สำหรับงาน Global Game Jam 2015ในปีนี้นั้น ได้จัดขึ้นในวันที่ 23 – 25 มกราคม 2558 ที่ผ่านมาภายใต้ชื่อว่า Thai Game Jam 2015 โดยได้สร้างสรรค์เกมขึ้นมาภายใต้โจทย์งานที่กำหนด โดยบางเกมที่เกิดขึ้นภายในงานนี้มีศักยภาพในการที่จะต่อยอดไปสู่การพาณิชย์ได้ ในรูปแบบงานประกวด และการสนับสนุนต่อยอดผลงานที่เกิดขึ้นในงาน Global Game Jam 2015 เพื่อสนับสนุนผลงานที่มีคุณภาพไปสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ทางดิจิทัลคอนเท้นต์ที่สมบูรณ์ต่อไป ขณะเดียวกันสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ยังได้มอบทุนสนับสนุนจำนวน 100,000 บาท ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยการคัดเลือกผลงาน และทีมพัฒนาที่มีศักยภาพ เพื่อต่อยอดเข้าสู่ตลาดเกมต่อไปด้วย
ด้านผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเกมมีการตื่นตัวเรื่องลิขสิทธิ์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกละเมิดของผู้ผลิต ในอดีตผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่จะรับจ้างผลิตให้กับต่างชาติ ในตรงกันข้ามกับส่งผลดีให้ผู้ประกอบการได้รับประสบการณ์ และพัฒนาเกมให้ออกมาตรงกับความต้องการของตลาดโลกได้ แต่จากตัวเลขการส่งออกเกม 100 กว่าล้านบาทนั้น กึ่งหนึ่งคือส่งออกในนามของตัวเอง นั่นหมายถึงอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องในต่างประเทศ โดยตลาดส่งออกสำคัญ คือ ญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรป
“ธุรกิจเกม ยังเป็นอะไรที่เปิดกว้าง โดยตลาดเกมในต่างประเทศนั้นมีมูลค่ามหาศาล ดังนั้นการผลิตแรงงานเพื่อรองรับต่อความต้องการในอุตสาหกรรมเกมจึงมีความจำเป็นอย่างมากในอนาคต โดยมหาวิทยาลัยรังสิตเอง ก็มีหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาคอมพิวเตอร์เกมมัลติมีเดีย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ดีสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่จะเข้ามาเรียนในสาขานี้” นายนพ กล่าว
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมไทยเติบโตต่อเนื่อง มีมูลค่าประมาณ 15,000 ล้านบาท โดยเฉพาะเกมออนไลน์มีมูลค่าสูงถึง 5,000 ล้านบาท โดยการจัดงาน Grobal Game Jame 2015 นอกจากจะกระตุ้นให้ตลาดรวมของเกมในไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นได้แล้ว ยังส่งให้เกมที่เข้าร่วมในโครงการ และเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่จะเปิดปลายปีนี้ คาดว่าจะมีผู้ผลิตและผู้บริโภคในตลาดเกมเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ในปีที่ผ่านมา ได้มีการนำเข้าเกมประมาณ 4,000 ล้านบาท ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกเพียง 100 กว่าล้านบาทเท่านั้น แม้สัดส่วนการส่งออกของตลาดเกมจะไม่มากนัก แต่ก็พบว่าการส่งออกเกมในปีที่ผ่านมาเป็นงานที่มีทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองถึง 57% นั่นหมายถึงผู้ประกอบการไทย ขยับตัวจากการรับจ้างผลิต เป็นผู้ผลิตและส่งออกเองมากขึ้น ที่น่าจับตาคือ ในกลุ่มตลาดดิจิทัล คอนเทนต์นั้น อัตราการเติบโตของเกมเป็นสาขาที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด โดยเฉพาะโมบายเกม และออนไลน์เกม และคาดว่าจะมีการเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งผู้ผลิตไทยยังมีโอกาสอีกมากในตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดการผลิตที่มีทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง หากภาครัฐช่วยเร่งสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพในการผลิตงานเกมมากขึ้น
สำหรับ งาน Global Game Jam (GGJ) เป็นงานมหกรรมการแข่งขันพัฒนาเกมระดับนานาชาติที่จัดขึ้นทุกปี โดย International Game Developers Association (IGDA) ซึ่งมีลักษณะการที่นักพัฒนาเกม นักเรียน นักศึกษา จากทั่วโลกร่วมกันพัฒนาเกมภายใต้โจทย์งานเดียวกัน ในระยะเวลา 48 ชั่วโมงพร้อมกันทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบุคคลากรทางด้านเกม การแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และ สร้างประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆ ให้กับนักพัฒนาฯ ซึ่งงาน Global Game Jam มีผู้สนใจเข้าร่วมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยในปี 2015 นี้จะมีการจัดงาน Global Game Jam ขึ้นในวันที่ 23-25 มกราคม พ.ศ. 2558 ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมนักพัฒนาเกมทั้งในระดับนักศึกษาและผู้ประกอบการ และเป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายในระดับนานาชาติ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงเห็นความจำเป็นและความสำคัญในการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน Global Game Jam 2015 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยใช้ชื่อว่า Thai Game Jam 2015 โดยเป็นการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5