- ๒๔ พ.ย. KKP มุ่งสู่สถาบันการเงินเพื่อความยั่งยืน ติดตั้ง Solar Rooftop บนอาคารสำนักงานใหญ่และสาขา 25 แห่ง
- ๒๔ พ.ย. SME D Bank จัดพิธีมอบรางวัล 'SME D TOGETHER Award 2023' เชิดชูต้นแบบความสำเร็จ 'เติมทุนคู่พัฒนา' ลูกค้าและธนาคารจับมือโตไปด้วยกัน
- พ.ย. ๒๕๖๗ กรุงศรี ตอกย้ำการเป็นพันธมิตรธุรกิจเพื่อความยั่งยืน การันตีด้วยหลายรางวัลด้าน ESG Finance จากสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงข่าวมาตรการเศรษฐกิจระยะปานกลาง-ระยะยาว ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 4 มาตรการ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ประกอบด้วย มาตรการแรกเป็นการจัดตั้งสถาบันการเงินเพื่อรายย่อย (นาโนไฟแนนซ์) โดยจะต้องมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท สามารถปล่อยกู้ได้ไม่เกินรายละ 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 36 ต่อปี และจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรการที่ 2 เป็นมาตรการในการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท/ปี ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนผู้ประกอบการรายย่อยที่มีกำไรสุทธิอยู่ในช่วง 300,000 - 3,000,000 บาท เสียอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ร้อยละ15 จากเดิมร้อยละ 20 มาตรการที่ 3 เป็นการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรสำหรับวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปและเครื่องจักร เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยปรับลดอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป จากเดิมร้อยละ 1-10 เป็นร้อยละ 0 ส่วนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร จะลดเหลือร้อยละ 10 จากเดิมร้อยละ 20-30 มาตรการที่ 4 ออกพันธบัตรออมทรัพย์ 100,000 ล้านบาท สำหรับประชาชนทั่วไป โดยแบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลสำหรับชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปี 2558 50,000 ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี อัตราดอกเบี้ยลอยตัว ขณะที่อีก 50,000 ล้านบาทเป็นพันธบัตร ธ.ก.ส. สำหรับการชดเชยการขาดทุนโครงการรับจำนำข้าว ระยะเวลา 5 ปี อัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยจะสามารถเปิดให้ประชาชนจองซื้อในวันที่ 12-16 มกราคม 2558 รายละไม่เกิน 2 ล้านบาท ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557