นิปปอน เอวิโอนิคส์ เปิดตัวเครื่องเชื่อมโลหะอัลตราโซนิก SW-3500-20/SH-H3K7 รุ่นใหม่

อังคาร ๑๖ ธันวาคม ๒๐๑๔ ๑๒:๐๘
- มีความน่าเชื่อถือสูงในการเชื่อมลวดอะลูมิเนียมไปจนถึงขั้วทองแดง ชุดสายไฟทองแดง/อะลูมิเนียม บัสบาร์ และแผ่นฟอยล์ -

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม บริษัท นิปปอน เอวิโอนิคส์ จำกัด (ต่อไปนี้เรียกว่า “Avio”) บริษัทในเครือของ เอ็นอีซี คอร์ป ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว ได้เปิดตัวเครื่องเชื่อมโลหะอัลตราโซนิก SW-3500-20/SH-H3K7 ซึ่งใช้การสั่นสะเทือนแบบอัลตราโซนิกเพื่อเชื่อมวัสดุโลหะ เช่น ทองแดง และอะลูมิเนียม โดยวัสดุเหล่านี้ใช้สำหรับการผลิตชุดสายไฟ แบตเตอรี่ทุติยภูมิ และมอเตอร์ในอุตสาสหกรรมยานยนต์ ที่เปลี่ยนมาใช้วัสดุน้ำหนักเบาลง และเร่งพัฒนาด้านอิเล็กทรอนิกส์เพื่อตอบสนองความต้องการรถยนต์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่กำลังขยายตัว

(รูปภาพ: http://prw.kyodonews.jp/prwfile/release/M100997/201412126278/_prw_OI1fl_2WYwuLDJ.jpg )

Avio เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์การเชื่อมโลหะขนาดเล็กแบบครบวงจรเพียงรายเดียวในโลก (*) บริษัทนำเสนอโซลูชั่นการเชื่อมโลหะขนาดเล็ก 4 ประเภทได้แก่ “การเชื่อมแบบอัด” “การเชื่อมด้วยเลเซอร์” “การบัดกรีอ่อนแบบพัลส์” (hot bar/reflow) และ “การเชื่อมแบบอัลตราโซนิก” Avio จัดหาโซลูชั่นการเชื่อมโลหะที่มีความเหมาะสมที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

เนื่องจากความก้าวหน้าในการใช้เครื่องยนต์ เทคนิคการเชื่อมอะลูมิเนียมและทองแดง ซึ่งเป็นวัสดุหลักในส่วนสำรองไฟฟ้า (แบตเตอรี่ ตัวเก็บประจุ) และส่วนจ่ายไฟ (ชุดสายไฟ บัสบาร์) จึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ ชุดสายไฟทองแดงแบบดั้งเดิมยังได้ถูกแทนที่ด้วยอะลูมิเนียม เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเชื้อเพลิง เนื่องจากมีน้ำหนักเบา และลดต้นทุนของวัสดุ ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่มีการใช้อะลูมิเนียมผลิตสายไฟแทนทองแดง จึงทำให้มีการเชื่อมลวดอะลูมิเนียมกับขั้วทองแดงมากขึ้นตามไปด้วย

เครื่องเชื่อมโลหะอัลตราโซนิกรุ่นใหม่ของ Avio ใช้วิธีการประสาน เพื่อรักษาแรงดันให้คงที่ ด้วยการใช้ลวดสปริง ซึ่งจะช่วยลดการหลุดเลื่อนของเครื่องมือและชิ้นงานในระหว่างการเชื่อมลวดอะลูมิเนียมกับชิ้นงานผิดรูปขนาดใหญ่ รวมถึงช่วยให้การเชื่อมคงที่

การเปิดตัวเครื่องเชื่อมโลหะอัลตราโซนิกรุ่นใหม่นี้ นับเป็นการขยายทางเลือกของ Avio สำหรับโซลูชั่นการเชื่อมโลหะขนาดเล็กที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเชื่อมอะลูมิเนียมและทองแดง ซึ่งรวมถึงเครื่องเชื่อมแบบอัด และเครื่องเชื่อมเลเซอร์

* จากการศึกษาวิจัยของบริษัท ณ เดือนพฤศจิกายน 2557

การใช้งาน

1) ชุดสายไฟ (ลวดอะลูมิเนียมกับขั้วทองแดง ลวดทองแดงกับขั้วทองแดง)

2) บัสบาร์ (อะลูมิเนียมกับทองแดง)

3) ลวดทองแดงตีเกลียวอัดแน่น

4) แบตเตอรี่ทุติยภูมิ ตัวเก็บประจุ และแนวเชื่อมซ้อนทับกันหลายชั้นด้วยฟอยล์ทองแดง 60 ชิ้น

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง:

http://www.avio.co.jp/english/

แหล่งข่าว: บริษัท นิปปอน เอวิโอนิคส์ จำกัด

AsiaNet 58948

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ