สปช. อดีตผู้ว่า กฟภ. แนะใช้ระบบสัมปทานมีเงื่อนไขสัญญาเพื่อก้าวสู่การใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียมในอนาคต

อังคาร ๒๐ มกราคม ๒๐๑๕ ๑๑:๔๙
สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 58 ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ครั้งที่ 4/2557 ได้พิจารณาศึกษาเรื่องการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมากเป็นผู้เสนอ โดยได้ดำเนินการประชุม และอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยนายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน แถลงผลการศึกษาว่า ผลการพิจารณาสรุปเป็น 3 แนวทาง คือ 1.ให้กระทรวงพลังงาน ดำเนินการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ด้วยระบบสัมปทาน ไทยแลนด์ทรี พลัส ตามแผนงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน 2.ยกเลิกการใช้ระบบสัมปทาน ในการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 และนำระบบแบ่งปันผลผลิต และ 3.ให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ด้วยระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรี พลัส และให้กระทรวงพลังงาน ดำเนินการศึกษาและเตรียมการให้มีระบบแบ่งปันผลผลิตที่ เหมาะสมกับศักยภาพของการผลิตปิโตรเลียมให้พร้อมไว้เพื่อเป็นทางเลือก และให้รัฐบาลตัดสินใจในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในครั้งต่อๆ ไป ซึ่งได้คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนเป็นหลัก ซึ่งคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานมีมติเสนอทางเลือกที่ 3 ต่อที่ประชุม สปช.เพื่อพิจารณาเสนอ ครม.ต่อไป แต่ที่ประชุมได้มีการลงมติ โดยสมาชิก สปช. ส่วนใหญ่ มีมติไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. เสียงข้างมากที่จะให้มีการเดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 (ตามทางเลือกที่ 3) ด้วยคะแนน 130 ต่อ 79 คะแนน งดออกเสียง 21 เสียง จากจำนวนผู้เข้าประชุม 230 คน

จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติเมื่อวันที่ 16 ม.ค. ที่ผ่านมาว่าในเรื่องของทางปฏิบัติเป็นเรื่องของ ครม. ของกระทรวงพลังงานที่จะต้องรับผิดชอบในเรื่องของการดำเนินการต่อไปให้ถูกต้อง เพียงพอและไม่ให้ประสบปัญหาในเรื่องของวิกฤตด้านพลังงานในอนาคต สอดคล้องกับการออกมาระบุแก่สื่อมวลชนก่อนหน้านั้นว่าการเตรียมพลังงานสำรองถือเป็นเรื่องดี เพราะหากไม่สามารถใช้พลังงาน ทั้งไฟฟ้าและก๊าซ ที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านได้ ก็ยังมีพลังงานในประเทศสำรองไว้ใช้ การได้มาของพลังงานสำรองจากการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ก็จะสอดคล้องกับสัมปทานที่รัฐบาลเคยดำเนินการมาในอดีต ที่ขณะนี้ก็ทยอยที่จะหมดสัมปทานแล้วนั้น

ทั้งนี้จากการอภิปรายและให้ความเห็นเพิ่มเติมของนายวิบูลย์ คูหิรัญ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน และอดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคระบุว่ามีความกังวลใจว่าก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยจะมีเพียงพอถึง 10 ปีหรือไม่ เพราะตอนนี้ ปตท. ก็ได้ตั้งโรงงานแปรรูปก๊าซ LNG ซึ่งแพงกว่าก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในปัจจุบันเกือบ 2 เท่า ซึ่งอาจจะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นในอนาคต แม้จะหนีไปใช้พลังงานทดแทนอย่างโซลาร์เซลล์ก็ยังจะไม่เพียงพอ เพราะจะต้องมีกำลังสำรองไว้ซึ่งหากสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ยิ่งอาจจะถูกประชาชนต่อต้านได้

ดังนั้นจึงคิดว่าควรมีการประมูลรอบที่ 21 นี้ เพียงแต่ว่าควรใช้ระบบอะไรในการประมูล ซึ่งมีการพูดอยู่ 2 ระบบในขณะนี้คือ 1.แบบสัมปทานที่ใช้กันอยู่ เพียงแต่ครั้งนี้มีการปรับปรุงสัญญาให้เป็นแบบ “ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส” (Thailand (III) Plus) ซึ่งจะให้ผลประโยชน์แก่รัฐมากกว่าเดิม และ 2. การใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract - PSC) และประเทศยังเป็นเจ้าของทรัพยากร ซึ่งจะต้องตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลผลประโยชน์ แต่แนวทางนี้มีปัญหาก็คือจะต้องเร่งออกกฎหมายที่จะใช้กับระบบ PSC ทั้งนี้ในการที่จะหาบุคคลากรที่มีความรู้ในการเข้าไปดูแลข้อมูลและผลประโยชน์นั้น ควร Recruit คนที่มีความรู้และประสบการณ์เข้ามาทำหน้าที่ เช่นจาก ปตท. หรือ ปตท.สผ. แต่อาจจะมีอุปสรรคเนื่องจากค่าตอบแทนให้แก่บุคคลากรที่มีประสบการณ์เหล่านี้ของภาคเอกชนนั้นสูงกว่าภาครัฐกว่า 10 เท่า

จึงขอเสนอว่าเพื่อให้ทันต่อความต้องการด้านพลังงานของประเทศ ก็ควรให้มีการประมูลแบบ Thailand (III) Plus หรือการสัมปทานโดยมีเงื่อนไขเข้าไปด้วยว่าจะต้องให้คณะทำงานที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเข้าไปดูแลข้อมูลและผลประโยชน์ต่างๆ อย่างใกล้ชิดด้วย รวมทั้งมีการจ้างที่ปรึกษาภายนอกเข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและให้คำแนะนำแก่คณะทำงาน โดยเมื่อได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และมีประสบการณ์ควบคู่กับการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม แล้วในอนาคตก็จะสามารถใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตได้ รวมทั้งในโอกาสที่รัฐบาลไทยมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลกัมพูชาอย่างในขณะนี้นั้น ก็ควรเร่งให้มีการเปิดโต๊ะเจรจาพื้นที่ทับซ้อนเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ด้านปิโตรเลียมที่มีศักยภาพสูงในบริเวณนั้นด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ