“ไทย” เตรียมพร้อมประกาศศักยภาพที่สุดแห่งฮาลาล ใน “THAILAND HALAL ASSEMBLY” การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้านานาชาติ

พุธ ๑๗ ธันวาคม ๒๐๑๔ ๑๒:๐๑
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการและการแสดงสินค้านานาชาติ “Thailand Halal Assembly” เพื่อแสดงศักยภาพของกิจการฮาลาลประเทศไทย ให้ประชาคมโลกได้รับรู้ถึงคุณลักษณะที่โดดเด่นในระบบและกระบวนการดำเนินงาน ภายใต้หลักการศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ อันเป็นผลให้ผลิตภัณฑ์ฮาลาลไทยเป็นที่เชื่อถือในตลาดโลก พร้อมเป็นการเปิดตัวภาพลักษณ์ THAILAND Diamond Halal มุ่งเน้นความแข็งแรงในคุณภาพมาตรฐานและความน่าเชื่อถือประดุจดังเพชรเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ส่งออกและผู้บริโภค ประกาศศักยภาพที่สุดแห่งฮาลาล โดยจัดแถลงข่าวขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม 2557 ณ ห้องโลตัส 5-7 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานการจัดงาน “Thailand Halal Assembly” กล่าวว่า ตามที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการและการแสดงสินค้านานาชาติ “Thailand Halal Assembly” แสดงศักยภาพของกิจการฮาลาลประเทศไทย เพื่อให้ประชาคมโลกได้รับรู้ถึงคุณลักษณะที่โดดเด่นในระบบและกระบวนการดำเนินงาน ภายใต้หลักการศาสนารับรองและวิทยาศาสตร์รองรับ อันเป็นผลให้ผลิตภัณฑ์ฮาลาลไทยเป็นที่เชื่อถือในตลาดโลก เนื่องจากปัจจุบันประชากรมุสลิมโลกคิดเป็น 25 % ของประชากรโลก หรือกว่า 1,800 ล้านคน ซึ่งมีการบริโภคอาหารฮาลาล เป็นมูลค่าปีละประมาณ 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาเซียนที่มีประชากร600 ล้านคน เป็นชาวมุสลิมถึง 46% โดยคาดว่าภายในปี 2030 จะมีจำนวนประชากรมุสลิมทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 2.2พันล้านคน คิดเป็น 26.4% ของจำนวนประชากรทั่วโลก ซึ่งจากจำนวนประชากรมุสลิมจำนวนมหาศาลนี้ทำให้ตลาดสินค้าฮาลาล ทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภค ตั้งแต่ เครื่องสำอาง เครื่องดื่ม ซอสปรุงรส น้ำผลไม้ เสื้อผ้า รวมถึงภาคบริการ เช่น ธนาคาร โรงแรม โรงพยาบาล มีความต้องการเพิ่มขึ้น ในขณะที่อาหารฮาลาลซึ่งเป็นอาหารที่ชาวมุสลิมสามารถบริโภคได้อย่างถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดย รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า ในแต่ละปีประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทุกประเทศที่ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ไทยส่งเข้าสู่กลุ่มประเทศมุสลิมกว่า 57 ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม ส่งผลให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก และมุ่งหวังที่จะก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้นำในการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลอันดับ 1 ของโลก ประเทศไทยจึงได้เร่งพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการ พร้อมทั้งสร้างสัญญะ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ชาวมุสลิมได้จากทั่วโลก ภายใต้ แบรนด์ “Thailand Diamond Halal” หรือ “ฮาลาลระดับเพชรจากประเทศไทย” ทั้งนี้เนื่องจากชาวต่างชาติต่างเรียกตราสัญลักษณ์ฮาลาลประเทศไทยกันมานานว่า Diamond Halal อันเนื่องจากตราฮาลาลของไทยมีรูปลักษณ์เป็นเพชร (Diamond)

การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้านานาชาติ “Thailand Halal Assembly” จัดขึ้นระหว่างวันที่28-30 ธันวาคม 2557 ณ บางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ถือเป็นงานด้านกิจการฮาลาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นการเปิดตัวสัญลักษณ์ “Thailand Diamond Halal” อย่างเป็นทางการอีกด้วย โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดงานในวันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม 2557 เวลา 9 โมงเช้า

โดยภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมมากมาย อาทิ งานจัดแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลทั้งอุปโภคและบริโภค ทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 200 บูท ภายใต้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย, พิธีลงนาม MRA ระหว่าง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย และองค์กรรับรองฮาลาลนานาชาติกว่า 47 ประเทศ, การประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาลไทยไปสู่ตลาดโลก ภายใต้หัวข้อ “Importance of Halal Branding for Export Enhancement”, การประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยมาตรฐานฮาลาล จากหน่วยงานตรวจรับรองฮาลาลทั่วโลกจำนวนกว่า 75 หน่วยงาน, การประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมและธุรกิจฮาลาล ครั้งที่ 7 (HASIB), การเสวนาในหัวข้อ “หลักสูตรอิสลามศึกษา เพื่อบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล” รวมถึงการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากมุสลิมทั่วประเทศ อาทิ การแสดงขับร้อง อัน-นาชีด, การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ระบำ 4 ภาค, และการแสดงไวโอลิน โดยคณะศิลปินแห่งชาติ พร้อมไฮไลท์พิเศษที่จัดแสดงครั้งแรกในเมืองไทย กับการแสดงนิทรรศการความมหัศจรรย์ของ “วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในโลกอิสลาม”

ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ หน่วยงานทั้ง 3 ฝ่าย คือ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย ได้ตั้งเป้าหมายว่าตลอด 3วันจะมีผู้ร่วมงานกว่า 5,000 คน อีกทั่งยังมุ่งหวังว่าการจัดงานในครั้งนี้จะสามารถเผยแพร่องค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเรื่องฮาลาลประเทศไทยต่อประชาคมโลกให้รับทราบและสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพและมาตรฐานสินค้าฮาลาลของประเทศไทย อีกทั้งเพื่อประชาสัมพันธ์พัฒนาการทางเทคโนโลยี งานวิจัย และศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของประเทศไทยให้ผู้สนใจที่เข้าร่วมงานได้รับทราบ ซึ่งคาดว่าจะสามารถขยายการเติบโตการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลในปี 2558 ได้ถึง 15-20 % เลยทีเดียว รศ.ดร.วินัย กล่าวปิดท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ