กระทรวงเกษตรฯ เร่งพัฒนาโครงการปรับโครงสร้างการผลิตข้าว เพื่อให้การทำงานอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

พฤหัส ๐๘ มกราคม ๒๐๑๕ ๑๑:๐๙
นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือระบบส่งเสริมการเกษตรและโครงการปรับโครงสร้างการผลิตข้าว ว่า โครงการปรับโครงสร้างการผลิตข้าวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารอุปทานให้สอดคล้องกับอุปสงค์ โดยลดปริมาณข้าวคุณภาพต่ำ เพิ่มข้าวคุณภาพดี และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มรายได้ของเกษตรกร เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตข้าวที่ผ่านมาเกินความต้องการของตลาดอยู่ประมาณ 5 ล้านตันข้าวเปลือกต่อปี หรือ 3.3 ล้านตันข้าวสาร นอกจากนี้ยังมีการปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมจำนวน 11.2 ล้านไร่ ทำให้ขาดประสิทธิภาพด้านการผลิต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้นำเสนอโครงการนี้ต่อคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าว (นบข.) ไปแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้กระทรวงเกษตรฯ พิจารณาปรับปรุงโครงการปรับโครงสร้างการผลิตข้าว โดยให้มีการหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทย ในประเด็นความต้องการของตลาดและการดำเนินงานในพื้นที่ เพื่อพัฒนาโครงการฯ ให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ภายหลังการหารือร่วมกันแล้ว กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการปรับปรุงโครงการฯ ดังกล่าว สรุปได้ดังนี้ การปรับโครงสร้างการผลิตข้าว ได้มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

1.พื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว โดยการจัดทำโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิต ได้แก่ ข้าวขาว ข้าวหอมปทุม ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว ทั้งนี้ จะดำเนินการระบบการส่งเสริมแบบแปลงใหญ่ ที่มีผู้จัดการโครงการประจำแต่ละแปลง เนื้อที่ 5,000 ไร่/แปลง และให้มีการเชื่อมโยงด้านการตลาดกับสหกรณ์การเกษตร หรือโรงสี และผู้ประกอบการในพื้นที่ โครงการลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง โดยจะเน้นพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลองก่อน และโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวสำหรับตลาดเฉพาะ เช่น ข้าวอินทรีย์ ข้าวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และ

2.พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าว โดยการจัดทำโครงการปรับเป็นเกษตรกรรมทางเลือก มีการสนับสนุนเงินทุนเพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยการผลิต รายละไม่เกิน 5 ไร่ โดยปีแรก สนับสนุนไร่ละ 5,000 บาท/ไร่ ปีที่ 2 ไร่ละ 4,000 บาท/ไร่

นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนสินเชื่อสำรอง จำนวนไม่เกิน 30,000 บาท/ราย เพื่อบริหารจัดการระบบน้ำ และโครงการปรับเปลี่ยนเป็นอ้อย ในพื้นที่ที่เหมาะสมกับอ้อยและอยู่ห่างจากโรงงานไม่เกิน 50 กิโลเมตร โดยสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรน ไม่เกิน 200,000 บาท/ราย เพื่อบริหารจัดการระบบน้ำ ซึ่งการจัดทำโครงการปรับโครงสร้างการผลิตข้าวดังกล่าว จะมีการนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าว (นบข.) พิจารณาอีกครั้งก่อนนำเสนอ ครม. เพื่อให้ทันในรอบปีการเพาะปลูก ปี 2558/59 โดยในเบื้องต้นได้ของบประมาณไว้ 2 ปี จำนวนประมาณ 14,000 ล้านบาท แบ่งเป็นในปี 2558 จำนวน 7,315 ล้านบาท และปี 2559 จำนวน 6,838 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสนับสนุนปัจจัยการผลิต การปรับโครงสร้างพื้นฐานและระบบน้ำในไร่นา การชดเชยดอกเบี้ย การจัดฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังสนับสนุนเงินกู้จำนวน 19,126 บาท เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิต จัดการระบบน้ำ และการปรับพื้นที่การเกษตรเพิ่มเติม

“สำหรับโครงการปรับโครงสร้างการผลิตข้าวนั้น ได้ให้ความสำคัญไปที่เกษตรกรรมทางเลือก เนื่องจากจะเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอย่างถาวร และเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร โดยมีการปรับปรุงพื้นที่และการขุดบ่อน้ำ ซึ่งนอกจากจะเน้นเรื่องการบริโภคในครัวเรือนแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกด้วย” นายอภิชาติ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ