คนไทยบริโภคอาหารเสี่ยงตาย หลังพบสารเคมีและยาฆ่าแมลงในเลือดสูงถึง 36% ด้าน สสส. เร่งจับมือพันธมิตรสร้างเครือข่ายการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน ปลอดภัย พร้อมเปิดตัวโครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือกฯ

อังคาร ๒๓ ธันวาคม ๒๐๑๔ ๑๕:๒๘
วิกฤตเคมีและยาฆ่าแมลงในอาหารทำคนไทยเสี่ยงตายเพิ่ม หลังสำรวจพบเกษตรกรไทยมีสารเคมีตกค้างในเลือดสูงถึง 30% ด้านผู้บริโภคเสี่ยงตายหนักพบสารเคมีตกค้างในเลือดถึง 36% ด้าน สสส. ห่วงสุขภาพคนไทย ล่าสุดจับมือ สวนเงินมีมา และ พันธมิตร สร้างเครือข่ายการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืนและปลอดภัย พร้อมเปิดตัวโครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือกฯ เพื่อเชื่อมโยงผลผลิตในวิถีการผลิตที่ใส่ใจ ทั้งผลิตผลจากเกษตรอินทรีย์ และ ผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยปราศจากสารเคมีและไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ผลิต ผู้บริโภค และ สิ่งแวดล้อม

นางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารปลอดภัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงความไม่ปลอดภัยและความเสี่ยงในการบริโภคอาหารของคนไทยปัจจุบัน พบว่าอัตราเสี่ยงที่จะประสบปัญหาด้านสุขภาพมีเพิ่มมากขึ้น จากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีและยาฆ่าแมลง โดยผลการสำรวจของมูลนิธิชีววิถี (Biothai) พบว่า เกษตรกรไทยมีสารเคมีตกค้างในเลือดสูงถึง 30% แต่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคือกลุ่มผู้บริโภคเนื่องจากมีปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดสูงถึง 36%

ด้วยเหตุนี้ สสส. ซึ่งมีนโยบายด้านการพัฒนาระบบและกลไกลสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จึงร่วมกับ บริษัท สวนเงินมีมา จำกัด และ และเครือข่าย จัดทำโครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือก ด้วยกลไกการเชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และ ผู้บริโภค ขึ้น เพื่อให้เกิดสังคมการบริโภคอย่างยั่งยืนและปลอดภัย ซึ่งโครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือกฯ จะเชื่อมโยงผลผลิตในวิถีการผลิตที่ใส่ใจจากทั้งเกษตรในแนวทางของเกษตรอินทรีย์ และ การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยที่กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารนั้น จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ผลิต ผู้บริโภค และระบบนิเวศน์

ด้าน นางวัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวนเงินมีมา จำกัด ในฐานะผู้ดำเนินงานโครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือกฯ กล่าวถึงกลไกการเชื่อมโยงผู้ผลิตหรือเกษตรกรกับผู้บริโภคว่า โครงการฯ จะเป็นคนกลางในการเชื่อมโยงเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารไปสู่ผู้ประกอบการหรือผู้จัดจำหน่าย อาทิ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจสีเขียว ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผู้ให้บริการจัดเลี้ยงสีเขียว รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคสีเขียวอีกด้วย โดยในการทำงานนั้นจะมีการประสานงานกับนักวิชาการในการให้ความรู้เรื่องการผลิตและการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งสร้างมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในเครือข่ายให้สามารถตรวจสอบในด้านของความปลอดภัย สารเคมีตกค้าง และ สร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้บริโภค โดยขณะนี้มีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมกับโครงการฯ แล้วประมาณ 10 กลุ่ม

ส่วนโดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการประสบผลสำเร็จนั้นเกิดจาก “การสร้างประโยชน์ร่วม ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค” ซึ่งผู้ผลิตจะได้ประโยชน์ในด้านการขยายตลาดไปสู้ผู้บริโภคโดยตรง ส่วนผู้บริโภคเองก็จะมีช่องทางในการบริโภคผลผลิตอินทรีย์โดยไม่ต้องผ่านระบบคนกลาง ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ราคาไม่แพง และเป็นการเกื้อหนุนวิถีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งความผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือกฯ นั้น จะส่งผลให้สังคมเห็นถึงพลังของผู้บริโภคมีอยู่จริง โดยเราสามารถเลือกอาหารและผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อชีวิตตนเองได้ ทั้งยังช่วยสร้างความเกื้อกูลกันในสังคมของผู้ผลิตและผู้บริโภคให้เกิดเป็นระบบในการบริโภคอาหารที่ดีและเป็นธรรมได้อย่างแท้จริง

สำหรับในส่วนของการพัฒนาเกษตรกรนั้น นายสุชาญ ศีลอำนวยเลขาธิการ มูลนิธิเอ็มโอเอไทย ในฐานะองค์กรผู้ร่วมสนับสนุนโครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือกฯ กล่าว่า แนวทางในการช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรที่เข้าร่วมโครงการฯ นั้น มี 4 แนวทาง คือ 1. ให้ความรู้จัดอบรมปรับแนวคิดด้านเกษตรธรรมชาติอย่างถูกต้องแก่เกษตรกร โดยนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการพึ่งพาภายนอก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูก 2. ติดตามผลร่วมกับเจ้าหน้าที่โครงการฯ เพื่อร่วมเรียนรู้กับเกษตรกรในแปลง พร้อมให้คำปรึกษาด้านต่างๆ โดยเฉพาะเทคนิคการเพาะปลูกที่คล้อยตามและเคารพธรรมชาติ พร้อมสอดแทรกปรัชญาแนวคิดการพัฒนาจิตใจของเกษตรกรให้คำนึงถึงสุขภาวะของผู้บริโภคเป็นอันดับแรก 3. จัดการพบปะกับเกษตรกรกลุ่มอื่น และ กลุ่มผู้บริโภคเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ รับฟังความคิด เพื่อนำมาพัฒนาผลผลิตของตนเอง 4. สร้างเกษตรกรรายใหม่เพราะการสร้างตลาดทางเลือกจำเป็นต้องมีกลุ่มเกษตรกรจำนวนมากและกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้ผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการและผลผลิตไม่ขาดตลาด 5. วางแผนการปลูกร่วมกันกับเกษตรกรเพื่อกำหนดชนิด ปริมาณ และราคา ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างตลาดทางเลือกที่เกื้อกูลเกษตรกร โดยมูลนิธิฯ และโครงการฯ มีตลาดรองรับผลผลิตของเกษตรกรไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการร่วมมือกันของทุกฝ่ายครั้งนี้จะทำให้โครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือกฯ ประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ