การประกวดในครั้งที่ ๗ ของโครงการฯ เราได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการเพื่อเน้นย้ำเป้าหมาย ไม่ใช่การแข่งขันเพื่อรางวัลเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งหมายเป็นกระบวนการใคร่ครวญตนของผู้ส่งงานและเพื่อสร้างสรรค์วรรณศิลป์ชนิดที่งอกงามจากจิตใจ ด้วยการประกาศการประกวดงานเขียนที่ไม่มีรางวัลเป็นทุนการศึกษาส่วนตัว ผลงานที่ส่งเข้าร่วมประจำปีนี้จึงลดน้อยกว่าปีก่อนๆ ที่ผ่านมา ซึ่งเดิมมีจำนวนมากกว่า ๘๐๐ ชิ้นงาน แต่เราถือว่านี่เป็นกระบวนการคัดเลือกเยาวชนที่จะเข้าร่วมโครงการฯอีกทางหนึ่งด้วย
ทางเรารู้สึกชื่นชมเยาวชนคนหนึ่งที่ส่งผลงานไม่ทัน แต่ได้เล่าให้ทางเราฟังว่า“ขอขอบคุณที่มีโครงการดีๆแบบนี้ขึ้นมา เพื่อให้หนูได้เรียบเรียงความ คิดหาตัวเองอย่างจริงจัง ว่าความทุกข์ในชีวิตหนูเกิดจากอะไร ตอนนี้หนูได้คำตอบแล้วค่ะ แม้ว่าจะไม่ได้รางวัล แต่โครงการนี้ ทำให้หนูได้ค้นพบตัวเอง และเข้าใกล้เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ไปอีกก้าวหนึ่ง ขอขอบคุณจริงๆค่ะ ”
(นางสาวณัฐฐิกา คุ้มสี, โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก)
แม้เยาวชนคนนี้ไม่ได้รับรางวัล ทางเราถือว่าได้บรรลุเป้าหมายของกิจกรรมนี้แล้วและเห็นควรส่งเสริมให้ได้เติบโตตามจังหวะของตน
กรรมการตัดสินรอบสุดท้ายได้บอกเล่าว่า รู้สึกยินดีที่ได้อ่านงานเขียนเหล่านี้ ทำให้ได้ทบทวนความทุกข์วัยหนุ่มสาวที่ล่วงมา และเห็นภาพสะท้อนทางสังคมที่ยังผลิตซ้ำสร้างความทุกข์แบบเดิมๆ ไม่รู้จบสิ้น กรรมการท่านหนึ่งเล่าว่าน้ำตาซึมกับบางชิ้นงาน รู้สึกอยากร้องไห้กับผลงานเหล่านี้ด้วยหัวใจของคนเป็นแม่
ภาพรวมการปรับปรุงผลงานที่ส่งเข้าร่วมการประกวดได้แก่เรื่องการใช้ภาษาที่หลายชิ้นชิ้นงานขาดการขัดเกลา ใช้ภาษาไม่เหมาะสมบ้าง หลายชิ้นงานได้เล่าถึงความทุกข์ในชีวิตแต่ขาดการใคร่ครวญให้เกิดบทเรียนและปัญญาจึงกลายเป็นการบ่นระบาย บางชิ้นงานพยายามสะท้อนแง่มุมความคิด แต่ขาดการนำเสนอให้เกิดความน่าสนใจและมุ่งสอนคนอื่นแต่ไม่ได้นำมาขัดเกลาตน บางชิ้นใช้อุปมาและภาษาที่น่าสนใจ แต่ขาดความกระชับและการร้อยเรียงให้เน้นประเด็นสำคัญ และบางชิ้นก็หลงทางในช่วงท้ายด้วยการยกวรรควลีสอนคนอื่น ถือเป็นจุดอันตรายสำหรับนักเขียนหน้าใหม่ การขาดการวางเค้าโครงก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ขาดไปในหลายชิ้นงาน โดยรวมทางโครงการเห็นว่ามีข้อดีกว่าปีก่อนหน้าคือ ไม่พบการลอกผลงาน และบางชิ้นได้ทบทวนประโยชน์ของการเขียนบันทึกหรือการทบทวนตนเอง
ทั้งนี้ผู้ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งที่ได้รับรางวัลและไม่ได้รับรางวัล ทางโครงการจะเสนอให้แก้ไขชิ้นงานเพื่อรวมเล่มเผยแพร่สู่สังคมในลำดับต่อไป
เยาวชนที่ได้รับคัดเลือกรวมทั้งสิ้น ๑๖ คน ๑๖ ชิ้นงาน
จาก ๑๓๕ ผลงานที่ส่งข้าร่วมการประกวด
นายสมิธ คำเจริญ โรงเรียน สุโขทัยวิทยาคม
นางสาวณัฐฐาวรรณ บัวเพชร โรงเรียน ศรียาภัย
นางสาวลภัสรดา รัตนรัตน์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
นางสาวณัชชาพร มีสัจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
นางสาวไปรยา สงภักดี โรงเรียน ชัยนาทพิทยาคม
นางสาวรุ่งระพี อรภาพ
นางสาวเบญจมาศ แสนหลวง โรงเรียน กบินทร์วิทยา
นางสาวพิสุทธิรัตน์ วิบลุสันติ โรงเรียน พิงครัตน์
นางสาวอคิราภ์ รวมจิตต์ โรงเรียน แม่ลาน้อยดรุณสิกข์
นางสาวสุชานาถ บูรณสันติกูล โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา
นางสาวรุจรวี นาเอก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นายวิภู ชลานุเคราะห์ โรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัย
นายชนินทร์ ธีระวรรณ์ โรงเรียน ประชาราชวิทยา
นางสาวอออิน แซ่โค้ว โรงเรียน สัมมาสิกขาปฐมอโศก
นางสาวซอเฟีย สะนิ โรงเรียน มูลนิธิอาซิซสถาน
นางสาวมัชฌิมา กิณเรศ โรงเรียน สกลราชวิทยานุกุล
รางวัล ธรรมวรรณศิลป์ ประกอบด้วย
รางวัลทุนจิตอาสาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เพื่อผู้อื่นและสังคม
จำนวน ๕,๐๐๐ บาท
ทุนส่วนตัวและค่าเดินทาง
จำนวน ๓,๐๐๐ บาท
การเข้าร่วมกิจกรรม ค่ายเขียนเปลี่ยนชีวิต จำนวน ๔ วัน ๓ คืน
หมายเหตุ : หากผู้ได้รับรางวัลไม่เข้าร่วมกิจกรรม ทางโครงการฯ อาจพิจารณาสละสิทธิ์