- ๒๓ ธ.ค. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธานพร้อมมอบใบประกาศนียบัตร ในพิธีปิดหลักสูตร IMFAM By HOWE รุ่น 4
- ๒๓ ธ.ค. เปิดตัวสมาคมสื่อมวลชนไทย-จีน
- ธ.ค. ๒๕๖๗ iSAB เปิดหลักสูตร THE MASTER รุ่นที่ 6 ระดมนักบริหารระดับประเทศ ให้ความรู้ พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แถลงถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีที่ได้พิจารณาสำนวนการ ไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี สั่งใช้กำลังทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในวันที่ 10 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 แล้ว มีมติว่า ภายหลังจากที่ได้มีการใช้กำลังทหารเพื่อขอคืนพื้นที่ในวันที่ 10 เมษายน 2553 แล้วปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก การที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสอง ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเป็น ผู้มอบนโยบายในการขอคืนพื้นที่ กลับละเว้นไม่สั่งระงับยับยั้ง ทบทวนวิธีการ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้กำลังทหารและวิธีการควบคุมการปฏิบัติงานให้รัดกุมยิ่งขึ้น รวมถึงไม่ได้ปรับแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องสอดประสานกัน ทั้งในระดับนโยบาย การบังคับบัญชาและการปฏิบัติในพื้นที่ ในการใช้กำลังทหารเข้าขอคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงและอาวุธ แต่ยังมีกลุ่มผู้ชุมนุมที่เข้าร่วมชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ และประชาชนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม จนเป็นเหตุให้นายพัน คำกองและเด็กชายคุณากร ศรีสุวรรณ เสียชีวิต และนายสมร ไหมทอง ได้รับบาดเจ็บสาหัส และประชาชนอื่นเสียชีวิตอีกจำนวนหลายราย ดังปรากฏตามคำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพของศาลว่าความตายเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานทหาร จึงเป็นกรณีมีพฤติการณ์ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อันเป็นเหตุแห่งการถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองออกจากตำแหน่ง สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น ในฐานะผู้ปฏิบัติจะมีความรับผิดเพียงใดหรือไม่ จะได้ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป