ทาง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้ปรับตัวเลขการคาดการณ์เศรษฐกิจลดลงและปรับเพิ่มหนี้สาธาณะคงค้างเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น เป็นเรื่องที่ดี ค่อนข้างชัดเจนว่า เราไม่สามารถเข้าสู่ภาวะงบประมาณสมดุลได้ตามกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้เดิม อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากเดิมที่ตั้งสมมติฐานไว้ที่ 4-5% ในระยะหกปีข้างหน้า มาอยู่ที่ 3.5-4% หนี้สาธาณะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยสำคัญจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมในสมัยรัฐบาล คสช และ การชดเชยความเสียหายจากโครงการของรัฐบาลที่ผ่านๆมา รวมทั้งการกู้เงินให้รัฐวิสาหกิจที่ประสบการขาดทุนจำนวนไม่น้อย เป็นสมมติฐานที่อนุรักษ์นิยมหรือค่อนข้าง Conservative ซึ่งน่าจะทำให้เกิดความระมัดระวังในการก่อหนี้เพิ่มขึ้นในอนาคต สมมติฐานดังกล่าวทำให้ประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีขยับเพิ่มจากระดับสูงสุดเดิมที่ 47.5% มาอยู่ที่ระดับสูงกว่า 50% (ยังคงอยู่ในกรอบวินัยทางการคลังอยู่ แต่ต้องระมัดระวังภาระหนี้ผูกพันเพิ่มขึ้นจากมาตรการกึ่งการคลังที่ดำเนินการมาหลายรัฐบาลก่อนหน้านี้) ส่วนการเห็นชอบรายงานแผนโครงการเงินกู้ 3 ปี (พ.ศ. 2559-2561) นั้น โดยภาพรวมเห็นด้วย มีข้อสังเกตว่า เงินกู้การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ทั้งหลายควรเป็นวางรากฐานเพื่อให้มีการต่อยอดต่อเนื่องมุ่งสู่เป้าหมายให้ “ไทย” ก้าวข้ามพ้น กับดักรายได้ระดับปานกลางและสู่การเป็น ประเทศพัฒนาแล้ว ในอนาคตสัก 10-15 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ควรต้องพิจาณาพลวัตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า ไทยควรมียุทธศาสตร์และจะสร้างความเชื่อมโยง (Connectivity) กับอาเซียนอย่างไรเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน
- ๒๓ ธ.ค. EXIM BANK คว้ารางวัล Bank of The Year 2024 สุดยอดธนาคารแห่งปี 2567
- ๒๓ ธ.ค. ธอส. จัดผลิตภัณฑ์ทางการเงินส่งท้ายปี ร่วมงาน Thailand Smart Money กรุงเทพ ครั้งที่ 15 ชูสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้นเพียง 0.71% ต่อปี เท่านั้น!
- ๒๓ ธ.ค. ไทยพาณิชย์สนับสนุน โครงการ "คุณสู้ เราช่วย" ช่วยลูกค้ากลุ่มเปราะบาง สร้างวินัย แก้หนี้ครัวเรือนยั่งยืน