พุทธ คริสต์ อิสลาม จับมือรณรงค์ “ศาสนสถานปลอดบุหรี่ทั่วประเทศ”

พุธ ๑๔ มกราคม ๒๐๑๕ ๑๒:๓๘
3 ผู้นำศาสนา พุทธ คริสต์ อิสลาม ประกาศจับมือสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมรณรงค์ “ศาสนสถานปลอดบุหรี่ทั่วประเทศ” ชี้กฎหมายระบุชัดฝ่าฝืนสูบในวัด โบสถ์ และมัสยิด ถูกจับปรับทันที วอนประชาชนทั่วประเทศอย่าสร้างบาปทำบุญด้วยบุหรี่ ประเดิมนำร่อง 3 ศาสนสถานชื่อดัง “วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร” วัดเจ้าของรางวัลยูเนสโก้ด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม โบสถ์ซางตาครู้ส และมัสยิดบางหลวง (กุฎีขาว) ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวว่า สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ (สคสบ.) พบว่าอัตราการสูบบุหรี่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากมาตรการในการควบคุมยาสูบยังอยู่ในวงจำกัด เมื่อเทียบกับมาตรการเชิงรุกและรุนแรงของอุตสาหกรรมยาสูบ ดังนั้น สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติฯ จึงมีมาตรการเชิงรุกโดยจับมือกับพันธมิตรเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยให้เหลือเพียงร้อยละ 15 ในปี 2568 ตามเป้าหมายการลดปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคไม่ติดต่อขององค์การสหประชาชาติที่ประเทศสมาชิกทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยได้มีมติร่วมกัน และปี 2558 ได้มีนโยบายเชิงรุกจับมือกับผู้นำ 3 ศาสนา พุทธ คริสต์ และอิสลาม ให้สังคมไทยปลอดบุหรี่

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ เลขาธิการ สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ เปิดเผยว่า สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติฯ ได้ร่วมกับ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และผู้นำศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม จัดโครงการ “ศาสนสถานปลอดบุหรี่ทั่วประเทศ” นำร่องด้วยศาสนสถานชื่อดัง 3 แห่งคือ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เจ้าของรางวัลยูเนสโก้ ด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ปี 2556 โบสถ์ซางตาครู้ส และมัสยิดบางหลวง (กุฎีขาว)

“เป้าหมายการสร้างศาสนสถานปลอดบุหรี่ทั่วประเทศก็เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศ และศาสนสถานทุกแห่งรับรู้ว่า บุหรี่ก่อให้เกิดพิษภัยทั้งต่อตัวผู้สูบและผู้อื่น จึงมีกฎหมายเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ และมีบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 19 พ.ศ. 2553 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2553 มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2553 โดยประกาศฉบับนี้เป็นการกำหนดให้ศาสนสถานเป็นหนึ่งในสถานที่ห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด ผู้ฝ่าฝืนจะถูกจับหรือมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาททันที” ศ.นพ.รณชัย กล่าวและให้รายละเอียดว่า

สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติฯ มูลนิธิฯ และวัดประยุรฯ จะเป็นศูนย์รวมของเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นหัวหอกชี้นำให้เกิดความรู้ให้ศาสนสถานทุกแห่งทั่วประเทศเป็นเขตปลอดบุหรี่ ทั้งนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขที่จะให้กลุ่มอาสาสมัคร (อสม.) นับแสนคนทั่วประเทศ เป็นฝ่ายสนับสนุนและออกเยี่ยมเยียนวัด โบสถ์ และมัสยิด ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้ศาสนสถานทั่วประเทศเป็นเขตปลอดบุหรี่อย่างแท้จริง

ศ.ดร.พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กล่าวว่า ทางวัดพร้อมให้ความร่วมมือกับสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติฯ และมูลนิธิฯ รณรงค์ให้ศาสนสถานทั่วประเทศปลอดบุหรี่ โดยในส่วนของวัดประยุรฯ นอกจากจะให้ความรู้แล้ว ยังจะร่วมเผยแพร่โครงการนี้แก่วัดอื่นอย่างจริงจังอีกด้วย ทั้งนี้เพราะศาสนสถานเป็นสาธารณ

สถานที่ประชาชนจำนวนมากมาประกอบกิจกรรมทางศาสนา ซึ่งเหมาะกับการเป็นสถานที่ส่งเสริมสุขภาพกายใจให้ปลอดจากสิ่งเสพติดทั้งหลาย และพระสงฆ์ก็เป็นผู้นำทางความคิดและเป็นที่นับถือแก่ศาสนิกชน จึงควรปฏิตนเป็นตัวอย่างที่ดี นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือจากพุทธศาสนิกชนทั้งหลายไม่ควรถวายปัจจัยบุหรี่แก่พระภิกษุสงฆ์อีกด้วย

บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดที่มีผู้เสพติดมากที่สุดของโลก โดยทั่วโลกมีผู้เสพติดบุหรี่ 1,300 ล้านคน ในแต่ละปีมีชาวโลกเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ 5.4 ล้านคน วันละ 14,794 คน ชั่วโมงละ 616 คน นาทีละ 10 คน ในแต่ละปีคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ 50,710 คน วันละ 139 คน ชั่วโมงละ 5.7 คน โดยอายุเฉลี่ยของคนไทยที่เริ่มเสพติดบุหรี่คือ 18 ปี และการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดโรคมะเร็ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ