วิศวลาดกระบังสร้าง SRR 24 -400 รถลากจูงไฟฟ้าพลังงานสะอาด ลดต้นทุนอุตสาหกรรมไทย ประหยัดกว่านำเข้า ถึง 4 เท่า

พุธ ๑๗ ธันวาคม ๒๐๑๔ ๑๑:๕๕
หนึ่งในงานวิจัยนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม รถลากจูงไฟฟ้าอุตสาหกรรม SRR 24 -400 เพื่อโลกสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล ผลงานของ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระเชษฐ์ ขันเงิน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ( สจล. ) โดย ผศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดี ชื่นชมผลงานวิจัยนี้ได้นำมาผลิตและใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมชั้นนำในประเทศไทยหลายแห่ง ช่วยลดการนำเข้ารถลากจูงซึ่งมีราคาแพงมาก ส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศและยังเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ใส่ใจต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ได้ดำเนินการผลิตและส่งมอบให้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดไปแล้วจำนวน 16 คัน

ผศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ( สจล. ) เปิดเผยว่า “ รถลากจูงไฟฟ้าอุตสาหกรรม SRR 24 -400 หรือ Electric Tow Tractor For Industry เป็นผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยและนานาชาติชิ้นเด่นของวิศวลาดกระบัง นับเป็นรถลากจูงไฟฟ้าพลังงานสะอาดชนิดแบตเตอรี่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไร้มลพิษ และประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล สามารถบรรทุกได้ถึง 1,000 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ได้ดำเนินการผลิตและส่งมอบ SRR 24 -400 ให้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดไปแล้ว 16 คัน สำหรับการใช้งานในศูนย์กระจายสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิคซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านโพ จังหวัดฉะเชิงเทรา รถลากจูงไฟฟ้าอุตสาหกรรม SRR 24 -400 นี้เป็นรถที่เหมาะกับการใช้งานในศูนย์กระจายสินค้าชิ้นส่วนของบริษัทยานยนต์ , รถลากขนของในสนามบิน ,ลานจอดรถ, รถลากในโรงงานทั่วไปและรถลากอุตสาหกรรมสะอาด (Clean Energy ) เช่น อุตสาหกรรมอาหารที่ต้องการการขนส่งไร้มลพิษ เป็นต้น ที่ผ่านมาผู้ประกอบการธุรกิจบางรายอาจจะยังไม่เห็นถึงความสำคัญของการเลือกใช้อุปกรณ์การขนถ่ายวัสดุที่เหมาะสม และมักจะคิดว่าเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต โดยไม่ได้เพิ่มคุณค่าใดๆ (Added value) ให้กับแบรนด์ผลิตภัณฑ์เลย ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ในการขนถ่ายที่ถูกต้องและเป็นเทคโนโลยีสะอาดจะช่วยให้การปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมสะดวกรวดเร็ว มีสุขอนามัย ปลอดภัย ประหยัดต้นทุนการผลิตได้ และแน่นอนว่าช่วยเสริมภาพลักษณ์อันดีให้แบรนด์และองค์กรที่เอาใจใส่ต่อสุขภาพของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. พบว่าในภาคอุตสาหกรรมรถลากจูงส่วนใหญ่เป็นรถนำเข้าจากต่างประเทศส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีราคาสูง เราจึงได้ออกแบบและผลิต รถลากจูงไฟฟ้าอุตสาหกรรม SRR 24 -400 เราสามารถผลิตในราคาประหยัดกว่านำเข้าถึง 4 เท่า หรือประมาณ 100,000 บาทเศษ เท่านั้น เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ในจังหวะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ”

รศ.ดร.วีระเชษฐ์ ขันเงิน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า “รถลากจูงไฟฟ้าอุตสาหกรรม SRR 24-400 เป็นการออกแบบที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการลดต้นทุนของอุปกรณ์ในภาคอุตสาหกรรม และต้องการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมสะอาด ( Green Industry ) ซึ่งเป็นการออกแบบของนักศึกษาวิศวลาดกระบังโดยรถลากเป็นรถที่สามารถบรรทุกได้ตั้งแต่ 300 – 1,000 กิโลกรัม วิ่งได้เร็ว 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 400 วัตต์ ใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนฟอสเฟต ( LiFe2Po4) 24 โวลต์ ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ที่น้ำหนักเบา แต่มีความจุพลังงานสูง มีความปลอดภัย มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆที่มีความจุเท่ากันไม่มีผลจากการจดจำ (Memory Effect ) ไม่เป็นพิษ (Nontoxic) อีกทั้งยังไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และมีอายุการใช้งานที่มากกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบเดิมมากคือ มีอายุสูงถึง 2,000 รอบการประจุไฟ ( Cycle ) หรือประมาณ 5 ปี น้ำหนักก็เบากว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรด 3 เท่า ระยะเวลาในการอัดประจุก็จะใช้เวลาน้อยกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ มีความปลอดภัยของแบตเตอรี่ในระหว่างการประจุไฟสูง และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อยกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ

ในการชาร์จไฟจะใช้เวลาเพียง 5 ชั่วโมง (ที่ 80%การใช้งาน ) สามารถชาร์จไฟได้ทั้งในตัวรถและนอกตัวรถ ในการขับเคลื่อนรถสามารถเดินหน้า ถอยหลัง วงเลี้ยวแคบ ขับขี่คล่องตัว และไต่ระดับขึ้น/ลง 18 องศา โครงสร้างตัวถังทำด้วยเหล็กและหุ้มด้วยไฟเบอร์กลาส เพราะต้องการให้รถมีน้ำหนักมาก เพื่อจะได้สามารถลากของที่มีน้ำหนักมากๆอย่างปลอดภัย ล้อรถจะมีขนาดเล็กและเตี้ย เพื่อให้มีจุดโน้มถ่วงต่ำซึ่งทำให้การขับขี่ปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน ระบบต่างๆผ่านมาตรฐานระบบความปลอดภัยมาตรฐานสากล เช่น ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง สัญญาณไฟเบรก ไซเรน แตร สวิทซ์เท้าตำแหน่งยืนของคนขับ ระบบเปิดปิดฝาแบตเตอรี่โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือในการเปิดปิด ในขณะที่ใช้งานจะไม่มีเสียงรบกวน ไร้มลพิษ เหมาะใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคาร ค่าไฟฟ้าในการใช้งานเต็มเวลา 5 ชั่วโมงเพียงประมาณ 8 บาท นอกจากนี้เรายังให้บริการซ่อมบำรุงได้ครบทุกวงจร ทุกชิ้น เนื่องจากเราเป็นผู้ออกแบบเองทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว”

การแข่งขันของไทยในเวทีโลก ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีและการทำวิจัยเพื่อนำเอานวัตกรรมใหม่ไปเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ในระยะยาว และต่อไปประเทศไทยจะเป็นฐานในการขยายตลาดสู่อาเซียน และรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมหลังจากเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ