ความคืบหน้าของมาตรการหลักในการดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการงดส่งน้ำเพื่อการทำนาปรัง พื้นที่ในเขตชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลอง รวม 26 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2557 ได้แก่ การซ่อมแซมหรือปรับปรุงคูคลอง โดยการจ้างแรงงานเกษตร ได้ดำเนินการแล้ว 87% และมาตรการเสริม ได้แก่ การส่งเสริมอาชีพด้านประมง ด้านปศุสัตว์ การฝึกอบรมภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ตระกูลถั่วและพืชปุ๋ยสด ดำเนินการแล้ว 90% คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2558 ได้แก่ โครงการปลูกพืชฤดูแล้ง เป้าหมายรวม 9.11 ล้านไร่ (ในเขตชลประทาน 3.06 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 6.05 ล้านไร่) ปัจจุบันเกษตรกรได้มีการปลูกพืชฤดูแล้งไปแล้วกว่า 10.88 ล้านไร่ แยกเป็นในเขตชลประทาน 5.61 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 5.27 ล้านไร่ และโครงการช่วยเหลือพื้นที่แล้งซ้ำซาก มีเป้าหมายช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะในเขื่อนน้อยให้มีรายได้ทดแทนรายได้จากการเกษตร ขณะนี้ได้ฝึกอบรมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อส่งเสริมอาชีพด้านการประมง โดยมี 2 กิจกรรม คือ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกและการเลี้ยงกบในกระชัง เกษตรกร 3,574 ราย ในพื้นที่ 18 จังหวัด เป็นเงิน 8,603,300 บาท ซึ่งได้ดำเนินการแล้วในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา และเพชรบุรี จำนวน 408 ราย เป็นเงิน 811,400 บาท รวมเงินงบกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้จ่ายแล้ว 84,470 ล้านบาท
สำหรับ โครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง โดยให้ชุมชนออกแบบโครงการเอง เพื่อจะได้มีงานทำและมีรายได้ในช่วงฤดูแล้ง พื้นที่เป้าหมาย 3,052 ตำบลๆ ละ 1 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของชุมชน จ้างแรงงาน และสนับสนุนความต้องการของชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งได้มีการเสนอโครงการมาจากระดับตำบลกว่า 1,500 ตำบล ผลการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารโครงการฯระดับกระทรวง ได้เห็นชอบโครงการแล้ว 707 โครงการ ในพื้นที่ 385 ตำบล 43 จังหวัด วงเงิน 334.7 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า ทั้ง 3,052 ตำบล จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเมษายน 2558 จากนั้นก็จะจ่ายเงินลงสู่พื้นที่ให้ชุมชนดำเนินการบริหารจัดการพัฒนาการเกษตรตามเป้าหมายต่อไป
ส่วน โครงการเพิ่มรายได้เพื่อช่วยเหลือชาวนา ที่ได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้แล้ว มีเป้าหมายจ่ายเงินให้เกษตรกรไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แสดงจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน เพื่อติดประกาศ จำนวน 3,602,646 ครัวเรือน เนื้อที่เพาะปลูก 39,156,048.16 ไร่ และส่งข้อมูลให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการจ่ายเงิน ซึ่งมีผลการจ่ายเงิน ณ วันที่ 18 มี.ค. 58 ดำเนินการจ่ายเงินแล้วจำนวน 3,565,401 ราย พื้นที่ 38,866,010 ไร่ จำนวนเงิน 38,866,010,250 บาท ส่วนที่เหลือมีปัญหาเรื่องเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้อง อาทิ หลักฐานการครอบครองที่ดิน ซึ่งได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เร่งตรวจสอบเพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือเกษตรกรโดยเร็ว และ โครงการชดเชยรายได้ให้ชาวสวนยาง มีเป้าหมายจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ ไร่ละ 1,000 บาท ครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ ปัจจุบันได้จ่ายให้เงินให้เกษตรกรแล้ว766,627 ราย เนื้อที่เพาะปลูก 7,695,768 ไร่ วงเงิน 7,695.768 ล้านบาท ยังมีปัญหาบางส่วนที่เข้าทำกินในที่ดินของรัฐและไม่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งอยู่ระหว่างหามาตรการช่วยเหลือ ส่วนโครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม มีเป้าหมาย 100,000 ครัวเรือนๆ ละไม่เกิน 100,000 บาท วงเงิน 10,000 ล้านบาท ขณะนี้ ธ.ก.ส.ได้อนุมัติแล้ว12,775 ครัวเรือน วงเงิน 1,186.32 ล้านบาท หรือประมาณ 12 % จากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 111,210 ราย ใน 62จังหวัด
ขณะเดียวกันยังเร่งรัดการลงทุนภาครัฐ โดยได้ดำเนินโครงการใช้จ่ายงบลงทุน (งานก่อสร้าง) ของกรมชลประทานโดยมีงบลงทุนวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท จำนวน 6,922 รายการ วงเงิน 35,061.71 ล้านบาท ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 6,732รายการ วงเงิน 34,215.88 ล้านบาท คิดเป็น 80 % ส่วนงบลงทุนวงเงินเกิน 500 ล้านบาท มี 2 รายการ วงเงิน 567.75 ล้านบาท อยู่ระหว่างเตรียมลงนามสัญญาในเดือนมีนาคมนี้ จำนวน 2 รายการ วงเงิน 567.75 ล้านบาท
สุดท้าย โครงการใช้จ่ายงบลงทุน (งานก่อสร้าง) ของกรมพัฒนาที่ดิน มีเป้าหมายงบลงทุนวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท จำนวน 16 รายการ ซึ่งดำเนินการจัดจ้างครบแล้ว วงเงิน 286.44 ล้านบาท ส่วนงบลงทุนวงเงินเกิน 500 ล้านบาท มี 2 รายการ วงเงิน 1,589.44 ล้านบาท ดำเนินการจัดจ้างแล้ว 1 รายการ วงเงิน 1,565.20 ล้านบาท และมีโครงการขุดบ่อน้ำในไร่นา เป้าหมาย 50,000 บ่อ ได้โอนเงินให้ท้องถิ่นดำเนินการขุดเสร็จแล้ว 16,480 บ่อ เบิกจ่ายแล้ว 204 ล้านบาท