ปัญหานักดื่มก่อนวัย แก้ได้ด้วยจิตสำนึกผู้ซื้อและผู้ขาย

จันทร์ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๕ ๑๑:๐๐
กรมสรรพสามิต นำโดย นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดี (ที่ 3 จากขวา) และนายธรรมศักดิ์ ลออเอี่ยม ที่ปรึกษาพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต (ที่ 2 จากซ้าย) ร่วมกับมูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ โดยนางสาวชัชฎา จันทรางศุ ผู้จัดการโครงการ (ซ้ายสุด) เปิดตัวโครงการ “ยับยั้งนักดื่มก่อนวัย ทำได้...แค่ไม่ขาย”รณรงค์ให้ร้านค้าและสถานบันเทิงในบริเวณรอบสถานศึกษาไม่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี โดยมี นางสาววันวิสาข์ พงษ์ปลื้ม อาจารย์ที่ปรึกษาสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (ที่ 2 จากขวา) นายภูวดล ศรีกุมาร ตัวแทนนักศึกษาและนางสาวอรพิมพ์ รักษาผล นักพูดรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ที่ 3 จากซ้าย) ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองในการแก้ไขปัญหานักดื่มก่อนวัย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กรมสรรพสามิตร่วมกับมูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ หรือ มปอ. เปิดตัวโครงการ “ยับยั้งนักดื่มก่อนวัย ทำได้...แค่ไม่ขาย” รณรงค์ให้ร้านค้าและสถานบันเทิงรอบสถานศึกษาไม่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาการเพิ่มขึ้นของนักดื่มหน้าใหม่ที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์ นำร่องเปิดตัวโครงการและจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดื่มอย่างรับผิดชอบแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ก่อนมุ่งขยายสู่สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อาทิ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ต่อไป

ในพิธีเปิดตัวโครงการดังกล่าว ยังได้มีการจัดเสวนาหัวข้อ “ยับยั้งนักดื่มก่อนวัย ทำได้...แค่ไม่ขาย” เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะในการแก้ไขปัญหานักดื่มก่อนวัยจากตัวแทนพันธมิตรโครงการฯ และตัวแทนคนรุ่นใหม่ นำโดยคุณธรรมศักดิ์ ลออเอี่ยม ที่ปรึกษาพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต กรมสรรพสามิต คุณชัชฎา จันทรางศุ ผู้จัดการโครงการฯ มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ อาจารย์วันวิสาข์ พงษ์ปลื้ม ที่ปรึกษาสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต คุณอรพิมพ์ รักษาผล นักพูดรางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนายภูวดล ศรีกุมาร นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งทุกท่านต่างเห็นตรงกันว่าการแก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่เพียงต้องรณรงค์ให้ผู้ขายปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น ผู้ซื้อเองก็ต้องมีจิตสำนึกไม่ซื้อและไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หากมีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดมีส่วนสำคัญในการลดปัญหานักดื่มก่อนวัย โดยคุณธรรมศักดิ์ ลออเอี่ยม กล่าวว่า “กรมสรรพสามิตให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหานักดื่มก่อนวัย จึงเร่งรณรงค์ให้ผู้ประกอบการทราบถึงกฎหมายเกี่ยวกับใบอนุญาตการขายสุรา การกำหนดอายุผู้ซื้อ และเวลาขาย พร้อมเร่งตรวจสอบร้านค้าและสถานบันเทิงที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่มีใบอนุญาตเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และดึงเข้าสู่ระบบเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม โดยในปี 2557 พบว่ามีร้านค้าและสถานบันเทิงกว่า 8,600 ราย ทั่วประเทศ ที่กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับใบอนุญาต และในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ กรมสรรพสามิตจะเร่งตรวจสอบและทำความเข้าใจกับร้านค้าและสถานบันเทิงในบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา ซึ่งมีอยู่กว่า 6,000 ราย ว่าปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับใบอนุญาตหรือไม่ หากกระทำผิดก็จะดำเนินการตามกฎหมาย”

คุณชัชฎา จันทรางศุ ผู้จัดการโครงการฯ มูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์มองว่าการบังคับใช้กฎหมายอย่าง เข้มงวดกวดขัน เมื่อทำควบคู่ไปกับการรณรงค์สร้างจิตสำนึกของผู้ซื้อและผู้ขาย จะช่วยแก้ไขปัญหานักดื่มก่อนวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ“โครงการยับยั้งนักดื่มก่อนวัย ทำได้...แค่ไม่ขาย มีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนของนักดื่มหน้าใหม่ที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด โดยรณรงค์ให้ร้านค้าและสถานบันเทิงรอบสถานศึกษาเพิ่มความเข้มงวดในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วยการตรวจบัตรประชาชนหรือใบขับขี่ของ ผู้ซื้อ ป้องกันการจำหน่ายให้แก่ผู้ที่มีอายุไม่ถึง 20ปี และยังมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดื่มอย่างรับผิดชอบ ณ สถานศึกษา และกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่ผู้ประกอบการโดยรอบสถานศึกษา โดยมุ่งหวังให้เกิดวัฒนธรรมการตรวจบัตรก่อนจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และวัฒนธรรมการดื่มอย่างรับผิดชอบได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยลดจำนวนนักดื่มหน้าใหม่ที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ และปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน”

ด้าน นายภูวดล ศรีกุมาร น้องใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต มองว่าสาเหตุที่น้องใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยหลายๆ คน ดื่มเครื่องดื่มแอลอฮอล์ ทั้งๆ ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี เพราะพวกเขาคิดว่า เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาและสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ก็จะมีอิสระเสรี ทำอะไรก็ได้ที่ต้องการ รวมถึงการสังสรรค์เฮฮากับเพื่อนแล้วดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้อง “การเรียนมหาวิทยาลัยทำให้เรามีอิสระมากขึ้นก็จริง แต่หน้าที่ของเราก็ยังคงเป็นการเรียนเหมือนเดิม นอกจากนั้นน้องใหม่ต้องปรับตัวเข้ากับชีวิตและการเรียนในมหาวิทยาลัย หากมัวแต่สังสรรค์และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แล้วละเลยกับการเรียนซึ่งเป็นหน้าที่หลัก ก็จะประสบปัญหาการเรียนล้มเหลวในที่สุด”

สอดคล้องกับ อาจารย์วันวิสาข์ พงษ์ปลื้ม ในฐานะผู้ทำงานใกล้ชิดและเชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเยาวชน ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหานัก ดื่มก่อนวัย ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ยังอยู่ในวัยลองผิดลองถูก ยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ จึงซื้อและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้จะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ร้านค้าและสถานบันเทิงจึงต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ในขณะที่นักศึกษาก็จะต้องเตือนตัวเองว่าหน้าที่ของเราคือการเรียน หากเรามัวแต่สังสรรค์ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮล์ ก็จะเกิดผลกระทบกับการเรียนและสุขภาพของเราโดยตรง ทั้งยังนำมาซึ่งปัญหาอื่น ๆ ทั้งนี้ มีผลการศึกษาพบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านสมองของผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีซึ่งยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะส่งผลกระทบต่อความจำและความสามารถในการเรียนรู้ นอกจากนั้น ยังพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนวัยอันควรยังมีผลต่อปัญหาวัยรุ่นอื่น ๆ เช่น ความรุนแรง และการตั้งครรภ์ในวัยเรียน อีกด้วย”

คุณอรพิมพ์ รักษาผล นักพูดสร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชน เสนอหลักการสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษาที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่เป็นนักดื่มก่อนวัย ว่า “สิ่งที่น้องๆ ต้องถามตัวเองอยู่เสมอมีอยู่ 3 ข้อ ข้อแรกคือ ‘เรามาทำอะไรที่นี่’ เราทุกคนมามหาวิทยาลัยเพื่อศึกษาเล่าเรียนหาความรู้เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงดูตัวเอง พ่อแม่ และบุคคลที่เรารักต่อไปในอนาคต ข้อสอง ‘หน้าที่ของเราคืออะไร’ มีคนจำนวนมากที่อยากเรียนแต่ขาดโอกาส น้องๆ โชคดีมากที่มีโอกาสได้เรียน จึงต้องใช้โอกาสนั้นให้เต็มที่ ข้อสาม ‘มีใครรอเราอยู่’ พ่อแม่หวังอยากเห็นเราสำเร็จการศึกษา เพื่อจะได้เป็นคนดีของสังคมต่อไป เมื่อน้องๆ คิดได้ดังนี้ ก็จะไม่คิดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ ส่วนคนที่อายุเกิน 20 ปี ก็สามารถนำหลักคิดนี้ไปปรับใช้ได้ เมื่อตัดสินใจที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็จะดื่มอย่างมีความรับผิดชอบต่อตนเอง คนรอบข้าง และสังคม ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน”

คุณอรพิมพ์ให้ข้อคิดเพิ่มเติมว่า “เราไม่สามารถเอาแอลกอฮอล์ออกจากสังคมได้ แต่สามารถกำจัดปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ได้ด้วยการดื่มอย่างมีสติ คือไม่ดื่มจนเมามาย ขาดไม่ได้ ไม่ได้กินทุกโอกาส จนพลาดโอกาสสำคัญในชีวิตหรือทำลายทุกสิ่งในชีวิต สำหรับน้องๆ ทุกคน หากอายุถึงเกณฑ์ แล้วตัดสินใจที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เราก็ต้องดื่มอย่างมีความรับผิดชอบ มีสติ ดื่มอย่างมีไอคิว”

“โครงการยับยั้งนักดื่มก่อนวัย ทำได้...แค่ไม่ขาย เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของสิ่งที่ยิ่งใหญ่นั่นคือการสร้างวัฒนธรรมตรวจบัตรก่อนจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และวัฒนธรรมการดื่มอย่างรับผิดชอบ ให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งไม่เพียงช่วยลดปัญหาการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี แต่ยังช่วยลดปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน” คุณธรรมศักดิ์กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version