เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเงินฝืดหรือไม่?

จันทร์ ๐๙ มีนาคม ๒๐๑๕ ๑๐:๑๔
อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 58 อยู่ที่ -0.52% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 0.12% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว โดยราคาน้ำมันยังเป็นปัจจัยหลักที่ดึงให้ดัชนีราคาลดลง ดัชนีราคาพลังงานลดลง 12.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน อัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่สองแล้ว นั่นแปลว่าเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะเงินฝืดแล้วหรือไม่?

?

Q1: เงินฝืดคืออะไร

เงินฝืดไม่ใช่แค่เรื่องอัตราเงินเฟ้อติดลบ แต่ต้องดูปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ราคาของสินค้าส่วนใหญ่ลดลงหรือไม่ ภาพรวมเศรษฐกิจหดตัวด้วยหรือไม่ คนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง รายได้คนลดลงหรือไม่ ฯลฯ

Q2: ทำไมเราต้องกังวลเรื่องเงินฝืด

การที่สินค้าราคาถูกลงฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องดี แต่ถ้าราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้คนไม่ค่อยใช้จ่ายเพราะคิดว่าราคาจะถูกลงอีก ลองคิดดูว่าถ้าเรารู้ว่า สินค้าชนิดหนึ่งจะลดราคาลงอีก เราก็คงจะไม่ซื้อของชิ้นนั้นในวันนี้ แต่จะรอจนราคาถูกลงจึงซื้อ แต่พอคนไม่ซื้อมากๆ เข้า คนขายก็จำเป็นต้องลดราคาลงอีกเป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ในที่สุดก็จะกระทบต่อกำไรของภาคธุรกิจและการจ้างงาน

อีกผลกระทบของเงินฝืดคือทำให้ภาระหนี้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น ถ้าลองนึกภาพโรงงานปากกามีหนี้อยู่ 100 บาท ผลิตปากกาขายราคาด้ามละ 10 บาท ถ้าผลิตปากกา 10 ด้าม ก็จะได้เงิน 100 บาท และสามารถใช้หนี้คืนได้ (คิดง่ายๆ ว่าไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ) แต่ถ้าเกิดภาวะเงินฝืด ปากกาจากเดิมราคาด้ามละ 10 บาท ตอนนี้เหลือด้ามละ 5 บาท ถ้าจะชำระหนี้จะต้องผลิตและขายปากกาถึง 20 ด้าม บริษัทหรือครัวเรือนที่มีหนี้มากก็จะประสบปัญหาในการชำระหนี้

Q3: เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะเงินฝืดหรือไม่

เศรษฐกิจไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เพราะเงินเฟ้อติดลบอย่างเดียวไม่ได้แปลว่าเงินฝืด ต้องดูปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องดูประกอบกัน ในประเทศที่ประสบกับภาวะเงินฝืดอย่างประเทศญี่ปุ่น เราจะพบว่านอกจากเงินเฟ้อที่ติดลบแล้ว ยังพบว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัว อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจติดลบ ค่าจ้างที่แท้จริงลดลง คนคาดว่าเงินเฟ้อในระยะยาวจะยังคงต่ำมากหรือติดลบ เห็นได้จากผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวที่ต่ำมาก (ดูรูป 1)

ในขณะที่กรณีประเทศไทย เงินเฟ้อทั่วไปเริ่มติดลบ (เมื่อเทียบกับปีก่อน) แต่ก็เกิดจากการลดลงของราคาสินค้าไม่กี่ชนิด เช่น ราคาน้ำมัน ถ้าดูอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งตัดราคาน้ำมัน และราคาอาหารสดออกจะพบว่าเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น ราว 1.5% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจก็ยังพอขยายตัวได้ในปีนี้ (อย่างช้าๆ)เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า การที่น้ำมันและอาหารราคาถูกลงทำให้รายได้ในกระเป๋าคนเพิ่มขึ้น และจะเห็นได้ว่าการจ้างงานยังคงสูงมาก ชั่วโมงการทำงานยังไม่ลด ค่าจ้างยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำมาก

Q4: แล้วเงินเฟ้อจะติดลบต่อไปอีกนานหรือไม่

เงินเฟ้อเมื่อเทียบกับปีที่แล้วยังคงติดลบต่อไปอีกระยะ อย่างน้อยก็ในช่วงครึ่งปีแรก ด้วยผลของราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มลดลง เพราะดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยนั้นขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันเป็นหลัก ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มลดลงราวเดือนสิงหาคมของปีที่แล้ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version