โคคา-โคลาจับมือ “อะเดย์” จัดค่ายจักรยาน ขับเคลื่อนวัฒนธรรมจักรยาน ภายในรั้วมหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการ “Active campus Network”

จันทร์ ๐๕ มกราคม ๒๐๑๕ ๑๒:๓๕
แชร์ประสบการณ์ความสำเร็จโครงการจักรยานของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย เดินหน้าส่งเสริมวัฒนธรรมจักรยานอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการ “Active Campus Network” ร่วมมือกับนิตยสาร a day ผนึกกำลังเครือข่ายมหาวิทยาลัย12 แห่งทั่วประเทศ สร้างวัฒนธรรมจักรยานอย่างยั่งยืนโดยเริ่มต้นภายในมหาวิทยาลัย ก่อนจะขยายวงกว้างสู่สังคมไทยต่อไปในอนาคต ล่าสุด...จัดค่ายจักรยานให้แก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในเครือข่าย ระหว่างวันที่ 20-21 ธันวาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เพื่อร่วมฟังประสบการณ์การดำเนินโครงการจักรยานและเรียนรู้ทักษะพื้นฐานในการปั่นจักรยานที่ถูกต้อง พร้อมปฏิบัติจริงในทริปเส้นทางชุมชนและธรรมชาติโดยรอบมหาวิทยาลัย

นายนันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสาร บริษัท โคคา-โคลา(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การจัดค่ายจักรยานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Active Campus Network” (แอ็คทีฟ แคมปัส เน็ตเวิร์ค) ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมจักรยานระหว่าง 12 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนรอบข้าง ตามพันธกิจของ โคคา-โคลาที่สนับสนุนให้เยาวชนและคนไทยใช้ชีวิตแอ็คทีฟและบริโภคอย่างสมดุลเพื่อสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน โดยค่ายจักรยานครั้งนี้มีจุดประสงค์หลัก เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้วิธีการสร้างวัฒนธรรมและสังคมจักรยานที่ยั่งยืนในรั้วมหาวิทยาลัย และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินโครงการภายในมหาวิทยาลัยของตนเองต่อไป”

ภายในค่ายจักรยานดังกล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์แชล่ม บุญลุ่ม ประธานสาขาวิชาพละศึกษาและนันทนาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ผู้นำค่ายจักรยานในครั้งนี้ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงเห็นความสำคัญของการปั่นจักรยานที่สามารถช่วยให้สังคมและคุณภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ในทุกมิติ เราจึงส่งเสริมให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ใกล้เคียงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและหันมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมากขึ้นผ่านโครงการและกิจกรรมจักรยานต่างๆ ที่เราจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมีกำลังคน นโยบาย และแรงสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการดำเนินโครงการจักรยานให้ประสบความสำเร็จได้ และเราหวังว่าเยาวชนจากแต่ละมหาวิทยาลัยเครือข่ายได้รับประสบการณ์อันมีคุณค่าจากค่ายจักรยานในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ของจักรยาน ทักษะพื้นฐานการปั่นจักรยาน วิธีการดำเนินโครงการจักรยานเชิงลึก ปัจจัยความสำเร็จของโครงการจักรยานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ไปจนถึงการจัดทริปปั่นจักรยานในเส้นทางจริง ทั้งหมดนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายสังคมจักรยานที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต”

ซาการียา หะยีอาแว ประธานชมรมจักรยานและนักศึกษาปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง กล่าวว่า “เส้นทางการปั่นจักรยานยังเปรียบได้กับการใช้ชีวิตที่เราต้องก้าวเดินไปให้ถึงจุดหมายด้วยความมานะอดทน ในฐานะประธานชมรมจักรยานของมหาวิทยาลัยเจ้าภาพที่จัดเวิร์คช็อปครั้งนี้ ผมรู้สึกว่า ค่ายจักรยานนี้เป็นโอกาสอันดีที่เยาวชนจากชมรมจักรยานในมหาวิทยาลัยเครือข่ายมาร่วมแชร์ความรู้ด้านจักรยาน ประสบการณ์การทำโครงการจักรยานของชมรม และข้อดีข้อเสียของกิจกรรมที่เคยจัดกันไป เพื่อนำมาปรับใช้กับมหาวิทยาลัยของตนเองต่อไปในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น เครือข่าย Active Campus Network ยังได้กลายเป็นจุดนัดพบของเยาวชนนักปั่นที่มีอุดมการณ์เดียวกันในขับเคลื่อนให้จักรยานเป็นมากกว่าพาหนะทางเลือกในสังคม”

ด้าน พรชนก เปรมวิเชียร ประธานชมรมจักรยานและนักศึกษาปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า “ค่ายจักรยานของ Active Campus Network นับเป็นค่ายติวเข้มจักรยานอย่างครบเครื่องแบบ 360º ค่ายแรกที่แป้งและหลายๆ คนได้มาเข้าร่วม แป้งได้เรียนรู้ทั้งทักษะการปั่นและวิธีการดำเนินโครงการจักรยานอย่างยั่งยืนจากมืออาชีพอย่างอาจารย์แชล่ม และยังเป็นโอกาสที่ได้มาพบปะเพื่อนใหม่ในโครงการอีกด้วย แป้งหวังที่จะนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดโครงการที่มจธ. เพื่อดึงดูดให้นักศึกษาหันมาปั่นจักรยานกันมากขึ้นและสร้างสังคมจักรยานที่แข็งแรงไปพร้อมๆ กันในอนาคต นอกจากนี้ ส่วนตัวยังหวังว่า ทุกๆ คนในสังคมไทยจะหันมาปั่นจักรยานกัน ไม่ว่าจะเพื่อการสัญจรหรือเพื่อสุขภาพที่ดี ไม่ใช่ปั่นจักรยานเป็นเทรนด์เป็นแฟชั่น เพราะอาจารย์แชล่มได้แสดงให้เยาวชนในค่ายทุกคนได้เห็นแล้วว่า จักรยานที่ดีไม่ต้องแพง ขอเพียงสองเท้าปั่นไปพร้อมกับใจที่มุ่งมั่น เราก็ปั่นไปได้ทุกหนทุกแห่งแล้ว”

สำหรับโครงการ Active Campus Network (แอ็คทีฟ แคมปัส เน็ตเวิร์ค) ประกอบไปด้วยเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กิจกรรมภายใต้โครงการ Active Campus Network ที่ผ่านมาประกอบไปด้วยเวิร์คช็อปมอบองค์ความรู้เรื่องจักรยาน เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและกูรูจักรยานจากหลากหลายสาขาร่วมติวเข้มอย่างครบเครื่อง อาทิ ความรู้เรื่องกฎระเบียบและความปลอดภัยในการใช้จักรยานที่ถูกต้อง การปั่นจักรยานกับสุขภาพ และการรณรงค์เรื่องจักรยาน เป็นต้น โดยมีเยาวชนและอาจารย์ทั้ง 12 สถาบันเข้าร่วมอบรม เพื่อเตรียมพร้อมนำความรู้ที่ได้จากการเวิร์คช็อปไปคิดต่อยอดเป็นโปรเจกต์เพื่อขยายเครือข่ายการใช้จักรยานมหาวิทยาลัยของตนเองให้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ