ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวนเผย ยอดขายยานพาหนะขนาด 4 ล้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 หรือประมาณ 950,000 คันในปีนี้ เหตุจากความต้องการภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น

พฤหัส ๒๒ มกราคม ๒๐๑๕ ๑๖:๓๖
ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน คาดการณ์ว่า ยอดขายรถในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ในปีนี้ โดยมีปัจจัยหลักมาจากความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้น

นายวิเวก ไวยา ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัทฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ได้คาดการณ์ ว่า GDP ของประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5% ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นการเติบโตที่มีปัจจัยหลักมาจากความต้องการภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การบริโภคของภาคเอกชน รวมไปถึงนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของภาครัฐซึ่งจะส่งผลให้เห็นเด่นชัดมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

“การขยายตัวขึ้นของชนชั้นกลางในประเทศไทย ยังมีส่วนช่วยให้ยอดขายของยานพาหนะขนาด 4 ล้อ เพิ่มสูงขึ้นเนื่องมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ศักยภาพในการซื้อมีสูงขึ้น นอกจากนี้ ในครึ่งปีแรก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเช่นกัน โดยยอดขายของรถกระบะและรถบรรทุกจะขยับสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคมีการคาดการณ์ว่าราคาของรถประเภทดังกล่าวอาจเขยิบสูงขึ้นในปีหน้า”

นอกจากนี้ นายวิเวก ยังได้ให้ความเห็นว่า การใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยมีความสำคัญในการเร่งการเติบโตของเศรษฐกิจ และรักษาอัตราการเติบโตในระยะยาวให้เกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่า โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีอายุ 8 ปี ตั้งแต่ พศ. 2558- 2565 ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 3.3 พันพันล้านบาทและได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลแล้วนั้นมีแนวโน้มว่าจะช่วยเยียวยาการเติบโตของยอดการขายรถดังกล่าวได้

“การเพิ่มขึ้นของการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยยังเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทยในการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ของภูมิภาคอาเซียน และเป็นฐานการผลิตสำหรับรถยนต์ประหยัดน้ำมันของโลกอีกด้วย นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่จะทำให้อุปสรรคต่างๆลดลงและช่วยให้เกิดการบูรณาการที่ดีขึ้นในระบบซัพพลายเชนของทั้งโลก

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้เปิดตัว โครงการอีโคคาร์ เฟสที่ 2 ซึ่งมีการลงทุนรวมทั้งสิ้นถึง 139 พันล้านบาท และผู้ผลิตรถยนต์ 10 บริษัทจะผลิตอีโคคาร์ เพิ่มอีก 1.58 ล้านคัน เพิ่มจาก 5 แสนคันต่อปีในเฟสแรก”

อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและการชะลอตัวของการบริโภคภายในประเทศ ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น มีแนวโน้มว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายอีกครั้งในปี พศ. 2558 นี้

“การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปลายปีนี้ก็จะทำให้มีการเข้าถึงตลาดอาเซียนมากขึ้น รวมถึงมีการเคลื่อนไหวของแรงงานภายในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้นเช่นกัน” นายวิเวก กล่าวปิดท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ