ด้วยเจตนารมณ์อันแรงกล้าที่ต้องการใช้ดนตรีสร้างแรงบันดาลใจ และเชื่อมโยงผู้คน เข้าด้วยกัน นายธเนศ เอื้ออภิธร ผู้บริหารไฟแรงแห่งโรงเรียนสอนดนตรีไร้ตัวโน้ต เพลย์ บาย เอียร์ จึงจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางดนตรีครั้งพิเศษที่ใช้ชื่อว่า "สอนบรรเลงเสียง...ให้เป็นดนตรี" ร่วมกับโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ แบ่งปันความรู้ด้านดนตรีด้วยเทคนิคแบบ Play By Ear เรียนดนตรีแบบไม่มีตัวโน้ต เพื่อข้ามก้าวข้อจำกัดด้านการมองเห็นแก่นักเรียนผู้พิการทางสายตาจัดทำ "Magical Melodion" เมโลเดียนแบบพิเศษขึ้นเพื่อให้ ได้ง่ายสำหรับผู้พิการทางสายตา
"ดนตรีไร้ตัวโน้ต" ยังคงเป็นศัพท์ใหม่ในบ้านเราเพราะหากพูดถึงเรื่องของดนตรี เชื่อว่า หลายคนต้องนึกถึงการบรรเลงเพลงที่ผ่านกระบวนการร้อยเรียงตัวโน้ตจนออกมาเป็นเสียงดนตรีไพเราะให้เราได้ฟัง แต่จะเป็นอย่างไรหากการเรียนดนตรีไม่ได้มีจุดเริ่มต้นที่การท่องจำตัวโน้ตเสมอไป จากข้อจำกัดเรื่องการจดจำโน้ตดนตรีที่ทำให้หลายๆคนต้องล้มเลิกความตั้งใจในการเรียนดนตรีไป ทำให้เกิดเทคนิคเฉพาะแบบ Play By Ear ที่ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ไม่ว่าใครบนโลกใบนี้ที่มี ความสนใจในเรื่องดนตรี ก็สามารถฝึกฝนการเล่นดนตรีได้อย่างง่ายดาย โดยใช้ทักษะการฟัง เป็นหลัก
Play By Ear คือการนำรูปแบบการเรียนรู้ตามธรรมชาติของมนุษย์มาเป็นหลักการสำคัญ ในการเรียนดนตรี กล่าว คือการที่เด็กจะพูดได้ ก็ต้องอาศัยการฟัง จดจำ และเลียนแบบเสียง จนออกมาเป็นคำพูด ส่วนเทคนิค Play By Ear ก็เริ่มที่การฟังเสียงดนตรี จดจำโทนเสียง และบรรเลงบทเพลงตามสัญชาตญาณ ซึ่งวิธีการแบบ Play By Ear จะใช้เวลาในการเรียนรู้ที่สั้นกว่าการเรียนผ่านตัวโน้ต
นายธเนศ เอื้ออภิธร ผู้บริหารโรงเรียนสอนดนตรีเพลย์บายเอียร์ กล่าวถึงการจัดกิจกรรม ในครั้งนี้ว่า “การที่ทางโรงเรียนสอนดนตรีเพลย์บายเอียร์ จัดกิจกรรมพิเศษนี้ขึ้นเพราะทางโรงเรียนเล็งเห็นว่ามีเยาวชนอีกมากมายที่เปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจในการเล่นดนตรี แต่ยังขาดเทคนิคการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพด้านดนตรีให้เติบโตยิ่งขึ้น โครงการ "สอนบรรเลงเสียง...ให้เป็นดนตรี" ถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วงส่งเสริมทักษะและสร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชน เราคาดหวังให้เด็กๆที่นี่ได้รับความรู้และพัฒนาทักษะด้านดนตรีเพื่อเป็นความสามารถพิเศษติดตัวต่อไป โดยสาเหตุหลักที่เราเลือกจัดกิจกรรมนี้ขึ้นที่โรงเรียนสอนคนตาบอดก็เพื่อให้เด็กๆได้เข้าถึงองค์ความรู้ที่มีลักษณะเฉพาะ และเพื่อให้รู้สึกว่าการเรียนดนตรีไม่ใช่เรื่องยาก และสนุก ไปกับการเล่นดนตรีที่ไม่ได้จำกัดแค่การท่องจำโน้ตเพลง”
นายธเนศ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เทคนิคแบบPlay By Ear เกิดขึ้นเพราะต้องการที่จะก้าวข้ามข้อจำกัดของการเรียนรู้ในระบบสัญญาลักษณ์ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานและมีความซับซ้อนจนหลายคนเลิกล้มความตั้งใจในการเรียนดนตรี ซึ่งในการเข้ามาจัดกิจกรรมจิตอาสาที่โรงเรียน สอนคนตาบอดในครั้งนี้เพื่อ พิสูจน์ให้เห็นได้ง่ายว่า การเรียนดนตรีแบบ Play By Ear ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านดนตรีมาก่อน และอายุของผู้เรียนก็ไม่ถือเป็นอุปสรรค เพราะที่โรงเรียน Play By Ear ก็มีนักเรียนตั้งแต่อายุ 6 ขวบ จนถึงวัยผู้ใหญ่ที่อายุ 50 ปี ด้วยความตั้งใจของ โรงเรียนที่อยากให้คนทุกวัยที่สนใจเรียนดนตรี กล้าที่จะเดินเข้ามาเรียนกับเราได้”
นับเป็นอีกก้าวที่สำคัญของโรงเรียน Play By Ear ที่ได้พิสูจน์แล้วว่าเพียงแค่อาศัยทักษะ การฟัง ไม่ว่าใครก็สามารถสนุกกับวิธีการเรียนแบบ Play By Ear และสามารถบรรลุเป้าหมาย ทางดนตรีได้เร็วกว่าวิธีแบบท่องจำตัวโน้ตที่เราคุ้นเคย