"องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชนเสนอรัฐบาลยุติกฎหมายดิจิทัล 10 ฉบับ"พร้อมทำใหม่แบบเพิ่มสิทธิผู้บริโภคและมีส่วนร่วมทุกฝ่าย

พฤหัส ๒๙ มกราคม ๒๐๑๕ ๑๐:๐๓
คณะกรรมการองค์การอิสระฯ ซึ่ง เป็นคณะกรรมการ ฯ นำร่อง ให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ทำหน้าที่สำคัญ เช่น การให้ความเห็น เสนอแนะต่อนโยบาย มาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบการกระทำและละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคของ หน่วยงาน มีความห่วงใย ต่อ ร่างกฎหมายดิจิทัล 10 ฉบับ ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไอทีและอิน เทอร์เน็ต ภายใต้แนวคิดการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ได้แก่

1) ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

2) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

3) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

4) ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

5) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

6) ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

7) ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

8) ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

9) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ

10) ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อกำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

โดยขณะนี้ ร่างกฎหมายทั้งสิบฉบับดังกล่าวอยู่ระหว่งการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น คณะองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน เห็นว่ากฎหมายดิ จิทัลทั้งสิบฉบับ ละเมิดสิทธิผู้บริโภค ไม่แก้ปัญหาผู้บริโภคที่เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน ขาดมิติการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว จึงมีข้อเสนอ ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ในฐานะผู้ทำหน้าที่พิจารณากฎหมายทั้งสิบฉบับ ดังนี้

1. เนื่อง จากกฎหมายดิจิทัลดังกล่าวมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ของผู้บริโภคทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งการนำข้อมูลของผู้บริโภคไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ดังนั้น ในกระบวนการออกกฎหมายดังกล่าว ขอให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค

2. คณะกรรมการองค์การอิสระฯเห็นว่า การพัฒนา และส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้เข้มแข็ง ต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภคในฐานะผู้ที่ใช้บริการดิจิทัลต่างๆ ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ให้บริการดิจิทัลด้วย ซึ่งในกฎหมายหลายฉบับไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ บริโภค

3. ร่าง กฎหมายทั้งหมดขาดกลไกคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่ชัดเจน อีกทั้งสัดส่วนของคณะกรรมการชุดต่างๆ ก็ไม่มีการรับประกันสัดส่วนจากผู้แทนด้านที่เกี่ยวข้อง คือคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการตัดกรรมการด้านสิทธิและผู้บริโภคออกไป 3ตำแหน่ง และเพิ่มกรรมการด้านความมั่นคงเข้ามา 2ตำแหน่ง ดังนั้น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม จากภาคประชาชนและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จึงขอเสนอให้มีการเพิ่มตัวแทนของผู้บริโภคเป็นคณะกรรมการในร่างกฎหมายทุกฉบับด้วย

4. ในกฎหมายหลายฉบับมีการให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป เช่น ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ใน มาตรา 35 ที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสาร โดยไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคในฐานะผู้เป็นเจ้าของข้อมูลอาจถูกละเมิดสิทธิความเป็น ส่วนตัว ถูกดังฟัง ถูกดึงข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ โดยไม่มีการคุ้มครองหลักประกันความปลอดภัยใดๆ สุ่มเสี่ยงต่อการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบ ดังนั้น คณะกรรมการจึง ขอเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 35 ในกฎหมายดังกล่าวด้วย และให้มีตัวแทนของผู้บริโภคเป็นคณะกรรมการตรวจสอบ

5. ในร่าง พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีเพียงการกำกับดูแล “ผู้ควบคุมข้อมูล” มิ ให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (อาทิ ประวัติการศึกษา สถานะทางการเงิน ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ) หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไปใช้หรือเปิดเผย โดยมิได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล และยังมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้ปลอดภัย ซึ่งเป็นการช่วยคุ้มครองผู้บริโภคส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงบรรดา ผู้ที่ส่งข้อความโฆษณารบกวน หรือ “SPAM” มาทาง SMS อีเมล์ หรือแม้กระทั่งสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook ซึ่งสร้างความรำคาญและเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค ดังนั้น คณะกรรมการจึงเสนอว่าควรมีการเพิ่มเติมเนื้อหาสาระของกฎหมายให้ครอบคลุม คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

5.1 ?การส่งข้อความโฆษณา ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อสารใด ๆ ที่ผู้บริโภคมิได้ร้องขอ ไม่ว่าจะเป็นการส่ง โทรสาร, e-mail, SMS , MMS ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่าง ๆ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้บริโภคอย่างชัดแจ้ง

5.2 ?กำหนดให้ผู้ส่งข้อความโฆษณา ประชาสัมพันธ์จะต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ ที่ติดต่อ ให้ชัดเจน และการแจ้งชื่อหรือที่อยู่ปลอมถือเป็นความผิด

5.3 ?กำหนดให้ผู้ส่งข้อความต้องแจ้งให้ผู้รับทราบอย่างชัดเจนว่า ข้อความที่ได้รับนั้นเป็น การโฆษณาประชาสัมพันธ์

5.4 ?กำหนด ให้ผู้ส่งข้อความต้องระบุวิธีการยกเลิก การบอกรับข้อความ ข้อมูล ข่าวสารเมื่อไม่ต้องการ ซึ่งต้องเป็นวิธีการที่ผู้บริโภคสามารถดำเนินการได้โดยสะดวก รวดเร็วและไม่เสียค่าใช้จ่าย

5.5 ?จำกัดจำนวนสูงสุดในการส่งข้อความ เช่น ไม่เกิน 2,500 ฉบับภายใน 24 ชั่วโมง

5.6? กำหนดโทษทางอาญาที่รุนแรง เช่น หากมีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( เช่นเดียวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องรับโทษตามมาตรา 44 วรรคสอง )

? 6. ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ที่มีการแก้ไขเรื่องอำนาจหน้าที่ของ กสทช. เห็นว่ากสทช.ซึ่ง มีบทบาทหน้าที่ในการกำกับกิจการควรคงความเป็นอิสระ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ของกสทช.ไม่ควรเป็นการเอากลับเข้ามาอยู่ในกำกับของรัฐ แต่ควรแก้ไขด้วยการเพิ่มกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค กลไกการตรวจสอบ การประเมินประสิทธิภาพการทำงานของคณะกรรมการ กสทช.ทุกชุด รวมไปทั้งการแก้ไขการถอดถอนให้ทำได้ง่ายมากขึ้นหากพบว่าการทำงานไม่มี ประสิทธิภาพและมีปัญหาเรื่องความโปร่งใส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้