จังหวัดปทุมธานี
พลตำรวจเอก อดุลย์ เปิดเผยว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการจัดระเบียบขอทาน ๓ ครั้ง ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๗ - มกราคม ๒๕๕๘ พบขอทานเข้าสู่กระบวนการจัดระเบียบ จำนวนทั้งสิ้น ๑,๑๘๖ คน เป็นคนไทย ๗๕๐ คน คนต่างด้าว ๔๓๖ คน โดยเมื่อได้ผ่านการคัดกรองเบื้องต้นแล้ว จะดำเนินการส่งต่อเพื่อเข้ารับการคุ้มครองในสถานสงเคราะห์ สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ซึ่งคนขอทานที่พบในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภาคตะวันออก
จะส่งเข้ารับการคุ้มครองที่สถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี และสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งชายธัญญบุรี จังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ ตามนโยบายการแก้ไขปัญหาขอทานด้วยหลัก ๓P ประกอบด้วย ๑) Policy : ด้านนโยบาย ๒) Protection : การคุ้มครอง ช่วยเหลือ และ ๓) Prevention : การป้องกัน กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้ดำเนินคู่ขนานกันไปทั้ง ๓ ด้าน โดยในด้านการคุ้มครอง ช่วยเหลือ (P: Protection) สถานสงเคราะห์มีการดำเนินการดังนี้
๑. ตรวจสภาพร่างกาย ให้บริการทางการแพทย์เบื้องต้น บันทึกข้อมูล ทะเบียนประวัติ และจัดห้องพักชั่วคราว
๒. จัดทำแผนฟื้นฟูศักยภาพรายบุคคล (Individual Rehabilitation Plan: IRP)
๓. ส่งเข้ารับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสม
๔. ติดต่อญาติ หรือเยี่ยมบ้าน เพื่อสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาให้การช่วยเหลือ
๕. จัดกิจกรรมอาชีวะบำบัด ฝึกอาชีพ และให้ทุนประกอบอาชีพตามความเหมาะสม
๖. ปรับทัศนคติ ก่อนกลับคืนสู่ครอบครัว หรือภูมิลำเนา
“กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พร้อมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการขอทานอย่างยั่งยืน โดยรวมพลังกับทุกภาคส่วนของสังคม ร่วมสร้างความตระหนักในการให้ ตามแนวคิด “ให้ทานถูกวิธี ลดวิถีการขอทาน” เพื่อสร้างความเท่าเทียมในสังคมไทย ยุติกระบวนการขอทาน และเสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ในเรื่องการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มีความคาดหวังที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีเส้นทางชีวิตที่ดี สามารถหาเลี้ยงชีพตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป” พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวท้าย