หอการค้าฯ พร้อมช่วยรัฐแก้ปัญหาแรงงานไทย ย้ำทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง

อังคาร ๑๗ มีนาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๑๒
นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยถูกจับตามองเรื่องปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่งผลเป็นวงกว้างในภาพลักษณ์ของสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังทั่วโลก อย่างที่ทราบกันดี ประเทศไทย พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งเมื่อปี 2557 ประเทศไทยส่งออกไปทั่วโลกถึงประมาณ 7.31 ล้านล้านบาท โดยมีตลาดสหรัฐฯ เป็นฐานการส่งออกอันดับ 2 (767,856.3 ล้านบาท) รองจากประเทศจีน อีกทั้ง ประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกหลักของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลทั้งสด แปรรูป และอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง รวมทั้งยังเป็นห่วงโซ่การผลิตของหลายๆ อุตสาหกรรมไปยังทั่วโลก ซึ่งมีแนวโน้มการส่งออกสินค้าประมง ตลอดปี 2557 คาดว่ามีปริมาณรวมทั้งสิ้นประมาณ 560,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท โดยมีแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในทั่วราชอาณาจักร ประมาณ 1,626,235 คน (ที่มา กนร. ข้อมูล ณ วันที่25 กุมภาพันธ์ 2558)

หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญและผลักดันการแก้ไขปัญหาแรงงานและการค้ามนุษย์มาโดยตลอด ประกอบด้วย 1.Trafficking in Persons Report (TIPs Report) ปี 2014 ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ประเมินการดำเนินการด้านแรงงานของไทยโดยประเทศไทยอยู่ในระดับ Tier3 โดยรายงานปี 2015 จะเผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2558 นี้ โดยประเด็นที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญต่อการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย การดำเนินคดีของภาครัฐ และการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งประเทศไทยได้จัดส่งรายงานชี้แจงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาฉบับแรกไปยังกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แล้ว และจะส่งฉบับสุดท้ายในเดือนมีนาคม 2558 นี้ โดยจะต้องตอบข้อคิดเห็นของสหรัฐฯ จากรายงานฉบับปี 2014 ได้ รวมทั้งความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหา

2. Illegal Unregulated and Unreported Fishing (IUU) ประเทศไทยกำลังจะได้รับใบตักเตือน(ใบเหลือง) จากสหภาพยุโรปกรณีเรือที่ปฎิบัติไม่ถูกต้องโดยรวมถึงกรณีแรงงานด้วย ซึ่งหากไม่รีบแก้ไขจะส่งผลให้ไทยไม่สามารถส่งออกสินค้าอาหารทะเลไปยังสหภาพยุโรปได้ 3. List of Goods Produced by Child Labor or Forced Labor โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ระบุว่า สินค้าจากประเทศไทย 4 รายการมีการใช้แรงงานเด็ก และ/หรือแรงงานบังคับ ได้แก่ กุ้ง ปลา อ้อย และเครื่องนุ่งห่ม 4. การถูกโจมตีจากสื่อต่างๆ เช่น The Guardian , EJF และหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ ระบุถึงการดำเนินการด้านแรงงานที่เลวร้ายของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานในเรือประมง

นายภูมินทร์ กล่าวว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาแรงงานและการค้ามนุษย์ มาเป็นเวลามากกว่า 3 ปี ผ่านคณะกรรมการแรงงานและทรัพยากรมนุษย์ คณะกรรมการธุรกิจการประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้องภายใต้ความร่วมมือสมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทย

อย่างไรก็ตาม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จนถึงรัฐบาลปัจจุบัน ได้ให้ความสำคัญของการแก้ไขปัญหาแรงงานทั้งระบบ โดยได้มุ่งเน้นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ ตลอดจน การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และความมั่นคงของประเทศชาติ ซึ่งต้องยอมรับว่าปัญหาแรงงาน เป็นปัญหาที่สะสมมานานเป็นเวลา 10 กว่าปี และประเทศไทยกำลังขาดแคลนแรงงานเป็นอย่างมาก และจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

รัฐบาลชุดนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมทั้ง ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อดูแลเกี่ยวกับเรื่องของการค้ามนุษย์ขึ้นมาอีก 5 ด้าน ได้แก่ คณะอนุกรรมการปราบปรามการค้ามนุษย์ , คณะอนุกรรมการด้านสตรีในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ , คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และแรงงานต่างด้าว , คณะอนุกรรมการแก้ไข้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย(IUU Fishing) และ คณะอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์และกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

ทั้งนี้ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาแรงงาน ร่วมทั้งได้นำเสนอความคิดเห็น และขับเคลื่อนนโยบายในการแก้ไขปัญหาต่างๆ กับทางรัฐบาลมาเป็นอย่างดีโดยตลอด ซึ่งได้ปรากฎอย่างชัดเจนถึงการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว การค้ามนุษย์ และปัญหาแรงงานบนเรือประมง เพื่อให้หลุดพ้นจากการประเมินการดำเนินการด้านแรงงานของไทย TIPs Report. , IUU Fishing และ List of Goods Produced by Child Labor or Forced Labor (4 สินค้า) ได้แก่ อ้อย เครื่องนุ่งห่ม ปลาและกุ้ง และสื่อลามก)โดยรัฐบาลได้มีแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังมาโดยตลอด อาทิ การดำเนินการจัดระเบียบ และเร่งพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา ณ ศูนย์ One Stop Service , การจัดระบบแรงงานต่างด้าวสัญชาติเวียดนาม โดยได้เห็นชอบแนวทางการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติเวียดนามที่ลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทย และเห็นชอบให้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดให้แรงงานเวียดนามทำงานได้ 2 งาน ได้แก่ งานกรรมกร และงานรับใช้แม่บ้าน พร้อมทั้ง เห็นชอบให้มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเวียดนามเพื่อจัดทำบันทึกข้อตกลง MOU นำเข้าแรงงานเวียดนาม ในกิจการประมงและก่อสร้าง , การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงทะเล โดยให้มีการผ่อนผัน

ให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 ตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 (พร้อมทั้ง จดทะเบียนปีละ 2 ครั้ง)

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะการปรับระยะเวลาการกลับเข้าทำงานใหม่ของแรงงานต่างด้าวหลังทำงานครบกำหนด 4 ปีแล้ว จากเดิมกำหนดไว้ 3 ปี ให้ลดลงเหลือ 30 วัน เพื่อความต่อเนื่องของการทำงานและสอดคล้องกับระยะเวลาการเตรียมการจัดทำเอกสารเพื่อกลับเข้ามาทำงานใหม่ รวมทั้งแรงงานได้กลับไปเพื่อพักผ่อนอยู่กับครอบครัวหลังจากเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว

“รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาแรงงานอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ยังคงต้องดำเนินการการแก้ไขอยู่และต้องการความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน”

นายภูมินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ตลอดจนปัญหาแรงงานบนเรือประมง ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องด้านการต่างประเทศที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้มีการแก้ไขปัญหาแรงงานร่วมกับรัฐบาล อาทิ

1. การแก้ไขปัญหาแรงงานของประเทศไทย

- ร่วมผลักดันนโยบายผ่อนผันกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI สามารถใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือถึง 31 ธันวาคม 2559 พร้อมทั้ง ให้ กระทรวงแรงงาน ทำการศึกษาความจำเป็นในการใช้แรงงานไร้ฝีมือของอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดจน การกำหนดคำนิยามของแรงงานไร้ฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานมีฝีมือ เป็นต้น

- ร่วมศึกษาข้อมูลการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทยในระยะยาวเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบอาชีวศึกษา การส่งเสริมและพัฒนาการใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานคน เป็นต้น

- สนันบสนุนกรรมการหอการค้าไทย ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการผลักดันโครงการ และกฎหมายที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงาน อาทิ พรบ.ประมง , พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์, พรบ.ประกันสังคม , พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ตลอดจน การจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานประมงของประเทศไทยโดยการจัดหาแรงงานต่างด้าวเพื่อทำงานบนเรือประมงภายใต้กรอบ MOU ร่วมกับคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน เป็นต้น

- สนับสนุนให้มีการลงทะเบียนรายงานตัวออนไลน์ของแรงงานต่างด้าวทุก 90 วัน ตามพ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ตามมาตรา 37 (5) เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์

- ร่วมผลักดันและดำเนินการในการแก้ปัญหาแรงงานและการค้ามนุษย์ ร่วมกับคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) และคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (อกนร.) อาทิ การเสนอการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงทะเลในระยะยาว เป็นต้น

- ร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในประเด็นแรงงาน เพื่อความเข้าใจและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีกับนานาชาติร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น

- แสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงกระบวนการผลิต และมาตรการรองรับ เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการทำ IUU Fishing ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฯลฯ เป็นต้น

3. การแก้ไขปัญหาแรงงานบนประมง

- กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาเรือประมงในอินโดนีเซียตามที่สาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ออกกฎกระทรวงกิจการทางทะเลและประมง ฉบับที่ 56/PERMEN-KP/2014 ระงับการออกใบอนุญาตประมงต่างๆ เป็นการชั่วคราว ซึ่งมีผลถึงวันที่

30 เมษายน 2558 รวมทั้งได้ออกกฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 2/PERMEN-KP/2015 ห้ามใช้เครื่องมืออวนลาก (Trawls)

และอวนล้อม (Seine nets) ทำการประมงในน่านน้ำสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบ

ต่อการประกอบธุรกิจประมงร่วมระหว่างผู้ประกอบการประมงไทย

- สนับสนุนการทำประมงร่วมกับต่างประเทศ ผู้ประกอบการควรเข้าไปร่วมทุน (Joint Venture) กับต่างประเทศ ตลอดจน พิจารณาหาแหล่งประมงในประเทศเป้าหมายอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ เป็นต้น

- หอการค้าไทยร่วมเป็นศูนย์กลางในการทำงานร่วมกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาแรงงานประมงอย่างยั่งยืน

4. ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยแก้ไขปัญหาแรงงานทั้งระบบ

โดยการร่วมมือกับภาครัฐ (8 กระทรวง) ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการประเมินการดำเนินการด้านแรงงานของไทยโดยลดระดับ TIPs Report จาก Tier3 , IUU Fishing และ List of Goods Produced by Child Labor or Forced Labor ดังนี้

- เข้าร่วมงาน SIAL the Global Food Marketplace, and meet food professionals 2014 ณ ประเทศฝรั่งเศส

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นสินค้าไทย ในสหภาพยุโรป

- เข้าร่วมงาน Seafood Expo North America 2015 ณ กรุงบอสตัน สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 13 – 18 มีนาคม 2558

โดย Team Thailand ได้เตรียมการในการเปิดสัมมนาเพื่อชี้แจงปัญหาแรงงานในประเทศไทย และประชาสัมพันธ์การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว แรงงานเด็ก และการค้ามนุษย์

- เข้าร่วมงาน Seafood Expo Global & Seafood Processing Global 2015 ระหว่างวันที่ 21 – 23 เมษายน 2558

ณ กรุงบัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการภาคเอกชนในต่างประเทศ ถึงขอกล่าวหาการใช้แรงงานผิดกฎหมายในประเทศไทย

ทั้งนี้ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญในการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว แรงงานเด็ก การค้ามนุษย์ และแรงงานบนเรือประมงอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้ง ได้เผยแพร่มาตรการและกิจกรรมต่างๆ ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งการแก้ไขปัญหาแรงงานนั้น ผู้ประกอบการเอกชนทุกภาคส่วนจะต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามนโยบาย และกฎหมายที่รัฐบาลกำหนด และให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาแรงงานร่วมกัน

หากผู้ประกอบการติดขัดปัญหาแรงงาน ก็สามารถแจ้งมายังหอการค้าไทย ซึ่งพร้อมที่จะรับฟังเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานร่วมกันต่อไป

“ด้วยความตั้งใจของ นายกฯ รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ และข้าราชการกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง เป็นความมือและตั้งใจจริงอย่างที่ไม่เคยปรากฏในอดีต ซึ่งจะพาทางออกของการแก้ไขปัญหาในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน การแก้ไขปัญหาแรงงาน” นายภูมินทร์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ