ผลสำรวจชี้ผู้จัดการด้านสวัสดิการทั่วโลกกำลังพลาดโอกาสที่สำคัญ จากแนวทางการทำงานที่ขัดแย้งกันเอง

พฤหัส ๒๙ มกราคม ๒๐๑๕ ๑๕:๐๗
จากผลการสำรวจล่าสุดเรื่องการจัดการสวัสดิการในปัจจุบันและอนาคตทั่วโลก ซึ่งจัดทำโดยทาวเวอร์ส วัทสัน (Towers Watson) (NYSE, NASDAQ: TW) บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลธุรกิจระดับโลก พบว่าผู้จัดการด้านสวัสดิการและบำนาญในองค์กรชั้นนำ จำนวนเกือบ 2 ใน 3 (ร้อยละ 62) ได้เปิดเผยว่าการดำเนินงานในแต่ละวันได้จำกัดประสิทธิภาพในการเพิ่มคุณค่า (Add value) ต่องาน รวมถึงการมีส่วนร่วมเชิงกลยุทธ์ต่อองค์กรของพวกเขา โดยที่จำนวน 3 ใน 4 (ร้อยละ 75) ของผู้เข้าร่วมการสำรวจยังรู้สึกถึงความกดดันที่มากขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้ทรัพยากรให้น้อยลง (Do more with less) ซึ่งหมายความว่า พวกเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน หากว่าพวกเขาต้องมุ่งเน้นการดำเนินงานที่สร้างคุณค่าได้มากกว่า

มร.สตีเว่น ยู ผู้อำนวยการฝ่ายอินเตอร์เนชั่นแนล คอนซัลติ้ง กรุ๊ป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของทาวเวอร์ส วัทสัน กล่าวว่า ผลการสำรวจได้แสดงให้เห็นว่าผู้จัดการด้านการจัดการสวัสดิการและบำนาญในสำนักงานใหญ่ระดับโลกหรือระดับภูมิภาค (global or regional headquarter) ต่างต้องทำงานอยู่ภายใต้ความกดดันที่ต้องมุ่งเน้นการทำงานที่เพิ่มคุณค่าต่อองค์กร แต่ในขณะเดียวกันยังต้องจมอยู่กับกิจกรรมการทำงานในแต่ละวันที่มีมากจนล้นมือ

“ผู้จัดการจำเป็นต้องพิจารณาและทบทวนกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆ ของทีมงานสวัสดิการและบำนาญทั่วโลก เพื่อดูว่ากิจกรรมเหล่านั้นว่าส่งผลกระทบหรือมีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร และมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดหรือไม่ ทั้งนี้ผู้จัดการด้านการจัดการสวัสดิการและบำนาญในสำนักงานใหญ่ระดับโลกยังจำเป็นต้องมีรูปแบบหรือวิธีการทำงานที่หลากหลายเพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร อาทิ การถ่ายโอนงานไปให้ฝ่ายอื่น ๆ ในองค์กร (Insourcing)การทำงานร่วมกับบุคคลภายนอกองค์กร (Co-sourcing) และการถ่ายโอนงานไปให้บุคคลภายนอกองค์กร (Outsourcing)โดยรูปแบบการทำงานเหล่านี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้สามารถมุ่งเน้นในการดำเนินงานที่เพิ่มมูลค่าได้มากขึ้น”

จากผลการสำรวจยังพบว่า จำนวน 7 ใน 10 (ร้อยละ 71) ของผู้จัดการด้านการจัดการสวัสดิการและบำนาญ ในสำนักงานใหญ่ขององค์กรต่าง ๆ ได้คาดการณ์ถึงการมีส่วนร่วมของส่วนงานระดับภูมิภาคหรือระดับโลก ด้านสวัสดิการและบำนาญที่จะเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในปี 2015 ซึ่งคาดว่าสิ่งที่มีความสำคัญสามอันดับแรก ได้แก่ การควบคุมดูแลด้านสวัสดิการและบำนาญขององค์กรทั่วโลก การบริหารจัดการต้นทุนและความเสี่ยงของสวัสดิการและบำนาญ รวมถึงการตอบแทนพนักงานด้วยสวัสดิการและบำนาญ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมการสำรวจยังได้กล่าวว่าประเทศสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและเยอรมนีถือเป็นกลุ่มประเทศลำดับต้น ๆ ที่ต้องให้ความสำคัญในด้านการเงินและกลยุทธ์ด้านสวัสดิการและบำนาญในปี 2015 รวมถึงประเทศเนเธอร์แลนด์ จะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับเงินบำนาญ ในขณะที่ประเทศบราซิล จีน และอินเดีย จะมีการทบทวนกฎหมายเกี่ยวกับเงินบำนาญมากขึ้น

มร.สตีเว่น ยู กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้เข้าร่วมสำรวจจำนวนมากเห็นพ้องต้องกันว่าความสามารถในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจที่สร้างมูลค่าจะต้องมาจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานที่มากขึ้นของสำนักงานใหญ่ในด้านการจัดการสวัสดิการและบำนาญทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น การนำแนวคิดหรือมุมมองจากภาคส่วนระดับโลกมาช่วยในการตัดสินใจในระดับประเทศ ซึ่งความท้าทายในจุดนี้คือการจัดสรรเวลาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างคุณค่าในการดำเนินงานในส่วนนี้

“จากการทำงานร่วมกับศูนย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสวัสดิการและบำนาญระดับโลก (Centres of Expertise, CoEs)เราได้แนวทางและเทคนิคที่องค์กรข้ามชาติสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยเคล็ดลับสำคัญสำหรับผู้บริหารด้านการจัดการสวัสดิการและบำนาญประจำสำนักงานใหญ่คือการวางกลยุทธ์ด้านการจัดการสวัสดิการและบำนาญที่ชัดเจนและสอดคล้องกับวิธีการบริหารจัดการ และสนับสนุนกลยุทธ์ดังกล่าวนี้ด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น แผนการดำเนินงานที่มีการลำดับความสำคัญ, นโยบาย, ข้อแนะนำ, เทคโนโลยี และการประชุมเครือข่ายเพื่อแบ่งปันประสบการณ์การทำงาน ทั้งนี้ทาวเวอร์ส วัทสัน ยังช่วยองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบในภาคส่วนระดับโลก (global models) เพื่อการควบคุมดูแลการดำเนินงาน และการจัดระบบงานของทีมงานด้านสวัสดิการและบำนาญขององค์กรเหล่านี้ อันทำให้ทีมงานด้านสวัสดิการทั่วโลกตระหนักถึงกลยุทธ์ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่องค์กรและพนักงานของตนเอง”

ด้านมร. คริส เม ผู้อำนวยการฝ่ายให้คำปรึกษาและข้อมูลด้านสวัสดิการ ทาวเวอร์ส วัทสัน ประเทศไทย กล่าวว่า“รายงานการสำรวจดังกล่าวนี้ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกอันเป็นประโยชน์ต่อองค์กรข้ามชาติที่ดำเนินการในประเทศไทยโดยช่วยให้สามารถคาดการณ์ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปี 2015 ได้เป็นอย่างดี โดยการที่สำนักงานใหญ่ในต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการตัดสินใจเกี่ยวกับสวัสดิการของสำนักงานประเทศไทย องค์กรข้ามชาติต่างๆจะเริ่มเห็นแผนงานหรือโปรเจคท์ใหม่ๆทั้งจากระดับภูมิภาคและระดับโลกถูกนำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับสวัสดิการในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น”

“จากผลสำรวจนี้ยังมีสิ่งที่องค์กรสัญชาติไทยขนาดใหญ่ทั้งที่ดำเนินธุรกิจในประเทศและข้ามชาติควรตระหนักไว้ โดยขณะนี้องค์กรต่างๆทั่วโลกเริ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญของการควบคุมดูแลจากสำนักงานใหญ่ (Global) ซึ่งครอบคลุมถึง การบริหารจัดการด้านการเงิน และการตอบแทนพนักงานด้วยโปรแกรมด้านสวัสดิการ ซึ่งองค์กรไทยทั้งที่ดำเนินธุรกิจในประเทศและข้ามชาติบางส่วนเริ่มดำเนินการตามรูปแบบนี้บ้างแล้ว ยกตัวอย่างเช่น การจัดสรรสวัสดิการโดยเน้นการดึงดูดและรักษาพนักงาน การสร้างการมีส่วนร่วมกับบุคลากรที่มีศักยภาพด้วยวิธีการแบบองค์รวมเพื่อให้สามารถจัดสรรต้นทุนด้านสวัสดิการเพื่อสร้างคุณค่าของพนักงานได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด” มร. คริส เม กล่าวเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ