1. หนี้ของรัฐบาล
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 11,634.95 ล้านบาท เนื่องจาก
1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 291.75 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 49.91 ล้านบาท ในขณะที่การเบิกจ่ายและชำระคืนเงินกู้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 241.84 ล้านบาท
1.1.2 หนี้ในประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 11,926.70 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญเกิดจาก
- เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้ลดลง 14,650 ล้านบาท เนื่องจาก
· การลดลงของตั๋วเงินคลังสุทธิ 30,500 ล้านบาท
· การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 15,850 ล้านบาท
- การเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 493 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ
- การเบิกจ่ายเงินให้กู้ต่อ เพิ่มขึ้น 2,746.97 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
· การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย วงเงิน 2,300.43 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 994.99 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 745.58 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 559.86 ล้านบาท
· การรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 446.54 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง จำนวน 404.56 ล้านบาท และเพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีแดง จำนวน 41.98 ล้านบาท
- การชำระต้นเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน จำนวน 516.67 ล้านบาท
1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 3.37 ล้านบาท เกิดจากการชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ (FIDF 3) โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 1 ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์
1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน
2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 254.19 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 3.99 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 250.20 ล้านบาท
2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 138.52 ล้านบาท เนื่องจาก
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท
- การประปาส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร 400 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 461.48 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 915 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 453.52 ล้านบาท
2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน
2.2.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 318.78 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 150.86 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายเงินกู้ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดซื้อเครื่องบิน A 320-200 เป็นเงินจำนวน 34 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 1,110.35 ล้านบาท และชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทเพิ่มขึ้น 167.92 ล้านบาท
2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 3,326.19 ล้านบาท เนื่องจาก
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไถ่ถอนหุ้นกู้ 3,000 ล้านบาท
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตร 93 ล้านบาท
- การประปาส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร 600 ล้านบาท
- รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 833.19 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 3,311.14 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 4,144.33 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1.37 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น 1.37 ล้านบาท
3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 34,189.96 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรไถ่ถอนพันธบัตร 17,500 ล้านบาท และได้เบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 16,689.96 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 3,925.98 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 20,615.94 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ
หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 1,008.82 ล้านบาท เนื่องจากหน่วยงานอื่นของรัฐได้เบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 3.06 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 1,011.88 ล้านบาท
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2557 มีจำนวน 5,640,578.26 ล้านบาท ซึ่งหากแบ่งประเภทหนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้น มีรายละเอียด ดังนี้
หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,640,578.26 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 358,535.41 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.36 และหนี้ในประเทศ 5,282,042.85 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.64 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,640,578.26 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,529,992.60 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.04 และหนี้ระยะสั้น 110,585.66 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.96 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,640,578.26 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 4,883,374.67 ล้านบาท หรือร้อยละ 86.58 และหนี้ระยะสั้น 757,203.59 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.42 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512,5522