จับตา! กสท. ลงมติ SLC ถือหุ้นช่องข่าวเนชั่น สุภิญญา ย้ำ! จุดยืน กสท.ต้องรักษากฎที่วางเอาไว้ตาม กม.

จันทร์ ๒๓ มีนาคม ๒๐๑๕ ๑๔:๐๑
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 23 มี.ค. 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่11/2558 เตรียมพิจารณาลงมติ การตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ กรณี บริษัทโซลูชั่น คอนเนอร์(๑๙๙๘) จำกัด (มหาชน) หรือ SLC เป็นผู้มีอำนาจควบคุมช่องข่าวสปริงนิวส์ ได้เข้าซื้อหุ้นของ บ. เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ช่องข่าวเนชั่น ในสัดส่วนที่ถือว่าเข้าข่ายผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน และเป็นการถือครองใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิตอลในหมวดหมู่เดียวกันเกินสัดส่วน ร้อยละ 10 ตามที่ประกาศกำหนดไว้ก่อนการประมูล ซึ่งนางสาวสุภิญญา กล่าวว่า ดิฉันมีจุดยืนการลงมติในใจแล้วจากการศึกษาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย รับฟังผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะในการลงมติ ก็มั่นใจที่จะยืนยันหลักการตามที่สำนักงานเสนอนี้ จุดยืนคือ กสท. ต้องรักษากฎกติกาที่ตนเองออกมาเองตามมาตรา 31 ตาม พรบ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ว่าด้วยเรื่องการป้องการการครอบงำกิจการ

“ณ จุดนี้ขอให้ทุกฝ่ายลืมชื่อ SLC NMG สปริงนิวส์ เนชั่น เพียงยึดหลักว่า ไม่ว่าชื่อหรือช่องข่าวอะไรถ้าถือหุ้นร่วมกันเกินร้อยละ10 คือขัดกติกา กสทช. ซึ่งตามความเห็นอนุที่ปรึกษากฎหมาย ถ้าเรายึดกฎกติกาที่วางไว้ ปัญหาจะหมดไป ไม่เกี่ยวว่าบริษัทกลุ่มทุนสีใด ถ้าเนชั่นไปมีผลประโยชน์ร่วมกับช่องสปริงนิวส์ ถือหุ้นแบบกลับกันก็ขัดกับกติกา ที่ กสทช.วางสัดส่วนไว้แล้วคือ 1 บริษัทถือครองไม่เกิน 3ช่อง คนถือช่องHD ห้ามถือครองช่องข่าว เพื่อประกันความหลากหลายของสื่อ และเพื่อความเป็นอิสระของข้อมูลข่าวสาร ปลอดจากผู้มีอำนาจควบคุมกิจการ ถ้าหาก กสท.ไม่ตัดสินว่าถูก-ผิดในวันจันทร์นี้ เสนอให้ภาคส่วนต่างๆใช้สิทธิ์ฟ้องร้อง หรือตัดสินแล้วฝ่ายใดคิดว่าไม่ถูกต้องก็ใช้สิทธิ์ฟ้องร้อง คนถือช่อง HD ด้วยกัน หรือช่องข่าวด้วยกันก็ต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน” นางสาวสุภิญญา กล่าว

นางสาวสุภิญญา กล่าวถึง เหตุผลในตอนนั้นที่มีการขยายให้ผู้ประมูลใบอนุญาตดิจิตอลทีวีช่องHD ช่องข่าว และช่องวาไรตี้ SD ก็เพื่อให้ผู้เล่นหน้าใหม่ๆมีโอกาสเข้าสู่ตลาดมากขึ้น จึงต้องรักษากติกาให้ผู้เล่นในตลาดคึกคัก15ปี รวมทั้งการที่เราขยายคลื่นให้ธุรกิจเข้าประมูลได้มากรายขึ้นเท่ากับไปเบียดบังการใช้คลื่นไปเพื่อประโยชน์อื่น เช่น ทีวีชุมชนต้องรอคืนแอนาล็อก หากสุดท้ายปล่อยให้ควบรวมกันเองได้จนเหลือน้อยราย เราก็คงไม่จำเป็นต้องใช้ศักยภาพคลื่นความถี่มาเปิดประมูลให้ผู้เล่นมากราย สังคมต้องปกป้องฝ่ายที่รักษากติกาและไม่เห็นด้วยกับคนที่ไม่ทำตามกติกา เพื่อรักษากติกากลางให้เดินไปข้างหน้าเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะซึ่ง กติกาทั้งหมดถูกออกแบบมาล่วงหน้า เพื่อให้เกิดการใช้คลื่นอย่างคุ้มค่า.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ