาโดยเน้นสมดุลระหว่างผู้เรียนสายสามัญและสายอาชีวะและยุทธศาสตร์การพัฒนาคนที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศไทยทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนเป็นสิ่งที่จำเป็น

- ปัญหาด้านประสิทธิภาพภาคการผลิตไทยเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ที่สูงมายาวนานรัฐบาลและภาคเอกชนควรร่วมมือกันในการเพิ่มประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทานการผลิตส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (R&D)และสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value Add)

- ตลาดเปลี่ยนแปลง ความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ ซึ่งปัจจุบัน คือคนเจนเนอเรชั่น X และ Y ได้เปลี่ยนแปลงไปจากผู้บริโภครุ่นก่อนส่งผลทำให้หลายอุตสากรรมที่เคยเจริญเติบโตสูงในอดีตเกิดการชะลอตัวลงหรือถดถอย

ดังนั้นต้องสร้างกลยุทธ์ขยายไปยังตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพเน้นตลาดที่มีขนาดใหญ่เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีกำลังซื้อสูง

- การแข่งขัน ประเทศคู่แข่งในกลุ่ม ASEAN โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินโดนีเซียและเวียดนาม ซึ่งนักลงทุนให้ความสนใจไปลงทุนเป็นจำนวนมากเนื่องจากประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบด้านต้นทุนและมีประชากรวัยเด็กและวัยทำงานเป็นสัดส่วนที่สูงและจะเป็นกำลังซื้อขนาดใหญ่ในอนาคตรัฐบาลอาจพิจารณาปรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนเน้นสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงและอุตสาหกรรมที่จะใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการเจริญเติบโตในอนาคต

- การใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจและการเชื่อมโยงในคาบสมุทรอินโดจีนผู้ประกอบการผลิตสามารถใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการขยายธุรกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้านกล่าวได้ว่าการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตจะเพิ่มความคล่องตัวในการขนส่งสินค้าทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

ทำให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ลดลง(ประหยัดเงินและเวลาการส่งมอบสินค้าเร็วขึ้น)การลงทุนและความเจริญที่กระจายออกไปยังส่วนภูมิภาคทำให้ตลาดภายในประเทศขยายตัวได้ต่อเนื่อง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO