โดยนายสราวุธ เล้าประเสริฐ ผู้จัดการประจำประเทศไทย (Country Manager) เปิดเผยว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของโลก ซึ่งเป้าหมายก็คือการเป็นครัวของโลก ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดในการคงอาหารให้สดและเก็บไว้ได้นานพร้อมส่งถึงผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศคือ ห้องเย็นถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งจะมีความหลากหลายทั้งประเภทของวัตถุดิบประเภทของผลิตภัณฑ์ขนาดของสถานประกอบการประเภทเครื่องจักรและลักษณะการดำเนินงานแต่โครงสร้างของต้นทุนหลักในการดำเนินการของอุตสาหกรรมนี้มีความคล้ายคลึงกันประกอบด้วยค่าวัตถุดิบค่าแรงค่าไฟฟ้าค่าน้ำและค่าสารเคมีที่ใช้ในการผลิต ดังนั้นเพื่อช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจของลูกค้า ทาง เอสเอสไอ เชฟเฟอร์ฯ จึงรับปรึกษาพร้อมวางระบบคลังสินค้าคุณภาพสำหรับห้องเย็นทั้งระบบให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม สามารถลดต้นทุนในการดำเนินงานทั้งหมดได้ถึง 40% ต่อเดือน
ซึ่งถ้าพูดถึงการเก็บสินค้าในห้องเย็นที่เน้นระบบ deep freeze (อุณหภูมิ -10°c - -30°c) ค่าไฟฟ้าจะเป็นค่าใช้จ่ายหลักถึง 70% ของรายจ่ายทั้งหมด ดังนั้นจะต้องมีการจัดการด้านพลังงานอย่างดีนอกจากนี้อาคารผลิตเป็นอาคารปิดผนังและเพดานมีฉนวนมีการวางผัง การผลิตที่ดีกระบวนการผลิตอยู่ในอาคารเดียวกันและมีความต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด การเก็บสินค้าในห้องเย็นจึงต้องการระบบจัดเก็บที่มีความจุมากที่สุดในบรรดาระบบการจัดเก็บทั้งหมด โดยเอสเอสไอ เชฟเฟอร์ฯ เลือกใช้ระบบ ‘Mobile Racking’ หรือแร็คเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นระบบที่ดีที่สุดเพราะประหยัดพื้นที่สูงสุดเนื่องจากไม่มีช่องว่างระหว่างแร็ค สามารถเลือกช่องว่างเพื่อเข้าไปตักสินค้าโดยได้โดยใช้ไฟฟ้าควบคุม โดยธุรกิจของอุตสาหกรรมอาหารนั้นจะต้องมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ รสชาติ ขนาดบรรจุภัณฑ์ และยี่ห้อ ดังนั้นระบบจัดเก็บจึงต้องมีความสามารถในการเข้าถึงสินค้าได้ทุก SKU ซึ่งในระบบMobile Racking หรือ แร็คเคลื่อนที่นี้ คนเบิกสินค้าจะสามารถเข้าถึงสินค้าในทุกๆตำแหน่งได้ภายใน 3 นาทีซึ่งจะเหมาะสมกับพฤติกรรมการเบิกของแผนกคลังสินค้าเพื่อให้เข้ากับมาตรฐาน FIFO (First in first out) เนื่องจากสินค้าอาหาร เป็นสินค้าที่ต้องควบคุมทั้ง lot และ batch จึงต้องมีระบบจัดเก็บที่ดีและเหมาะสม
การก่อสร้างด้านคลังสินค้าโดยเฉพาะห้องเย็นนั้นในหลักการทางวิศวกรรมการเรียงลำดับการก่อสร้างโดยนำทฏษฏีใหม่มาใช้ในการออกแบบจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บสินค้าได้ การวางโครงสร้างของชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง โดยเฉพาะหากเป็นห้องเย็นจะต้องคำนึงถึงทิศทางในการสร้างห้องเย็นซึ่งไม่ควรจะหันห้องเย็นไปยังทิศตะวันตก และผนังทางทิศตะวันตกจะต้องออกแบบให้หนากว่าทิศอื่นเพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดอันยาวนานในช่วงบ่ายโดยส่วนใหญ่สถาปนิคเมื่อได้รับงานออกแบบมามักจะคำนึงถึงรูปลักษณ์ความสวยงามมากกว่าการให้ความสำคัญกับโครงสร้างการจัดเก็บ การวางโครงสร้างจะต้องเริ่มจากการออกแบบคลังสินค้าว่าธุรกิจเหมาะกับคลังสินค้าระบบใด จากนั้นจึงคำนวนทางโครงสร้างทางวิศวกรรมว่าต้องใช้พื้นหนาเท่าไหร่ จึงจะไปออกแบบตัวอาคารว่าต้องการให้เป็นรูปแบบใด เมื่อนำทฤษฏีใหม่มาใช้จะสามารถลดต้นทุนการก่อสร้างได้กว่า 10% เมื่อเปรียบเทียบกับการสร้างคลังสินค้าแบบทั่วไปครับ” นายสราวุธ กล่าว
สามารถดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ www.ssi-schaefer.co.th หรือสอบถามโทร 02 204 0205